HomeMedia5G ของมันต้องมี! สรุปประมูล 3 คลื่น กวาดรายได้ 100,521 ล้านบาท “5 โอเปอเรเตอร์” คว้าใบอนุญาต “ทุกราย”

5G ของมันต้องมี! สรุปประมูล 3 คลื่น กวาดรายได้ 100,521 ล้านบาท “5 โอเปอเรเตอร์” คว้าใบอนุญาต “ทุกราย”

แชร์ :

วันนี้ (16 ก.พ.) กสทช.จัดประมูลคลื่นความถี่ 5G แบบ Multi-Brand รวม 4 คลื่น  คือ คลื่น  700 MHz  คลื่น 2600 MHz  คลื่น 26 GHz  และ คลื่น 1800 MHz  โดยมีโอเปอเรเตอร์ 5 ราย คือ AIS, TRUE , DTAC,  CAT (กสท โทรคมนาคม) และ TOT เข้าร่วมประมูล 3 คลื่น  โดยคลื่น 1800 MHz ไม่มีคนประมูล

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

การประมูล 5G  เริ่มเวลา 9.30 น. จบเวลา 15.05 น. รวมเวลา 5.35 ชั่วโมง สรุปการประมูลคลื่น 5G รวม 3 คลื่น 700 MHz  2600 MHz และ  26 GHz  จำนวน 48 ใบอนุญาต (จาก 49 ใบอนุญาต) มูลค่า 100,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากราคาขั้นต่ำรวม  73,175 ล้านบาท (ก่อนประมูล)

สรุปการประมูล 5G ทั้ง 3 คลื่นความถี่

คลื่น 700 MHz  ประมูล 3 ใบ (ใบละ 2×5 MHz)  ราคาขั้นต่ำใบอนุญาตละ 8,792 ล้านบาท  รวมราคาเริ่มต้นก่อนประมูลเป็นเงิน 26,376 ล้านบาท

– ผู้เข้าประมูลคลื่น 700 MHz  3 ราย คือ   AIS, TRUE , CAT

– วิธีการประมูลกดเพิ่มราคาครั้งละ 440 ล้านบาท สรุปประมูลจำนวน 20 รอบ ราคาประมูลจบที่ใบละ 17,153 ล้านบาท รวม  3 ใบอนุญาต มูลค่า 51,460  ล้านบาท ราคาเพิ่มขึ้น 95%

– ผู้ชนะประมูล 2 ราย

  • CAT (กสท โทรคมนาคม) ชนะ  2 ใบอนุญาต มูลค่า 34,306 ล้านบาท
  • AIS  ชนะ 1 ใบอนุญาต มูลค่า 17,154 ล้านบาท
  • TRUE  ไม่ชนะการประมูล

คลื่น 2600 MHz  ประมูล  19 ใบ (ใบละ 10 MHz)  ราคาขั้นต่ำใบอนุญาตละ  1,862 ล้านบาท  รวมราคาเริ่มต้นก่อนประมูลเป็นเงิน 35,378 ล้านบาท

– ผู้เข้าประมูลคลื่น 2,600  MHz 3 ราย  AIS, TRUE, CAT

– วิธีการประมูลกดเพิ่มราคาครั้งละ 93 ล้านบาท  สรุปเคาะประมูล 2 รอบจบ ที่ราคาประมูลใบละ 1,956 ล้านบาท รวมมูลค่า 37,433 ล้านบาท ราคาเพิ่มขึ้น 5% จากราคาขั้นต่ำ

– ผู้ชนะการประมูล  2 ราย

  • AIS  ชนะ 10 ใบอนุญาต 10 ชุด  มูลค่า 19,561  ล้านบาท
  • TRUE  ชนะ 9 ใบอนุญาต มูลค่า 17,872  ล้านบาท
  • CAT (กสท โทรคมนาคม)  ไม่ชนะประมูล

คลื่น 26 GHz  ประมูล 27 ใบ (ใบละ 100 MHz)  ราคาขั้นต่ำใบอนุญาตละ 423  ล้านบาท  รวมราคาเริ่มต้นก่อนประมูลเป็นเงิน 11,421 ล้านบาท

– ผู้เข้าประมูลคลื่น 2.6 GHz 4 ราย  AIS, TRUE, DTAC, TOT 

– วิธีการประมูลกดเพิ่มราคาครั้งละ 22 ล้านบาท สรุปเคาะประมูล 1 รอบ  จบที่ราคาประมูลใบละ 445 ล้านบาท ประมูลไปทั้งหมด 26 ใบ เหลือ 1 ใบอนุญาต  รวมมูลค่าประมูล 11,627 ล้านบาท

ผู้ชนะการประมูล 4 ราย 

  • AIS  ชนะ 12 ใบอนุญาต มูลค่า 5,345 ล้านบาท
  • TRUE ชนะ 8 ใบอนุญาต มูลค่า 3,576 ล้านบาท
  • TOT ชนะ 4 ใบอนุญาต มูลค่า 1,795 ล้านบาท
  • DTAC ชนะ 2 ใบอนุญาต มูลค่า 910 ล้านบาท

