HomePR Newsทำความรู้จัก Brand Safety คู่มือนักการตลาดบนความปลอดภัยแบรนด์ [PR]

ทำความรู้จัก Brand Safety คู่มือนักการตลาดบนความปลอดภัยแบรนด์ [PR]

แชร์ :

กรุ๊ปเอ็ม (GroupM) กลุ่มเอเยนซี่ผู้นำการลงทุนด้านสื่อของ ดับบลิวพีพี (WPP) นำเสนอรายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับอนาคตของความปลอดภัยของแบรนด์ หรือ Brand Safety ผ่านปัจจัยการวิเคราะห์ทั้งด้านเศรฐกิจโลก นโยบายจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโฆษณาทั่วโลก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

รายงาน Brand Safety Playbook จาก กรุ๊ปเอ็ม ได้เผยถึงแนวทางของความปลอดภัยของแบรนด์และความสามารถในพัฒนาไปสู่อนาคตผ่านบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของแบรนด์ในระดับสูง ทั้งทางด้านนโยบาย สังคมและเทคโนโลยี

พร้อมกันนี้ได้นำเสนอถึงความท้าทายที่สำคัญสำหรับ 5 หมวดหมู่ของสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้แก่ สมาร์ททีวี (Connected TV) สื่อนอกบ้านระบบดิจิทัล (Digital Out-of-Home) ข้อมูลของตำแหน่ง (Location Data) และเกมและระบบเสียง (Audio and Gaming)

คุณจอห์น มอนต์โกเมอรี่ รองประธานกรรมการทางด้านความปลอดภัยของแบรนด์จาก กรุ๊ปเอ็ม ได้กล่าวว่าในช่วงครึ่งปีแรกได้เกิดเหตุการณ์ที่หลากหลาย เช่น ในสหรัฐฯ ได้เริ่มมีการบังคับใช้งานของรัฐบัญญัติความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคในรัฐแคลิฟอร์เนีย หรือ CCPA การเริ่มต้นของการรณรงค์หาเสียงในแคมเปญการเลือกตั้งประธานาธิบดี การเพิ่มความสนใจในข่าวปลอมและข่าวสารต่าง ๆ เช่นเรื่องการระบาดของไวรัสทั่วโลก และการประท้วงที่เกี่ยวข้องกับความไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติเมื่อเร็ว ๆ นี้

เหตุการณ์เหล่านี้นับเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นครั้งแรกในอุตสาหกรรมธุรกิจการสื่อสาร อีกทั้งยังเป็นความท้าทายต่อในการวางแผนกลยุทธ์สื่อให้แบรนด์ได้รับความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้บริโภคยังคงปรับตัวรับข่าวสารผ่านวิธีใหม่ ๆ บนโลกออนไลน์อยู่ตลอดเวลา เป็นหน้าที่ของเราที่จะพัฒนาวิธีการสร้างและวางเนื้อหาที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือเพื่อลูกค้าและพันธมิตร

หัวข้อหลักในรายงาน Brand Safety Playbook ประกอบไปด้วย

1.Policy Shifts การเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบายของประเทศต่าง ๆ เช่น กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองที่อาศัยอยู่ในเขตสหภาพยุโรป (GDPR) และรัฐบัญญัติความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคในรัฐแคลิฟอร์เนีย (CCPA) ที่ส่งผลกระทบให้นักการตลาดและตัวอุตสหกรรมต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บ การใช้และการวัดผล ส่งผลให้อุตสาหกรรมต้องมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่จะทำการจัดการกับข้อมูลในรูปแบบที่ดีกว่าเดิม

2.COVID-19 Pandemic สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 ทำให้เกิดปรากฏการณ์ ‘New Normal’ ที่การใช้สื่อดิจิทัลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของประชาคมโลก โดยพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับข่าว เกม และคอนเทนต์สตรีมมิ่งมากขึ้น ซึ่งข่าวต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ยังมีประเด็นในเรื่องของความน่าเชื่อถืออยู่ ดังนั้นนักการตลาดต้องลุกขึ้นและเตรียมความพร้อมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค พร้อมกันนี้ยังต้องและหาโอกาสที่จะพัฒนาแนวทางเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับแบรนด์ อีกด้วย

3.Fake News and technologies บนความหลากหลายของเทคโนโลยีที่มีต่อการนำเสนอข่าวทำให้เกิดโอกาสที่ผู้บริโภคที่จะได้รับข่าวปลอมมากขึ้น แบรนด์จะต้องมั่นใจว่าการลงโฆษณาจะต้องอยู่บนเนื้อหาและข่าวที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดที่จะส่งผลกระทบในความน่าเชื่อถือของแบรนด์

4.Connected TV สมาร์ททีวีสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่เรื่องของการเข้าถึงข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อถึงระบบวิดีโอสตรีมมิ่ง หรือแม้กระทั่งการเล่นเกม ทำให้มีการคาดการณ์ว่าจะมีการลงทุนในด้านการวางแผนสื่อโฆษณาบนแพลทฟอร์มที่เข้าถึงสมาร์ททีวีเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้มีความหลากหลาย นักโฆษณาและการตลาดจึงจำเป็นต้องหาระบบวัดค่าที่มีความโปร่งใสและเป็นมาตรฐาน

5.Digital Out-Of-Home การเติมโตของสื่อโฆษณานอกบ้านดิจิทัลทำให้มีการพัฒนาให้มีความสามารถขั้นสูงและซับซ้อนมากขึ้นด้วยระบบการซื้อโฆษณาทำได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพ ทำให้แบรนด์สามารถกำหนดเป้าหมายที่ละเอียดขึ้นและจัดการปัญหาในการวัดผลได้ดีกว่าเดิม

6.Gaming ออนไลน์เกมเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค โดยที่อีสปอร์ตคือสิ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทั้งนี้แบรนด์ต้องคำนึงถึง รูปแบบและลักษณะของเกมให้เข้ากับเนื้อหาที่แบรนด์ต้องการสื่อออกไป แบรนด์จะต้องระมัดระวังในเรื่องของการใช้ภาษา ความรุนแรง

คุณคริสเตียน จูเอาว์ ในฐานะประฐานกรรมการบริหารของ กรุ๊ปเอ็ม ได้กล่าวว่าผู้บริโภคและแบรนด์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงสื่อในรูปแบบใหม่และน่าสนใจ ในขณะที่พฤติกรรมและความชอบนั้นเปลี่ยนไปตามปัจจัยทางสังคม โดย กรุ๊ปเอ็ม และเอเยนซี่ในเครือทั้ง มายด์แชร์ มีเดียคอม และเวฟเมคเกอร์ ต่างทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอุตสาหรกรรมในด้านการรักษาความปลอดภัยของแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ผ่านพันธมิตรสื่อ

ในอดีตประเด็นด้านความปลอดภัยของแบรนด์ในการทำโฆษณาออนไลน์จะอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่เป็นระบบโปรแกรมเมติกและโซเชียล แต่ในทุกวันนี้สื่อประเภทต่าง ๆ ได้ผันตัวเองมาอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลรวมทั้งมีการพัฒนาและปรับปรุงระบบการปฎิบัติการใหม่ ๆ โดยปัจจัยเหล่านี้เองได้สร้างความท้าทายอย่างต่อเนื่องสำหรับการวางแผนและใช้สื่อทุกประเภทบนมาตรฐานความปลอดภัยของแบรนด์ให้กับนักโฆษณาและการตลาด


แชร์ :

You may also like