HomeDigitalเรื่องเล่าของเอไอเอส ในวันครบรอบ 30 ปีและมี 5G เป็นอนาคต

เรื่องเล่าของเอไอเอส ในวันครบรอบ 30 ปีและมี 5G เป็นอนาคต

แชร์ :

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส

แม้เศรษฐกิจจะยังไม่กลับมา แต่ 5G ก็ต้องเดินหน้าต่อ เอไอเอสฉลองครบรอบ 30 ปี ดึง 5G เป็นจุดเริ่มต้นทศวรรษใหม่ของบริษัท พร้อมเปิดตัวแพกเกจเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ ตั้งเป้าสิ้นปีลูกค้าแตะหลักแสนราย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

30 ปีส่งมอบเงินให้ภาครัฐกว่า 9 แสนล้านบาท

โดยจากการเปิดเผยของเอไอเอสพบว่า ตลอด 30 ปีที่ผ่านมาของบริษัทนั้น ได้มีการส่งมอบเงินให้กับภาครัฐเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศเป็นมูลค่ารวมกว่า 915,000 ล้านบาท (งบลงทุนของปีนี้อยู่ที่ 35,000 ล้านบาท) ส่วนในปีที่ 31 เป็นต้นไปนั้น เอไอเอสเผยว่า จะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องอีกกว่า 1.1 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

สำหรับการเริ่มต้นปีที่ 31 หรือการเดินทางไปสู่ทศวรรษใหม่ของเอไอเอสนั้น เทคโนโลยี 5G จะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเติบโตทั้งในฝั่งผู้บริโภค และโลกอุตสาหกรรม โดยคุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส เผยว่า “5G มีประโยชน์อย่างมากต่อวงการอุตสาหกรรม เราสามารถใช้ 5G ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศได้จริงแล้ว และที่ผ่านมา เราเองได้พยายามทำสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมมากมาย เช่น การร่วมมือกับ NTT Docomo ทำ Remote Supervisor ให้ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ญี่ปุ่นสามารถมอนิเตอร์การทำงานของโรงงานในประเทศไทยได้ด้วย เอไอเอส 5G จริง ๆ โดยที่ไม่ต้องเดินทางมาประเทศไทย”

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในช่วง Covid-19 กับการจับมือกับ NTT Docomo นำเทคโนโลยี 5G มาช่วยภาคอุตสาหกรรมในการรับคำปรึกษาจากบริษัทญี่ปุ่นโดยที่ผู้เชี่ยวชาญไม่ต้องเดินทางมาที่ประเทศไทยด้วยตัวเอง

“นอกจากนั้น เรายังได้ร่วมกับ Bosch ในการทำ Factory Automation ที่นำหุ่นยนต์จริง ๆ เข้ามาร่วมทำงานบนเอไอเอส 5G ในโรงงานอุตสาหกรรม Eastern Seaboard และเรายังได้เข้าไปร่วมงานกับหน่วยงานราชการนำเอไอเอส 5G ไปร่วมใช้งานในระบบรักษาความปลอดภัยอีกมากมายหลายแห่งด้วย”

จับมือห้างดังก้าวสู่ยุค AR-VR

ด้านคุณปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไปของเอไอเอสเผยว่า ปัจจุบัน เอไอเอสมีลูกค้าที่ใช้บริการ 5G ประมาณ 60,000 ราย ซึ่งตัวเลขนี้ บริษัทคาดการณ์ว่าภายในสิ้นปีจะแตะหลัก 100,000 รายได้อย่างแน่นอน ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านอุปกรณ์ที่มีการเปิดตัวสมาร์ทโฟน 5G ออกสู่ท้องตลาดมากขึ้น และมีราคาปรับตัวลดลงอยู่ที่หลักหมื่นปลาย ๆ

“กระจกอัจฉริยะ” ความร่วมมือระหว่างเอไอเอสกับเซ็นทรัลพัฒนา ที่มีแผนจะไปติดตั้งในห้างเซ็นทรัลเวิลด์เร็ว ๆ นี้

นอกจากนั้น การมาถึงของ 5G ยังทำให้เกิดพื้นที่ใหม่ ๆ สำหรับแบรนด์ได้อีกมากมาย เช่น การที่เอไอเอสจับมือกับเซ็นทรัลพัฒนานำ “กระจกอัจฉริยะ” มาช่วยพลิกโฉมธุรกิจค้าปลีกให้กับห้างเซ็นทรัลเวิลด์ โดยกระจกดังกล่าวจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถลองเสื้อจากแบรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วผ่านเทคโนโลยี AR Mapping หรือการจับมือกับ OneSiam, ทีวีไดเร็ค และ TCDC สร้างศูนย์การค้าเสมือนจริง “Virtual Mall” เพื่อเป็นแพลตฟอร์มให้ผู้ประกอบการมากกว่า 5,000 รายได้นำสินค้าขึ้นมาวางจำหน่ายบนโลกออนไลน์ได้อีกหนึ่งช่องทาง

“การที่ร้านค้าต้องเปลี่ยนรูปแบบไปในช่วง Covid-19 ผมว่าออนไลน์ช่วยได้เยอะ คนที่ไม่มีงาน ก็ออกมาขายกับข้าว สร้างรายได้กันบนออนไลน์เพื่อรอภาพใหญ่มันกลับมา ดังนั้นในระดับประเทศ เราต้องคิดว่า จะทำอย่างไรให้อยู่รอด ซึ่งระบบไอทีทุกวันนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานของหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มประสิทธิภาพและการเข้าถึง ผมคิดว่าอย่างนั้นนะ”

ส่วนการเติบโตของ 5G ในฟากอุตสาหกรรมนั้น คุณปรัธนาเผยว่า ยังต้องค่อยเป็นค่อยไป เหตุเพราะการพัฒนาโซลูชัน IoT หรือระบบ Automation ต้องใช้เวลา และไม่สามารถเปลี่ยนไลน์การผลิตได้ในชั่วข้ามคืน

“ในตอนนี้ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่จะใช้บริการ 5G ของเอไอเอสหากเทียบสัดส่วนรายได้อยู่ที่กลุ่มคอนซูเมอร์เป็นหลัก เพราะกลุ่มคอนซูเมอร์มีการปรับตัวรับเทคโนโลยีได้เร็วกว่า ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมนั้นจะมาเป็นเครื่องจักรกล หุ่นยนต์ ฯลฯ ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมต้องเตรียมรากฐานรองรับนาน 3 – 6 เดือนเป็นเรื่องปกติ”

โดยสัดส่วนรายได้ในภาพรวมของเอไอเอส ณ ปัจจุบันอยู่ที่ คอนซูเมอร์ 80% เอนเตอร์ไพรส์ 11 – 14% และบรอดแบนด์อีกประมาณ 5% แต่หาก 5G เข้าถึงภาคอุตสาหกรรมได้มากขึ้น คุณปรัธนาคาดการณ์ว่าสัดส่วนรายได้นี้อาจเปลี่ยนไปเป็นรายได้จากกลุ่มเอนเทอร์ไพรส์เพิ่มขึ้นแตะ 25% เลยทีเดียว

“ในอดีตอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องใช้ระบบ Automation มากเท่าวันนี้ แต่ก่อนไม่มีรถวิ่งเองได้ แต่วันนี้มันกลายเป็นความจำเป็น เราเชื่อว่านี่คือแอเรียใหม่ สำหรับเอไอเอส” คุณปรัธนา กล่าวทิ้งท้าย


แชร์ :

You may also like