การประมูล 5G ครั้งนี้ AIS ชนะประมูลมากที่สุด 3 คลื่น จำนวน 23 ใบอนุญาต รวมมูลค่าประมูล 42,060 ล้านบาท รองลงมาคือ CAT ชนะ 1 คลื่น รวม 2 ใบอนุญาต มูลค่าประมูล 34,306 ล้านบาท , TRUE ชนะ 2 คลื่น รวม 17 ใบอนุญาต รวมมูลค่าประมูล 21,448 ล้านบาท, TOT ชนะ 1 คลื่น 4 ใบอนุญาต มูลค่าประมูล 1,795 ล้านบาท และ DTAC ชนะ 1 คลื่น 2 ใบอนุญาต มูลค่าประมูล 910 ล้านบาท

ไทยเดินหน้า 5G  รายแรกอาเซียน

ที่ผ่านมาประเทศไทยมีความล่าช้าใช้คลื่น 3G กว่าประเทศอื่น 8 ปี และ 4G ช้ากว่าประเทศอื่นประมาณ 4 ปี  การประมูลคลื่น 5G ของประเทศไทยครั้งนี้  คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. บอกว่า

ประเทศไทยกำลังเปิดให้บริการ 5G ทางด้านธุรกิจเต็มรูปแบบเป็นลำดับต้นๆ ของโลก และเป็นรายแรกของอาเซียน

สำนักงาน กสทช. คาดการณ์หลังการประมูล 5G จะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2563 ประมาณ 177,039 ล้านบาท คิดเป็น 1.02% ของ GDP ในปี 2563 สำหรับในปี 2564 คาดว่าจะมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจขั้นต่ำประมาณ 332,619 ล้านบาท และในปี 2565 จะมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประมาณ 476,062 ล้านบาท

สำหรับการประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมทั้ง 4 ครั้งที่ผ่านมา สร้างรายได้เข้ารัฐแล้ว 524,713 ล้านบาท และการประมูลทีวีดิจิทัล มูลค่า 36,000 ล้านบาท รวมทั้งคลื่นโทรคมนาคมและวิทยุโทรทัศน์มูลค่า 560,000 ล้านบาท

โดยขั้นตอนหลังการประมูล 5G วันที่ 16 ก.พ.2563  กสทช. จะประชุมคณะกรรมการ ในวันที่ 19 ก.พ.นี้ เพื่อรับรองผู้ชนะประมูลทั้ง 5 ราย

5G ของมันต้องมี

ในการประมูล 5G  รวม 3 คลื่นความถี่ โอเปอร์เรเตอร์ทั้ง 5 ราย ชนะประมูลได้ใบอนุญาต “ทุกราย” ด้วยคลื่นที่แตกต่างกัน โดยคลื่น 700 MHz  เป็นคลื่นที่มีการประมูลไปสูงสุดมูลค่า 51,460  ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากราคาขั้นต่ำ เป็นคลื่นที่สามารถนำไปเสริมศักยภาพ 4G เดิม รวมทั้งสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อให้บริการ 5G

ส่วนคลื่น 2600 MHz เป็นคลื่น High Band ที่เหมาะสำหรับ 5G  มากที่สุด ประมูลครั้งนี้จำนวน 19 ชุด รวม 190 MHz  เพดานสูงสุดต่อรายไม่เกิน 10 ชุด หรือ 100 MHz  ซึ่งการใช้งาน 5G ที่มีประสิทธิภาพอยู่ที่ราว 80 MHz  และเช่นเดียวกับคลื่น 26 GHz  ที่เหมาะกับการทำ 5G  ครั้งนี้มีการประมูลไปรวม 26 ใบอนุญาต ใบละ 100 MHz

FYI : การประมูลคลื่น 5G ในครั้งนี้ ใช้วิธีประมูลแบบ Clock Auction

ผู้ประมูลกดเสนอความต้องการใบอนุญาตที่ต้องการในครั้งแรก หากความต้องการ “เท่ากับ” จำนวนใบอนุญาต คือ “จบการประมูล” แต่การประมูลคลื่น 700 MHz ที่มี 3 ใบอนุญาต ผู้เข้าประมูลกดความต้องการใบอนุญาต รอบแรก 6 ใบ ดังนั้นการประมูลแต่ละรอบ ราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 440 ล้านบาท ไปเรื่อยๆ ผู้ประมูลสามารถ “กดลด” จำนวนใบอนุญาตได้ แต่ “กดเพิ่ม” ไม่ได้ การประมูลจะจบลง เมื่อผู้ประมูลกดประมูลใบอนุญาตรวมกันเหลือ 3 ใบ เท่ากับจำนวนที่เปิดประมูล


แชร์ :

You may also like