HomeBrand Move !!6 กลยุทธ์ “Minor” ฟื้นธุรกิจร้านอาหารจากวิกฤติ พร้อมเตรียมปักธง “เจ้าพ่อฟู้ดเดลิเวอรี่”

6 กลยุทธ์ “Minor” ฟื้นธุรกิจร้านอาหารจากวิกฤติ พร้อมเตรียมปักธง “เจ้าพ่อฟู้ดเดลิเวอรี่”

แชร์ :

Minor Food

เป็นที่ทราบกันดีว่าตั้งแต่ต้นปี 2020 เป็นต้นมา ถือเป็นช่วงเวลายากลำบากของ ธุรกิจร้านอาหาร ทั่วโลก รวมทั้งในไทย ที่ต้องปิดหน้าร้านชั่วคราว อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“Minor Food Group” คือ หนึ่งใน Major Player ของธุรกิจร้านอาหารในไทย และขยายการลงทุนใน อีก 27 ประเทศ ด้วยจำนวนร้านอาหารรวมแล้วกว่า 2,300 ร้าน ซึ่งนับตั้งแต่เกิด COVID-19 ในช่วงแรก “Minor Food” มีฐานธุรกิจในประเทศจีน เมื่อรัฐบาลประกาศ Lockdown ทำให้ธุรกิจร้านอาหารที่นั่น จำเป็นต้องปิดร้านชั่วคราว 

กระทั่งต่อมา COVID-19 เริ่มขยายเป็นวงกว้างทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อภาครัฐประกาศมาตรการ Lockdown บางกลุ่มธุรกิจ และร้านอาหารให้บริการได้เฉพาะ Delivery กับ Takeaway เท่านั้น งดให้บริการส่วน Dine-in 

ประกอบกับประเทศไทยพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลัก ทำให้เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดลุกลามทั่วโลก ตลาดนักท่องเที่ยวจึงหายไปจากระบบเศรษฐกิจไทย และภาคธุรกิจ 

“Minor Food” ได้นำ Learning จากการปิดสาขาที่ประเทศจีน และจากการทำ Digital Transformation องค์กรก่อนหน้านั้น ทำให้ปรับตัวได้เร็ว แต่ถึงอย่างไรภายใต้ Brand Portfollio ที่มี บางแบรนด์ยังคงลงทุนต่อเนื่อง ขณะที่บางแบรนด์ต้องชะลอการลงทุนออกไปก่อน

The Pizza Company

 

“Sizzler – The Coffee Club” หนักสุด! ส่วน “The Pizza Company – Bonchon – Burger King” แบรนด์ฮีโร่สร้างรายได้จาก Delivery 

ปัจจุบัน “Minor Food Group” มี Brand Portfolio ในเครือ 8 แบรนด์หลัก คือ The Pizza Company, Burger King, Sizzler, Bonchon, The Coffee Club, ThaiExpress, Dairy Queen, Swensen’s, 

ข้อดีของการมี Brand Portfolio ที่ครอบคลุมร้านอาหารหลายประเภท จึงทำให้ Minor Food สามารถกระจายความเสี่ยงธุรกิจ ไม่พึ่งพิงแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งมากเกินไป เพราะด้วยความที่รูปแบบร้านอาหารที่แตกต่างกัน และโลเกชั่นสาขา ทำให้มีบางเชนร้านอาหารในเครือที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ 

อย่าง “Sizzler” และ “The Coffee Club” เป็นสองแบรนด์กระทบหนักสุด! ในบรรดาพอร์ตโฟลิโอทั้งกลุ่ม

เนื่องจากรูปแบบร้าน การให้บริการ และเมนูอาหารของ Sizzler ทั้งสเต็ก และสลัดบาร์ ต้องเป็น Dine-in ถึงจะสร้างประสบการณ์การรับประทานได้ดีที่สุด 

