HomeInsight“กินเจ” ปีนี้หงอยกว่าเดิม! ผลวิจัยชี้ ผู้บริโภคปลี่ยน กินเจแค่บางมื้อ คุมค่าใช้จ่าย

“กินเจ” ปีนี้หงอยกว่าเดิม! ผลวิจัยชี้ ผู้บริโภคปลี่ยน กินเจแค่บางมื้อ คุมค่าใช้จ่าย

แชร์ :

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิจัยเผยพฤติกรรมผู้บริโภคกินเจ ปี 2563 เทศกาลกินเจ เป็นอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญที่แบรนด์และนักการตลาดหันมาทำกิจกรรมทางการตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ไม่เฉพาะแค่ผู้สูงวัยเท่านั้น แต่ยังขยายวงกว้างมายังกลุ่มคนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น ในแต่ละปีจึงมีเม็ดเงินใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มหมุนเวียนเป็นจำนวนไม่น้อย แต่จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจซบเซา อีกทั้งค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นและหลายคนประสบปัญว่างงาน ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจพฤติกรรมคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลกินเจปี 2563 พบว่า การใช้จ่ายอาจจะไม่คึกคักเมื่อเทียบกับปีก่อน และมีการปรับพฤติกรรมการกินเจโดยควบคุมค่าใช้จ่ายมากขึ้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โควิด-เศรษฐกิจทำพิษ ทำคนกินเจลดลง

จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ในช่วงเทศกาลกินเจระหว่างวันที่ 17-25 ตุลาคม 2563 นี้ คนกรุงเทพฯ ที่สนใจเข้าร่วมกินเจในปีนี้ มีสัดส่วนอยู่ที่ 63.0% ของกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ ซึ่งถือว่าลดลงเมื่อเทียบกับเทศกาลกินเจปีก่อน ที่มีผู้สนใจเข้าร่วม 66.7% ขณะที่กลุ่มที่เข้าร่วมกินเจส่วนใหญ่ในปีนี้ จะกินเจไม่ครบทั้ง 9 วัน โดยจะกินเพียงบางมื้อ คิดเป็นสัดส่วน 64.6% ของผู้ที่กินเจทั้งหมด

โดยกลุ่มที่กินทุกมื้อปรับงบประมาณลงจาก 105 บาทต่อมื้อในปีที่ผ่านมา เหลือเฉลี่ย 100 บาทต่อมื้อ และสำหรับกลุ่มที่กินเจบางมื้อ ปรับลดลงจาก 100 บาทต่อมื้อ เป็น 92 บาทต่อมื้อ คิดเป็นงบประมาณเฉลี่ยต่อมื้อที่ลดลงประมาณ -5.9% โดยวิธีการคุมค่าใช้จ่ายผู้บริโภคจะเลือกเมนูร้านอาหารที่ไม่แพงคิดเป็น 39.7% ตามด้วยการลดกับข้าวต่อมื้อลง 22.2% ลดวันจำนวนมื้อ 17.5% และอื่นๆ 20.6%

เทศกาลกินเจ

บรรยากาศเทศกาลกินเจ

สำหรับช่องทางซื้ออาหารเจที่คนกรุงเทพฯ เลือกเป็นลำดับแรกในปีนี้คือ ร้านค้าแผงลอย/ริมทาง/ตลาดสด คิดเป็น 30.1% จากช่องทางทั้งหมด ซึ่งต่างจากปีก่อนที่นิยมซื้ออาหารจากที่ร้านมาทานเป็นลำดับแรก สอดคล้องกับผลสำรวจที่พบว่า ปัจจัยที่คนกินเจจะใช้เลือกช่องทางการกินเจในปีนี้ นอกจากความหลากหลาย และการหาซื้อสะดวก การให้น้ำหนักต่อปัจจัยด้านราคายังมีสูงกว่าปีก่อน ซึ่งร้านค้าแผงลอย/ริมทางหรือในตลาดสด ค่อนข้างตอบโจทย์คนกินเจภายใต้สภาวะการณ์นี้

กลยุทธ์ราคาอาหาร สอดรับ “พฤติกรรมคนกินเจ” เปลี่ยน

จากผลสำรวจพฤติกรรมการเข้าร่วมเทศกาลกินเจดังกล่าว ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าตลอดช่วงเทศกาลกินเจปี 2563 คนกรุงเทพฯ จะใช้จ่ายประมาณ 3,930 ล้านบาท หดตัว 17.4% โดยเป็นการปรับลดลง ทั้งในฝั่งของจำนวนผู้เข้าร่วม รวมถึงค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อมื้อที่ลดลง

สำหรับกลยุทธ์การตลาดสำหรับผู้ประกอบการอาหารเจในปีนี้ ​ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า นอกจากการบริหาร ระดับราคาอาหารเจให้มีความแตกต่างกับอาหารทั่วไปไม่มาก รวมถึงไม่แตกต่างกับราคาของปีก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจและกำลังซื้อ ขณะเดียวกัน ควรปรับกลยุทธ์การตลาด ให้สอดคล้องกับกลุ่มคนกินเจดั้งเดิมและกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีพฤติกรรมการกินเจที่แตกต่างกัน เพื่อเข้าถึงความต้องการผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ ได้มากขึ้น

เพราะฉะนั้น หากแบรนด์และนักการตลาดต้องการจับตลาดคนรักสุขภาพในช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ ก็ต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันเช่นกัน

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like