HomeInsightMarketplace เทรนด์แรงการตลาดหลังโควิด-19 เปิด 8 ปัจจัยทำอย่างไรให้ปัง

Marketplace เทรนด์แรงการตลาดหลังโควิด-19 เปิด 8 ปัจจัยทำอย่างไรให้ปัง

แชร์ :

ปรากฎกาณ์  New Normal  หรือ New Reality ล้วนเป็นศัพท์ใหม่ที่ได้ยินกันติดหูในช่วงนี้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนบริบทใหม่แบบล้างไพ่  แค่ Technology Disruption ก็สาหัสแล้ว มาเจอโควิดอีก “นักการตลาด” ก็ต้องปรับตัวยกใหญ่ เพราะโควิด ได้สร้างรูปแบบการซื้อขายแบบใหม่ที่เรียกกันว่า Marketplace

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณสรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโร (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปรากฏการณ์ Marketplace ในรูปแบบชุมชน (Community Based) ที่เกิดขึ้นในช่วง Covid-19  เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน  จุฬาฯมาร์เกตเพลส เป็นต้น ซึ่งเป็น มาร์เกตเพลส ที่ขายสินค้า ฝากร้าน  ให้คนอยากซื้อ อยากขาย มองหาสินค้าและบริการทุกประเภทผ่านทางเฟซบุ๊กกรุ๊ปที่มีทั้งผู้ขายที่เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และผู้ซื้อคนทั่วไปเข้าร่วมจำนวนมาก

จุดสำเร็จของ Marketplace ตามบทวิเคราะห์ของบริษัท เอ็นไวโร ไทยแลนด์ บริษัทที่ปรึกษาด้านพฤติกรรมผู้บริโภค มี 8 ปัจจัย ดังนี้

  1. Trust หรือ ความไว้วางใจ ในกลุ่มผู้ซื้อ ผู้ขาย ว่าจะขายของดี ให้ Community เพราะ เปิดเผยตัวตน จับต้องได้ รู้ที่มาที่ไป เป็นสิ่งที่ผู้บริโภครู้สึกว่าไม่ได้รับจากแบรนด์ที่เน้นทำตลาดเพื่อขายสินค้า
  2. ส่วนใหญ่เจ้าของมาเอง เป็นการส่งต่อความรู้สึกการันตีกลายๆ ว่า ของมีคุณภาพ เพราะไม่มีใครอยากเสียชื่อ
  3. เกื้อกูล เป็นรูปแบบการขาย เธอซื้อฉัน ฉันซื้อเธอ หรือ ช่วยบอกต่อ เปรียบเสมือน การ Barter หรือ สังคมแบบแลกเปลี่ยนสิ่งของในสมัยก่อน ทำให้เกิดการซื้อ ขาย อย่างต่อเนื่อง
  4. รู้สึกดี เพราะความรู้สึกได้เกื้อกูล เอื้ออาทรกัน สร้างความรู้สึกดีๆ ที่ทำให้อยากสนับสนุนกันต่อไป เหมือนเพื่อน แต่ละคนก็อยากขายของดีมีคุณภาพให้เพื่อน
  5. สนุก จากรูปแบบการประมูลแข่งกัน
  6. ประหยัด ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณา แต่สามารถเข้าถึง คนกว่า 100,000 รายที่อยู่ในกรุ๊ป
  7. สินค้าหลากหลาย
  8. ช่วงหยุดเชื้อเพื่อชาติ การอยู่บ้านเพื่อลดการแพร่ระบาดเชื้อโควิด ทำให้มีเวลาเข้าไปซื้อขายกัน จึงเกิดพฤติกรรมที่จุดติดได้ง่าย เป็นความคุ้นชินซื้อสินค้าผ่านออนไลน์

จากข้อดีดังกล่าว ส่งผลให้ ชุมชนมาร์เก็ตเพสส มีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแรงและก้าวกระโดด แบบออร์แกนิค ที่เป็นการบอกต่อปากต่อปาก (Word of Mouth) จากพลังของผู้บริโภคเอง เหมือนเป็น Domino Effect ที่ส่งต่อพลังกันไปเรื่อย ๆ และไม่ได้มีการปั่นโดยนักการตลาด

ดังนั้นจะเห็นกลุ่ม ชุมชนมาร์เก็ตเพสส หลายกลุ่มมากขึ้น  มีการทำสินค้าซื้อขายกันเอง และเป็นกลุ่มที่แข็งแรงมากเพียงพอที่จะทำให้  นักการตลาด ขายยากขึ้น โจทย์นี้เป็นโจทย์ใหม่และยากมาก ในการวางแผนการตลาด ที่จะทำให้คนออกจากบ้านไปช้อปปิ้งและซื้อสินค้า เพราะหลังจากนี้ผู้บริโภคอาจมีพฤติกรรมไปนอกบ้านลดลง ไม่ช้อปสินค้าตามห้าง ไม่กินตามร้านอาหาร แม้กระทั่งไม่ซื้อสินค้าออนไลน์ แต่เลือกซื้อหรือช้อปปิ้งกันเองใน Community

สินค้าที่จะกระทบก่อน คือประเภทที่ผู้บริโภคสามารถผลิตได้เอง เช่น อาหาร เสื้อผ้า ของประดับ ของใช้ส่วนตัวออร์แกนิค (เช่น สบู่ แชมพู ยาสระผม) สินค้าที่ใช้ในครัวเรือนแบบออร์แกนิค (เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาถูพื้น) เป็นต้น  จะส่งผลกระทบไปยังธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจมีเดีย ที่จะได้ค่าโฆษณาลดลง เอเยนซี่ ที่ไม่มีคนจ้างผลิตโฆษณา เป็นต้น

ถือเป็นโจทย์ท้าทายนักการตลาดหลังโควิดในการรับมือกับ Community Based Marketplace  ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ตอบสนองพฤติกรรมใหม่ในยุค New Normal เพื่อให้สินค้าและแบรนด์ยังเป็นตัวเลือกต่อไป

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like