แต่เมื่อบริการส่วน Dine-in ต้องปิดชั่วคราว ทำให้ “Sizzler” ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ซึ่ง คุณประพัฒน์ เสียงจันทร์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า Sizzler เป็นแบรนด์ที่กระทบมากที่สุดใน Minor Food เพราะให้บริการรูปแบบ Dine-in มาตลอด ไม่เคยคิดว่าจะทำ Take Away ได้ 

แต่พอเกิด COVID-19 ทำให้เปิดตัวโมเดลใหม่ “Sizzler to go” เป็นคีออสตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ จำหน่ายเมนูเพื่อสุขภาพ เช่น แซนด์วิส, เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ พร้อมทั้งเปิด Cloud Kitchen สำหรับทเมนูสำหรับ Food Delivery โดยเฉพาะ 

อีกแบรนด์ คือ “The Coffee Club” เนื่องจากสาขาส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดท่องเที่ยว ทำให้เมื่อไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางมาไทย ย่อมได้รับผลกระทบหนักเช่นกัน

ทำให้ต้องพัฒนาเมนูตอบโจทย์ Take Away Occasion โดยขายรูปแบบเช็ทเมนู เช่น เซ็ท 149 บาท ในนั้นมีอาหาร 1 อย่าง กับกาแฟ 1 แก้ว

Sizzler

ขณะที่แบรนด์ร้านอาหารในเครือ ที่สร้างการเติบโตได้ดี และจะเป็นแบรนด์หลักที่นำพาให้ยอดขายของ Minor Food กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับก่อนจะเกิดสถานการณ์ COVID-19

“The Pizza Company” ถือเป็นเชนร้านอาหารแรกๆ ที่บุกเบิก Food Delivery มานาน และสามารถสร้างพฤติกรรมการสั่ง Delivery ได้สำเร็จ

“Burger King” นอกจากสาขาทั่วไปแล้ว ยังมีสาขาในจังหวัดท่องเที่ยว ซึ่งตามปกติสาขาในแหล่งท่องเที่ยวจะมีราคาจำหน่ายสูงกว่าสาขาปกติ โดยเฉลี่ย 5 – 10% 

ดังนั้นเพื่อให้เข้าถึงคนไทยได้ จึงได้ปรับราคาในสาขาแหล่งท่องเที่ยวลงมา บวกกับเบอร์เกอร์ เป็นหนึ่งในเมนูคนนิยมสั่ง Delivery โดย Minor Food Group ยังคงเดินหน้าลงทุนเปิดสาขาใหม่ ล่าสุดเปิดเพิ่มอีก 4 สาขา 

“Bonchon” อีกแบรนด์ที่มียอด Delivery สูง จนถึงกับทำให้ Minor Food Group ตัดสินใจลงทุนสร้าง Cloud Kitchen เพื่อรองรับการเติบโตของ Delivery โดยเฉพาะ โดยต่อ 1 Cloud Kitchen เพื่อควบคุมคุณภาพอาหาร และจัดส่งให้ได้ภายใน 30 นาที 

ทั้ง 3 แบรนด์นี้ แข็งแกร่งบนโมเดล Delivery อยู่แล้ว จึงทำให้ในช่วง COVID-19 ธุรกิจสามารถเดินต่อได้  

Burger King

นอกจากนี้แบรนด์อื่นๆ ในเครือ Minor ที่ไม่ได้โฟกัส Delivery มาก่อน ในช่วง COVID-19 ได้หันมามาให้ความสำคัญกับบริการ Delivery อย่างแบรนด์ “Swensen’s” พร้อมทั้งพัฒนาไอศกรีมรสชาติไทยๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าไทย

รวมทั้งแบรนด์ “Dairy Queen” Minor มองว่าจะเป็นอีกหนึ่งแบรนด์หลักที่ทำให้ยอดขายโดยรวมของกลุ่มธุรกิจอาหารกลับมา 

เราตอบสนองต่อสถานการณ์ COVID-19 อย่างฉับพลัน เพราะเรามีธุรกิจร้านอาหารที่จีน ซึ่งที่นั่นได้รับผลกระทบก่อนใคร และฟื้นก่อนใคร ทำให้ได้เรียนรู้เคสจากจีน และเอามาเตรียมความพร้อมธุรกิจร้านอาหารในเครือ Minor Food ทั่วโลก รวมทั้งในไทย 

สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราสามารถ React ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เร็ว เป็นผลมาจากทั้ง Minor International และ Minor Food ทำ Transformation องค์กรตั้งแต่ปีที่แล้ว ก่อน COVID-19 จะเกิดขึ้น ทำให้เมื่อ COVID-19 มา เราถึงปรับตัวได้เร็ว ทั้งการดำเนินธุรกิจ ประสิทธิภาพการทำงาน เทคโนโลยีดิจิทัล และโดยเฉพาะด้าน Food Delivery

สำหรับการลงทุน เรายังพิจารณาเป็นรายกรณีไป โดยต้องคำนึงถึงการปกป้องกระแสเงินสด และอัตราหนี้สินต่อทุน แต่ถ้ามีโอกาสดี และเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ROI ดี เราจะลงทุนมร. ดิลลิป ราชากาเรีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT และรักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไมเนอร์ ฟู้ด เล่าการรับมือในช่วงวิกฤต 

Mr. Dillipraj Rajakarier, Group CEO

คุณดิลลิป ราชากาเรีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และรักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไมเนอร์ ฟู้ด

กลยุทธ์สร้างการเติบโตระยะยาว 

ถึงเวลานี้ธุรกิจร้านอาหารในเครือ Minor Food 95% ของสาขาร้านอาหารทั้งหมด 1,490 แห่งทั่วประเทศ กลับมาเปิดให้บริการตามปกติแล้ว 

ผู้บริหาร Minor Food เผยว่ายอดขายของแบรนด์ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ และบางแบรนด์แสดงแนวโน้มของยอดขายสูงกว่าระดับก่อนการระบาด COVID-19 โดยคาดหวังว่าเมื่อสิ้นสุดปีนี้ ยอดขายโดยรวมของ Minor Food จะกลับมาอยู่ระดับเดียวกับก่อนเกิดสถานการณ์ COVID-19 

กลยุทธ์ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 และเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์คือ 

1. ยกระดับบริการ Delivery ตั้งเป้าปักธงเป็นเจ้าพ่อ Food Delivery” ในไทยให้ได้! 

Minor Food ถือเป็นรายแรกๆ ของธุรกิจร้านอาหารในไทย ที่นำการส่งอาหารแบบ Delivery มาให้บริการแก่คนไทยเมื่อตั้งแต่ปี 2532

เมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว เป็นส่ิงใหม่สำหรับคนไทย จึงต้องอาศัยการสร้างพฤติกรรมผู้บริโภค จนกระทั่งสำเร็จ ทุกวันนี้คนไทย คุ้นเคยกับการสั่ง Delivery โดยเฉพาะอาหารประเภทพิซซ่า ที่ทำให้ “The Pizza Company” แข็งแกร่งในตลาด Delivery และมี Data ที่จะรู้ได้ว่าพื้นที่ไหน ความหนาแน่นของประชากรเป็นอย่างไร พื้นที่ไหน Consumer Profile เป็นอย่างไร ซึงมีผลต่อการต่อยอดทางธุรกิจ 

พัฒนาการของ Food Delivery ของกลุ่ม Minor Food เร่ิมจาก Call Center ก่อน ต่อมาขยายมายังหน้าเว็บไซต์ และปัจจุบันพัฒนาในรูปแบบ Mobile Application รวมทั้ง 8 แบรนด์ร้านอาหารในเครือบวกกับ S&P และ BreadTalk อยู่ในแอปพลิเคชันเดียวกัน “1112 Delivery” ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำ Digital Transformation ของกลุ่ม Minor 

ปัจจุบันช่องทาง Delivery ของเราเอง มี 3 ช่องทางคือ Call Center, แพลตฟอร์มของ The Pizza Company และแอปฯ 1112 Delivery 

