ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ บริษัท ควอลิตี้ พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ฟินิกซิคท์ จำกัด ทำข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนา MELB (เมลบี) แพลตฟอร์ม โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพของประเทศไทย
เมื่อเร็วๆนี้ ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ร่วมกับ นายอัษฎา เทพยศ ประธานบริษัท ควอลิตี้ พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ HongSin KWEK ประธานและผู้ก่อตั้งบริษัท สินวัฒนา จำกัด ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มเมลบี ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) โดยการลงนามข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้เป็นการร่วมมือระหว่างศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กับบริษัท ควอลิตี้ พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้นำด้านเทคโนโลยีสุขภาพและความงาม และ บริษัท ฟินิกซิคท์ จำกัด ซึ่งถือเป็นความร่วมมือของเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ภายใต้ แพลตฟอร์มเมลบีที่มุ่งหวังให้เกิดการระดมทุนเพื่อพัฒนาโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงที่สร้างขึ้นมานั้นจะนำมาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้น
โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มให้เป็นศูนย์กลางในการประสานการระดมทุนระดับโลก ระหว่างนวัตกร นักวิจัย นักประดิษฐ์ นักธุรกิจ นักลงทุน และผู้ให้การบริจาค แพลตฟอร์มเมลบีคือกลไกที่เป็นทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมแหล่งทุนให้กับอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม เพื่อต่อยอดผลงานวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการต้นแบบอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น แพลตฟอร์มเมลบีมีความมุ่งหวังที่จะช่วยสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือกรณีที่เกิดวิกฤต การขาดแคลนสิ่งของตลอดจนเงินทุน โดยจะใช้รูปแบบการรับบริจาคสิ่งของหรือระดมทุนเพื่อนำมาสร้างเป็นเทคโนโลยีเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาวเพื่อความยั่งยืน
โดยนายวุฒิพงษ์ ผาณิตเศรษฐกร กรรมการผู้จัดการบริษัท ควอลิตี้ พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การร่วมลงนามในครั้งนี้จะเป็นการพลิกโฉมวงการ Life Science (วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต) ซึ่ง แพลตฟอร์มเมลบี จะเป็นแพลตฟอร์มที่นำพาอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามรวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ข้ามข้อจำกัดในด้านเงินทุน รวมถึงช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมขั้นสูง เทคโนโลยี นักวิจัยและนวัตกร ให้สามารถนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ใช้สร้างขึ้น ไปใช้ในเชิงเชิงพาณิชย์ได้ ตลอดจนช่วยเหลือผู้คนในสังคมที่มีความต้องการใช้ หรือขาดแคลนสิ่งต่างๆ ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น