HomeDigital7 กลยุทธ์ ปั้นแบรนด์ให้โดดเด่นบน “ทวิตเตอร์” หนึ่งในเครื่องมือสื่อสารบนโลกดิจิทัล

7 กลยุทธ์ ปั้นแบรนด์ให้โดดเด่นบน “ทวิตเตอร์” หนึ่งในเครื่องมือสื่อสารบนโลกดิจิทัล

แชร์ :

ในช่วงนี้นักการตลาดหลายคนคงมีคำถามมากมาย รวมถึงอยากทราบว่าจะสื่อสารอย่างไรให้เข้ากับสถานการณ์และเกิดผลดีกับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงนี้ควรจะเปิดตัวสินค้าหรือไม่ ควรทำแคมเปญอย่างไร มู้ดแอนด์โทนควรเป็นแบบไหน ถ้าครีเอทเชิงขี้เล่น เบาสมองจะดูเหมาะสมกับบรรยากาศในช่วงนี้หรือไม่ ทวิตเตอร์เข้าใจถึงปัญหานี้เป็นอย่างดีและเห็นด้วยว่าการสร้างสรรค์บทสนทนาสามารถสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ได้ เราจึงขอแนะนำ 7 กลยุทธ์จากแบรนด์ชั้นนำที่ครองใจผู้บริโภคด้วยการสื่อสารได้อย่างโดดเด่นบนทวิตเตอร์

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

1. สื่อสารด้วยการรับฟัง

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ลงความเห็นว่าแบรนด์ควรสื่อสารกับผู้บริโภคด้วยการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
o ผลการศึกษาจาก Unruly ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีวีดีโอการตลาด ชี้ว่า คนไทยเกือบครึ่ง (48%) อยากเห็นแบรนด์ให้ความรู้ผ่านแคมเปญโฆษณา

ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องการให้แบรนด์ทวีตและโฆษณาแคมเปญของแบรนด์ต่อไป แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ก็ตาม
o ข้อมูลจาก Unruly ระบุว่า คนไทย 99% ยอมรับได้หากแบรนด์จะทวีตแคมเปญโฆษณาในช่วงของการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19

o ตัวอย่าง การโปรโมตแพ็คเกจมือถือจาก Netflix

แบรนด์ควรนึกถึงผู้บริโภคก่อนเป็นอันดับแรกและให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคในช่วงของการแพร่ระบาด
o ตัวอย่าง Truemove H แจกซิมฟรีให้กับคนที่ต้องเรียนหรือทำงานอยู่ที่บ้าน

2. สื่อสารด้วยเป้าหมายของแบรนด์

ในช่วงของการแพร่ระบาด แบรนด์ควรเป็นตัวอย่างที่ดีโดยตระหนักถึงบทบาทของตัวเองว่ามีส่วนสำคัญในชีวิตของผู้บริโภคอย่างไร และลองดูว่าแบรนด์จะสามารถตอบแทนสังคมโดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแบรนด์ได้อย่างไรบ้าง
o ตัวอย่าง JOOX จัด “เทศกาลดนตรี WFH” ที่มีศิลปินชาวไทยมาร่วมไลฟ์สด และระดมทุนเพื่อมอบเงินให้กับมูลนิธิรามาธิบดี

ข้อมูลจาก GlobalWebIndex ระบุว่า ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 84% มองว่าหลังการระบาดของโควิด-19 เป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทหรือแบรนด์ควรแสดงจุดยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคิดเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน

3. สื่อสารด้วยตัวอย่าง

ข้อมูลจาก GlobalWebIndex ระบุว่า 79% ของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ต้องการที่จะเห็นว่าแบรนด์มีการตอบรับกับสถานการณ์โควิด-19 อย่างไร หรือมีการช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างไรบ้าง
o ข้อมูลจาก Unruly เผยว่า ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ชาวไทย 47% อยากเห็นแบรนด์สื่อสารเกี่ยวกับ
โควิด-19 และ 15% อยากให้แบรนด์แชร์ว่ามีการช่วยเหลือพนักงานและผู้บริโภคอย่างไร

o ตัวอย่าง AIS แชร์ลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Thai Fight Covid-19 และแนะนำให้ทุกคนติดตามข่าวสารจากรัฐบาล

แบรนด์ที่สามารถสื่อสารได้อย่างโดดเด่นมักจะนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเผยแพร่แคมเปญที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ
o ตัวอย่าง ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดตัวเว็บไซต์ที่จัดทำเป็นพิเศษ BOT COVID-19 เพื่อให้คำแนะนำแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาทางการเงิน

4. สื่อสารด้วยไอเดียใหม่ๆ

หากคิดว่าการเปิดตัวอะไรใหม่ๆ ในช่วงที่สถานการณ์ไม่ปกตินั้นมีความเสี่ยง คุณอาจต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ โดย Nielsen ระบุว่า หลายแบรนด์ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ในช่วงนั้นพบว่ามี Share of Voice (SOV) เพิ่มขึ้น 15-25% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของการเติบโตโดยทั่วไป

5. สื่อสารด้วยการเชื่อมต่อ

ทวิตเตอร์เผยว่า 3 ใน 4 ของผู้ใช้ทวิตเตอร์รู้สึกว่าพวกเขาสามารถเชื่อมต่อกับผู้อื่นได้มากขึ้นขณะใช้งานแพลตฟอร์ม
วิธีการที่แบรนด์สามารถใช้เพื่อคอนเน็คกับกลุ่มเป้าหมาย

o เปลี่ยนจากการจัดอีเวนท์ธรรมดาเป็นออนไลน์ ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ 6 ใน 10 คน รู้สึกว่าสามารถเชื่อมต่อกับผู้อื่นได้มากขึ้นเมื่อพวกเขาร่วมชมการถ่ายทอดสดบนโซเชียลมีเดีย

o ร่วมฉลองวาระโอกาสต่างๆ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีทวีตที่เกี่ยวกับการเฉลิมฉลองบนโลกออนไลน์เนื่องในวันพิเศษต่างๆ เพิ่มขึ้นกว่า 600%

o อิงกระแส

– การอยู่บ้านทำให้ผู้คนค้นพบความสนใจในสิ่งใหม่ๆ

– ในช่วงที่ต้องเว้นระยะห่างจากคนอื่น ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ 2 ใน 3 คน รู้สึกว่าสามารถคอนเน็คและมีส่วนร่วมมากขึ้นเมื่อพวกเขาเห็นทวีตที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโปรด

6. สื่อสารด้วยความรวดเร็ว

กลยุทธ์ในการสร้างเนื้อหาของแบรนด์มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไป
o เปลี่ยนของเดิมให้เป็นของใหม่ แบรนด์ต่างๆ เริ่มหันมองสิ่งที่มีอยู่ในมืออย่าง ฟุตเทจกองใหญ่ เนื้อหาที่ผู้บริโภคเขียนถึงแบรนด์ ภาพถ่าย ฯลฯ ที่มีอยู่แล้วมาใช้ในขณะที่การถ่ายทำใหม่มีข้อจำกัด

o สร้างเนื้อหาใหม่โดยครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์

ตัวอย่าง AIS ให้พรีเซ็นเตอร์ถ่ายโฆษณาด้วยตัวเอง

o เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการไลฟ์สดงานอีเวนท์ หลายแบรนด์เลือกถ่ายทอดสดเวลาสำคัญด้วยการไลฟ์บนทวิตเตอร์ แทนที่การจัดงานอีเวนท์แบบพบปะใกล้ชิดซึ่งทำได้ยาก

7. สื่อสารด้วยพลังบวก

ข้อมูลจากการสำรวจของ Twitter ระบุว่า 70% ของผู้ใช้งานทวิตเตอร์มองว่าแบรนด์ควรมีส่วนช่วยเพิ่มพลังบวกและควรโปรโมตเรื่องราวดีๆ
Unruly ระบุว่า ผู้บริโภคชาวไทยอยากดูโฆษณาที่ดูแล้วสร้างแรงบันดาลใจ (56%) ดูแล้วอบอุ่นหัวใจ (42%) และให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน (30%)


สิ่งที่แบรนด์สามารถทำได้ คือ
o แชร์เนื้อหาด้านบวก เนื้อหาตลก ขบขัน ยังคงดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เสมอ

ตัวอย่าง ธนาคารกสิกรทำคลิปวิดีโอที่น่ารักและให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

o สร้างประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้การพบปะของผู้คนต่างไปจากเดิม บางแบรนด์เลือกใช้โอกาสนี้ในการจัดทำทัวร์และนิทรรศการเสมือนจริงผ่านช่องทางออนไลน์

o สร้างส่วนร่วมกับผู้คนโดยใช้สิ่งที่พวกเขาสนใจ นอกเหนือจากการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ

โควิด-19 แล้ว อย่าลืมว่าผู้คนยังคงมองหาเรื่องราวเกี่ยวกับความบันเทิง กีฬา และเรื่องที่สามารถสร้างเสียงหัวเราะได้ในทุกวัน


แชร์ :

You may also like