แต่ต่อไปจะเหลือ Call Center 1112 เพราะยังมีผู้บริโภคชอบโทรเข้ามาสั่งมากกว่า ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนมาสั่งผ่านแอปฯ และแบรนด์ไหนที่มีแอปฯ Delivery ของตัวเอง จะเอามารวมกันในแอปฯ 1112 Delivery” 


เหตุผลสำคัญที่ Minor Food พัฒนาแพลตฟอร์มของตัวเอง นั่นเพราะ
 

– แพลตฟอร์ม 1112 Delivery เป็นอีกหนึ่ง Digital Transformation 

– เพื่อ connect โดยตรงกับผู้บริโภคได้มากขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มของตัวเอง

– สร้างความสะดวกให้กับผู้บริโภค 

– ทำให้ได้ Customer Data เพื่อนำไปวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า สำหรับนำเสนอแบรนด์ เมนูอาหาร โปรโมชั่นให้กับลูกค้าได้แบบ personalization

– เมื่อเป็นแพลตฟอร์มของตนเอง ทำให้สามารถควบคุมระยะเวลาการจัดส่งไม่เกิน 30 นาที

– ควบคุมมาตรฐานความสะอาด ความปลอดภัยด้านสุขอนามัย ทั้งแพคเกจจิ้ง และพนักงานจัดส่ง ที่ต้องแต่งกายเรียบร้อย 

– พัฒนาแพลตฟอร์ม Delivery ของตนเองให้แข็งแกร่ง เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน 

อย่างไรก็ตามถึงแม้ปัจจุบัน Food Aggregator จะมีบทบาทมากขึ้นในธุรกิจร้านอาหารเมืองไทย เพราะความได้เปรียบของการเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมร้านอาหารมากมายเข้ามารวมอยู่บนแพลตฟอร์มเดียว บวกกับฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก 

แน่นอนว่าในขณะที่ “Minor Food” พัฒนาช่องทาง Delivery ของตนเอง (Own Channel) แต่ความที่แพลตฟอร์ม Food Aggregator มีฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก จึงกลายเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ 

กล่าวได้ว่าผู้บริโภคฐานใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ตรงไหน แบรนด์ก็ต้องไปอยู่ตรงนั้น! 

เพราะฉะนั้น Minor Food จึงนำแบรนด์ร้านอาหารขึ้นไปอยู่บนแพลตฟอร์มของ Food Aggregator ด้วยเช่นกัน โดยที่บางแบรนด์ การสั่งออนไลน์โดยหลักยังคงมาจากแพลตฟอร์มของ Minor Food เอง  ในสัดส่วน 70 – 80% และอีก 20 – 30% การสั่งมาจากแพลตฟอร์ม Food Aggregator เช่น The Pizza Company มากถึง 80% ของการสั่งออนไลน์ มาจาก 1112 Delivery 

ส่วนบางแบรนด์ Minor Food ปล่อยให้ Food Aggregator ไปเลย อย่างแบรนด์เล็ก 70% อยู่กับ Food Aggregator และอีก 30% มาจากการสั่งบนแพลตฟอร์ม 1112 Delivery เช่น The Coffee Club เนื่องจาก Food Aggregator มีฐานจัดส่งในต่างจังหวัดด้วย ซึ่งร้าน The Coffee Club ส่วนใหญ่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว 

เรายังคงเป็นพาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์มของ Food Aggrigator ไปพร้อมๆ กับสร้างแพลตฟอร์ม Delivery ของตนเองให้แข็งแกร่ง และสร้างแบรนด์ในเครือ Minor Food ให้แข็งแกร่ง เพื่อเวลาที่แบรนด์ไปอยู่บนแพลตฟอร์มคนอื่น เมื่อผู้บริโภคเห็นและจดจำแบรนด์เราได้ เราจะเป็น Top of Mind ของผู้บริโภค 

