HomeBrand Move !!เหตุการณ์หลัง Covid-19 ชาวจีน 90% ต้องการ ‘เที่ยว’ ภาคธุรกิจไทยแสวงหาช่องทางอะไรได้บ้าง

เหตุการณ์หลัง Covid-19 ชาวจีน 90% ต้องการ ‘เที่ยว’ ภาคธุรกิจไทยแสวงหาช่องทางอะไรได้บ้าง

แชร์ :

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศจีนเริ่มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากความสามารถในการคุมสถานการณ์การระบาดได้ค่อนข้างดี ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ๆ ลดลงต่อเนื่อง จนจำนวนผู้ป่วยสะสมปัจจุบันเริ่มนิ่งอยู่ในระดับ 8 หมื่นกว่าราย และสามารถรักษาหายได้แล้วถึงกว่า 7.7 หมื่นราย เหลือเคสที่ยังอยู่ระหว่างการรักษาแค่เพียงหลักพันกว่ารายเท่านั้น   

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลง เริ่มมีการผ่อนผันมาตรการล็อกดาวน์ต่างๆ ​ทำให้ชาวจีนส่วนใหญ่ต้องการที่จะออกมาเดินทางท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก สอดคล้องกับรายงานจากทางสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.)  ณ เมืองกวางโจว เกี่ยวกับผลจากการสำรวจของเอเจนซี่ท่องเที่ยวออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน Trip.com Group ร่วมกับ China Travel Academy ในการจัดทำผลสำรวจที่มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม 15,000 ราย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18- 45 ปี จากกว่า 100 เมืองทั่วประเทศ

ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าชาวจีนส่วนใหญ่ต้องการที่จะออกไปเดินทางท่องเที่ยว โดยพบว่า มากกว่า 90% ของผู้ตอบแบบสอบถาม เลือกการท่องเที่ยวภายในประเทศ,​ 24% เลือกท่องเที่ยวระยะใกล้ภายในเมือง, 43% เลือกท่องเที่ยวระยะกลางภายในประเทศ และ​ 23% เลือกท่องเที่ยวระยะไกลภายในประเทศ โดยมณฑลยูนนาน ไห่หนาน และนครเซี่ยงไฮ้ เป็นจุดหมายยอดนิยม 3 อันดับแรก

นอกจากนี้ ยังพบผลสำรวจด้านอื่นๆ ที่น่าสนใจ ต่อไปนี้

1. เดือนที่ได้รับความนิยมในการท่องเที่ยวสูงสุด (16% ของผู้ตอบแบบสอบถาม) คือเดือนพฤษภาคม โดยผู้ตอบแบบสอบถามต้องการเดินทางท่องเที่ยวในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากตรงกับวันแรงงานสากล ซึ่ง เป็นวันหยุดยาว 1 – 5 พฤษภาคม รองลงมาคือเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม ตามลำดับ

2. แม้จะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส แต่ 40% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ยังคงติดตามข้อมูล ล่าสุดเกี่ยวกับการเดินทางและส่วนลดต่างๆ และส่วนใหญ่ได้จองตั๋วท่องเที่ยวแบบยกเลิกได้ (Free cancelation) ไว้แล้ว

3. 60% ของผู้ตอบแบบสอบถาม วางแผนใช้จ่ายเงินมากกว่า 10,000 หยวน โดยหากพิจารณาในแง่ของค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของครอบครัว พบว่า 44% ของผู้ตอบแบบสอบถาม วางแผนใช้จ่ายเงินมากถึง 10% ของรายได้ของครอบครัวในการเดินทาง ส่วนอีก 30% คาดว่าจะมีการใช้จ่ายมากถึง 20%

ทั้งนี้ ผลสำรวจที่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกับยอดการจองตั๋วเดินทาง ตั๋วเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว และโรงแรมภายในประเทศ ที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวกลับมาแล้ว

ด้าน​กระทรวงอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวแห่งประเทศจีนระบุว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศมีส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจจีนเป็นอย่างมาก โดยปี 2019 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศมีมูลค่า 10.94 ล้านล้านหยวนต่อ GDP ของประเทศ หรือราว 11.05% สร้างการจ้างงานกว่า 79.87 ล้านตำแหน่ง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 10% ของตำแหน่งงานภายในประเทศ

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภายในประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงสำคัญอย่างเทศกาลตรุษจีน ทำให้ China Tourism Academy (CTA) คาดการณ์ว่า ช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศอาจลดลงถึง 56% และคาดว่ารายได้รวมของอุตสาหกรรมในปี 2020 จะลดลง​ 20% คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.18 ล้านล้านหยวน แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ ภายในประเทศเริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ดัชนีหลายตัวที่แสดงถึงการฟื้นตัวของ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวกว่า​ 30% ทั่วประเทศจีนเริ่มเปิดให้บริการแล้ว

โอกาสของผู้ประกอบการไทย 

ส่วนความเห็นของ สคต. กวางโจ มีมุมมองว่า แม้ว่าประชาชนจีนจะมีความต้องการท่องเที่ยว แต่คาดว่าการท่องเที่ยวระหว่างประเทศจะมีการฟื้นตัวช้าที่สุด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น รวมทั้งรัฐบาลพยายามกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศเช่นกัน เพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศเองถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงนี้ที่จีนประสบปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ

สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในห่วงโซ่การท่องเที่ยว ควรมองหาพันธมิตรทางธุรกิจ ด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศจีน เช่น ธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยวออนไลน์ (OTA) อาทิ​ Ctrip, Qunar, Feizhu,Tuniu, Meituan, Mafengwo ธุรกิจโรงแรม/บริการบ้านเช่า อาทิ Tujia, Xiaozhu, Airbnb เพื่อเตรียมตัวพัฒนาสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอาง ที่อาจใช้โอกาสนี้ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับเดินทางท่องเที่ยว โดยการทำคอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่สำคัญในประเทศจีน อาทิ Weibo, Wechat, BiliBili, Xiaohongshu, Kuaishou, Huoshan และ Douyin เป็นต้น

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like