HomeCOVID-19คาด Covid-19 ฉุดเศรษฐกิจโลกติดลบ 4.9% กระทบแรงงานระดับล่าง 1,600 ล้านคน เหตุ Work From Home ไม่ได้

คาด Covid-19 ฉุดเศรษฐกิจโลกติดลบ 4.9% กระทบแรงงานระดับล่าง 1,600 ล้านคน เหตุ Work From Home ไม่ได้

แชร์ :

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา IMF มีการเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกออกมาอีกชิ้นหนึ่ง โดยใจความสำคัญของรายงานดังกล่าวก็คือตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้ที่ IMF คาดว่าจะติดลบทั่วทุกภูมิภาคของโลกเป็นครั้งแรก จากวิกฤติไวรัส Covid-19

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยสิ่งที่น่าสนใจในรายงาน World Economic Outlook ฉบับเดือนมิถุนายน คือตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ที่ IMF คาดการณ์ว่าจะติดลบ 4.9% โดยมีประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ IMF คาดว่าจะติดลบหนักถึง 8% ในปีนี้ ส่วนสหภาพยุโรปคาดว่าจะติดลบ 10.2% เช่นกัน ซึ่งหากแบ่งตามประเทศแล้วพบว่า อิตาลี และสเปน อาการหนักที่สุดในสหภาพยุโรป เพราะอาจติดลบได้ถึง 12.8% ตามมาด้วยประเทศฝรั่งเศส ที่อาจติดลบ 12.5%

ส่วนสหราชอาณาจักรนั้น IMF คาดการณ์ว่าสถานการณ์อาจไม่เลวร้ายเท่า คือติดลบราว 10.2%

กลับมาที่ประเทศยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียอย่างจีน อินเดีย และญี่ปุ่น โดยตัวเลขคาดการณ์ทั้ง 3 ประเทศ มีจีนเพียงประเทศเดียวที่ผลเป็นบวกคือ เติบโต 1% ขณะที่ญี่ปุ่น และอินเดีย ติดลบ 5.8% และ 4.5% ตามลำดับ

นอกจากนี้ คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤติ Covid-19 ในมุมของ IMF คือกลุ่มแรงงานระดับล่าง เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่สามารถทำงานแบบ Work From Home ได้ และแรงงานผู้หญิงจะได้รับผลกระทบมากกว่าแรงงานชาย ซึ่งหากประเมินจากแรงงานที่มีการว่าจ้างทั้งหมด 2 พันล้านคนทั่วโลก IMF คาดว่าจะมีคนได้รับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ราว 80% หรือ 1,600 ล้านคนเลยทีเดียว

สำหรับคำแนะนำของ IMF ต่อกรณีดังกล่าวออกแนวกลาง ๆ คือให้ประเทศที่อยู่ระหว่างการจัดการกับไวรัสจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับดูแลสุขภาพให้ประชาชนอย่างเพียงพอ ส่วนองค์กรสากล IMF ก็แนะนำว่าควรเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด รวมถึงควรสนับสนุนเงินเพื่อการผลิตและทดสอบวัคซีน ส่วนประเทศที่เริ่มเปิดเมืองแล้ว รัฐบาลก็ควรมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อให้เมืองกลับมาคึกคักอีกครั้ง

ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทาง IMF เคยออกรายงานคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจมาแล้วหนหนึ่ง ซึ่งในตอนนั้น IMF คาดการณ์ไว้ว่า จะติดลบแค่ 3% แต่ผ่านมาอีกสองเดือน ผลก็เป็นอย่างที่ปรากฏ นั่นคือ IMF มีการปรับตัวเลขให้หนักข้อมากขึ้นอย่างที่เราเห็นกันนั่นเอง

Source

 


แชร์ :

You may also like