เราตั้งใจจะเป็นเจ้าพ่อเดลิเวอรี่เงินลงทุนเพื่อพัฒนาแอปฯพัฒนา loyalty program ของเดลิเวอรี่ของเราในอนาคตที่ต่อไปจะสามารถใช้ข้ามแบรนด์ได้ คุณประพัฒน์ เล่าถึงเป้าหมายในอนาคตของบริการ Delivery ของ Minor Food

นอกจากนี้ Minor Food ยังมีแผนจะพัฒนา “Drone Delivery” ในอนาคต

Mr. Prapat Siangjan Deputy COO

คุณประพัฒน์ เสียงจันทร์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป

2. สร้างโมเดลร้านรูปแบบคีออส เพื่อให้บริการ Grab & Go ที่สามารถสร้างรายได้อีกทาง นอกเหนือจากร้านแบบ Dine-in และ Delivery และเป็นการตอบโจทย์ชีวิตเร่งรีบของคนในเมือง 

ทำเลของร้านคีออส เน้นตั้งร้านอยู่ใกล้ความสะดวกของผู้บริโภค เช่น สถานที่ทำงาน, รถไฟฟ้า โดยตัวอย่างแบรนด์ในเครือที่ทำโมเดลนี้แล้ว คือ Sizzler to go, The Coffee Club และ Swensen’s 

Sizzler to go

3. พัฒนา “Cloud Kitchen” รองรับการเติบโตของ Food Delivery โดยเฉพาะ 

ถึงแม้ในช่วงเวลานี้ “Minor Food” ต้องรักษา cash flow ไว้ก่อน ส่วนการลงทุนจะพิจารณาเป็นรายกรณีไปนั้น สำหรับ “Cloud Kitchen” หรือครัวกลาง คือหนึ่งในการลงทุนที่ Minor Food ยังคงเดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเติบโตของขา Delivery และจะทำให้บริการในส่วนนี้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะการเจาะเข้าถึงย่านชุมชน 

ทำเลเปิด Cloud Kitchen เปิดในพื้นที่ใกล้บ้าน ที่โซนนั้นๆ ยังไม่มี “สาขาร้าน” หรือสาขาร้านไม่สามารถครอบคลุมรัศมีการจัดส่งได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยเฉลี่ยต่อ 1 Cloud Kitchen มีรัศมี 3 กิโลเมตรโดยรอบ ทำให้ลูกค้าได้รับอาหารที่สั่งเร็วขึ้น รักษาคุณภาพร้านได้ดีขึ้น 

ปัจจุบันแบรนด์ที่เริ่มทำ Cloud Kitchen แล้ว คือ Sizzler และ Bonchon เนื่องจากทั้งสองแบรนด์ สาขาส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์การค้า และยังไม่ครอบคลุมทั่ว ทำให้การจัดส่งจากสาขา ต้องใช้เวลาเกิน 30 นาที ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพอาหารตามมา ดังนั้นการมี Cloud Kitchen จะช่วยบริการ Delivery 

แบรนด์ที่มี Coverage ทั่วถึงแล้วอย่าง The Pizza Company ที่มีกว่า 400 สาขา และ Swensen’s ที่มีกว่า 300 สาขา ไม่จำเป็นต้องมี Cloud Kitchen แต่แบรนด์ใหม่ สาขาร้านยังไม่มาก และต้องควบคุมคุณภาพอาหาร ต้องมี Cloud Kitchen เพื่อลดระยะเวลาการส่ง และรักษาคุณภาพอาหาร แต่ถึงอย่างไรการทำ Delivery ก็ไม่ใช่กลยุทธ์หลักของ Bonchon เพราะแบรนด์ Bonchon ยังคงเป็น Casual Dining Restuarant” คุณประพัฒน์ กล่าว 

Bonchone Delivery

Photo Credit : Facebook BonChon Chicken Thailand


4.
พัฒนาเมนูใหม่และแคมเปญการตลาดใหม่ดึงดูดผู้บริโภค 

นอกจากเมนูหลักประจำร้านแล้ว การพัฒนาเมนูใหม่ และแคมเปญการตลาด เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับร้านอาหารที่จะเป็นตัวดึงให้ผู้บริโภครู้สึกตื่นตาตื่นใจให้ใช้บริการ และสร้างประสบการณ์ใหม่ 

