พบว่ามีคนไทยส่วนใหญ่เป็นหนี้กันมากขึ้น และเป็นหนี้เร็วขึ้น จนกลายเป็นปัญหาพื้นฐานใหญ่ของประเทศ โดยข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 พบคนไทยประมาณ 21 ล้านคนเป็นหนี้ โดยเฉพาะกลุ่มคนในวัยเริ่มทำงานช่วงอายุระหว่าง 25-35 ปี ขณะที่ข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ระบุว่า ในปี 2561 หนี้ของคนไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มมาจากการบริโภค (Personal Consumption) อีกทั้งหนี้นั้นเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงอายุ 27-30 ปี และยังมีหนี้สูงคงที่ตลอดช่วงอายุการทำงาน ส่งผลให้แม้จะเกษียณแล้ว หลายคนยังคงมีหนี้ติดตัวอยู่
ความจริงแล้ว การเป็น “หนี้” ไม่ใช่ความล้มเหลวของชีวิตและไม่ใช่ความผิด แต่หากจำเป็นต้องสร้างหนี้ ควรต้องเลือกว่าจะเป็นหนี้แบบไหน ที่สำคัญต้องเป็นหนี้แบบมีวัน “จบ” จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างรุนแรง ทำให้สังคมไทยตระหนักถึงความเปราะบางเรื่องานและเรื่องเงินมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีภาระหนี้ “ทีเอ็มบีและธนชาต” ผู้นำแนวคิด Make REAL Change ชวนคนไทยลุกขึ้นมาหาทางแก้หนี้ผ่านการหาความรู้เพิ่มเติมผ่านกิจกรรม “FIN TALK by TMB l Thanachart ปลดล็อกชีวิตหนี้… สู่วิถีการเงินใหม่”
1. ปลดล็อกแนวคิดยามเป็นหนี้ โดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดชื่อดัง เมื่อต้องเจอกับปัญหาหนี้ก้อนโต ต้องยอมรับความเป็นจริง ยอมรับการเป็นหนี้ จุดนี้จะเป็นสัญญาณที่ดีทำให้เกิดสติและปัญญาในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น นั่นหมายความว่า การปลดล็อกต้องเริ่มจากจิต (Mental) เป็นอันดับแรก แล้วค่อยเดินไปหาความรู้ (Knowlede) เพื่อให้มีหนทางจัดการกับปัญหา (Action) ซึ่งทั้งสามขั้นตอนนี้ควรยอมรับความช่วยเหลือจากคนอื่น ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนที่ไว้ใจ คนในครอบครัว ธนาคาร หรือผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน
2 .ปลดล็อกพฤติกรรมการแก้หนี้แบบผิดๆ โดยมันนี่โค้ชคนดัง จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ระบุว่า ต้องปรับพฤติกรรม เช่น การลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และพยายามหาช่องทางการเพิ่มรายได้ เช่น ให้นำเอาทักษะของตัวเองมาใช้หารายได้ ส่วนการลดรายจ่ายมองว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายกว่าเพิ่มรายได้ จัดการกับรายจ่ายที่เป็นหนี้ ต้องหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายหนี้ตรงนี้ในแต่ละเดือน และเลือกใช้เวลา นั่นคือใช้เวลาในการโฟกัสการแก้ปัญหา ไม่ต้องรอเวลาในการแก้หนี้ รวมทั้งใช้เวลาในการหันหน้าคุยกับธนาคารเพื่อเจรจา หรือขอคำปรึกษา หาจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ แล้ว เราจะมีกำลังใจในการแก้หนี้ก้อนใหญ่ได้นำไปสู่โอกาสใหม่ในชีวิต
การปลดล็อกชีวิตหนี้ด้วยความรู้ทางการเงินกับธนาคารที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและมอบโซลูชันทางการเงินให้กับคนไทย โดย “ปิติ ตัณฑเกษม” ซีอีโอ ทีเอ็มบี ชี้ให้เห็นว่า หนี้ครัวเรือนไทยเติบโตเร็วมาก และส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่เกิดจากการบริโภค มีสัดส่วนสูงถึง 34% สะท้อนให้เห็นว่าการเป็นหนี้ของคนไทยอาจจะเกิดจากความคิดและพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เกินตัว ประกอบกับธนาคารมีการออกผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อสร้างความสะดวกในการใช้จ่ายและช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงเงินกู้ได้ง่าย มีโอกาสเป็นหนี้ได้ตั้งแต่เดินออกจากรั้วมหาวิทยาลัย ขณะที่คนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และการวางแผนด้านการเงิน ดังนั้น เมื่อธนาคารเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปัญหา ก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมแก้ปัญหา โดยบทบาทของธนาคารต้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ที่คอยทวงหนี้ แต่ต้องเป็นคลินิกช่วยรักษา ช่วยวินิจฉัยโรคและช่วยจ่ายยาให้กับคนไข้ที่มีปัญหาหนี้
ทีเอ็มบีและธนชาต ให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ให้กับลูกค้า ให้รู้จักและเข้าใจเครื่องมือทางการเงินอย่างถูกต้อง เพื่อสามารถเลือกใช้ประเภทสินเชื่อได้อย่างเหมาะสมและถูกวัตถุประสงค์ เพราะสินเชื่อแต่ละประเภทมีภาระดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน และธนาคารยังเน้นการให้คำปรึกษาผ่านผู้เชี่ยวชาญ (Debt Advisory) พร้อมนำเสนอทางเลือกต่าง ๆ เช่น การทำ Debt Consolidation เพื่อให้ลูกค้าสามารถรวมภาระหนี้ที่มีจากหลายๆ บัญชีสินเชื่อให้เหลือหนี้เพียงบัญชีเดียว โดยลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากการขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระตามสินเชื่อมีหลักประกัน ทำให้ช่วยปรับลดภาระการผ่อนโดยรวมลง ซึ่งปัจจุบัน ทีเอ็มบีและธนชาตมีโซลูชันที่ลูกค้าสามารถนำมาใช้ตามคอนเซปต์ การรวมหนี้ ได้แก่ สินเชื่อทีเอ็มบี บ้านแลกเงิน และสินเชื่อธนชาตไดรฟ์ รถแลกเงิน ที่จะช่วยลดดอกเบี้ย ลดค่างวด และเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าได้
“โควิด–19 ทำให้คนที่เป็นหนี้และสถาบันการเงินตระหนักถึงปัญหาที่ซ่อนไว้ ซึ่งถูกเร่งออกมาชัดเจนเร็วขึ้น ทำให้เห็นว่างานที่มั่นคงก็ไม่แน่นอน คนที่มีหนี้อยู่แล้วก็เป็นหนี้หนักขึ้น คนที่ยังไม่เคยเป็นหนี้และไม่เคยวางแผนเพื่อจะเป็นหนี้ ก็กลับเป็นหนี้ครั้งแรก แต่ไม่อยากให้สิ้นหวัง ทุกอย่างมีทางออกเสมอ จุดเริ่มต้นที่ดีคือ การเข้าไปปรึกษาธนาคาร และสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองผ่านความรู้เรื่องการวางแผนทางการเงิน ทีเอ็มบีและธนชาต ต้องการที่จะปลดล็อกบทบาทของธนาคาร เพื่อที่จะช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น (Financial Well-being) ให้คนไทยทั้งประเทศ เราอยากเป็นเหมือนคู่ชีวิตของลูกค้า เมื่อมาอยู่ด้วยกันแล้วชีวิตของลูกค้าจะต้องดีขึ้นในระยะยาว มีสุขภาพการเงินที่ดีไปด้วยกัน นี่คือความหมายของความยั่งยืน หรือ การเป็น Sustainable Banking” นายปิติกล่าวทิ้งท้าย