การพัฒนาสินค้าใหม่ และการออกแคมเปญการตลาดที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะดึงดูดลูกค้าได้ดี ซึ่งจุดประสงค์ของแผนนี้ คือ เพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้กับบริษัท

 

5. ทำ “Brand Revitalization” ปรับโฉมแบรนด์ให้ทันสมัย เข้าถึงคนรุ่นใหม่ 

เป็นอีกหนึ่งการลงทุนต่อเนื่อง สำหรับการทำ Brand Revitalization หรือการทำให้แบรนด์ดูทันสมัย มีชีวิตชีวาเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เนื่องจากเชนร้านอาหารในเครือ Minor Food หลายแบรนด์ ดำเนินธุรกิจมานาน ในขณะที่ทุกวันนี้การแข่งขันของธุรกิจร้านอาหารดุเดือดขึ้น มีทั้งเชนใหญ่ และรายใหม่ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น 

ดังนั้นเพื่อให้แบรนด์ยังคงเป็น Top of mind brand และผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับทางเลือกที่หลากหลาย ยังคงพิจารณาเลือกใช้บริการเชนร้านอาหารในเครือ Minor Food จึงจำเป็นอย่างย่ิงต้องทำ Brand Revitalization เพื่อทำให้แบรนด์ทันสมัย สดใหม่ มีชีวิตชีวา เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย 

โดยทำทั้งองค์รวมของแบรนด์ ตั้งแต่ภาพรวมของแบรนด์ การดีไซน์ร้านใหม่ การเปิดฟอร์แมตใหม่ การให้บริการ เครื่องแบบพนักงานร้านสาขา ไปจนถึงเมนูใหม่ ซึ่งแบรนด์ที่ทำ Brand Revitalization ไปแล้วคือ Sizzler และ Swensen’s 

Sizzler

 

6. ขยายฐานธุรกิจไปต่างประเทศมากขึ้น 

ฐานธุรกิจของ “Minor Food” 70% มาจากประเทศไทย และอีก 30% จากต่างประเทศใน 26 ประเทศ โดยส่วนใหญ่การดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ โดยหลักแล้วมาจากจีน และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสองประเทศที่ “Minor Food” เข้าไปลงทุนสร้างสาขาเอง แต่ประเทศอื่นในภูมิภาคต่างๆ เช่น เวียดนาม ใช้โมเดลแฟรนไชส์ ด้วยการจับมือกับ Local Partner 

โมเดลแฟรนไชส์ ทำให้ได้ Return สูง และได้จับมือกับ Local Partner ที่ต่างมีจุดแข็งต่างกัน มาทำงานร่วมกัน ทางเรามีความเชี่ยวชาญในธุรกิจร้านอาหาร ขณะที่พาร์ทเนอร์ มีความรู้ท้องถิ่น

ตลาดไหนมีโอกาสดี ศึกษาและพิจารณาแล้วเห็นว่ามีศักยภาพการเติบโตดี ให้ Return ดี ถ้ามีโอกาส เราไปที่นั่น จากปัจจุบัน Minor International ลงทุนใน 60 กว่าประเทศทั่วโลก ในจำนวนนี้ Minor Food ลงทุนกว่า 20 ประเทศ 

เพราะฉะนั้นที่ไหนที่เรามีฐานประกอบการธุรกิจอยู่แล้ว เราสามารถเอาอีกกลุ่มธุรกิจหนึ่งไปลงทุนด้วย ในลักษณะที่เรียกว่า Cross Cluster เช่น มีธุรกิจโรงแรมที่มัลดีฟส์ เราเอาธุรกิจร้านอาหารไปเปิดที่นั่นด้วย” ผู้บริหาร Minor Food Group กล่าวถึงการลงทุนในต่างประเทศ


แชร์ :

You may also like