HomeSponsoredAddVentures เบื้องหลังผู้ทรานส์ฟอร์ม SCG สู่โลก Digital ได้สำเร็จ

AddVentures เบื้องหลังผู้ทรานส์ฟอร์ม SCG สู่โลก Digital ได้สำเร็จ

แชร์ :

ในช่วงเวลาไม่ถึง 5 ปีมานี้ เกิดปรากฏการณ์ Technology Disruption ทุกอุตสาหกรรม ทุกกลุ่มธุรกิจทั่วโลก ทำให้เกิด Business Model ใหม่ และ Player รายใหม่ โดยเฉพาะที่เป็น Tech Company มากมาย เข้ามาสร้างภูมิทัศน์ทางการแข่งขัน และการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างออกไปจากเดิม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

องค์กรธุรกิจที่จะดำรงอยู่ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ที่มีเทคโนโลยีเป็นแกนสำคัญนั้น จึงต้องทำ Digital Transformation” ในรูปแบบต่างๆ ทั้งเพื่อสร้างการเปลี่ยนผ่านภายในองค์กร ควบคู่ไปกับการแสวงหา New S-curve เพื่อสร้างการเติบโตใหม่

ที่สำคัญในโลกยุคดิจิทัล โมเดลธุรกิจที่จะได้การตอบรับจากตลาด ต้องสามารถสร้าง “3 Win” นั่นคือ Win แรก “องค์กร/แบรนด์” Win ที่สอง “พาร์ทเนอร์” ที่ร่วมกันสร้าง Business Ecosystem Win ที่สาม “ลูกค้า” ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าแบบ B2B หรือลูกค้าแบบ B2C (End Customer)

ในกระแส Technology Disruption ต่างมองกันว่าองค์กรใหญ่ มักจะขยับตัวช้า เพราะด้วยขนาดขององค์กร และจำนวนคน แต่มุมมองเช่นนั้นไม่เป็นจริงเสมอไป! เพราะหนึ่งในองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจนในการทำ Digital Transformation คือ SCG” ด้วยการจัดตั้ง AddVentures” บริษัทในรูปแบบ Corporate Venture Capital (CVC) ทำหน้าที่มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับ SCG และเป็น Open Innovation Space ให้กับสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี (Tech Startup) ที่จะต่อยอดสู่การเป็นพาร์ทเนอร์ในอนาคต ภายใต้แนวคิด you innovate, we scale”

มาดูกันว่าตลอดระยะเวลา 4 ปีของการตั้ง AddVentures by SCG” ได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง และสามารถสร้าง Win-Win Solutions ให้กับทั้งองค์กร SCG ตัวสตาร์ทอัพเอง – พาร์ทเนอร์ธุรกิจ และลูกค้าได้อย่างไร พร้อมทั้งแผนยุทธศาสตร์ในปี 2021

ลงทุนใน 16 สตาร์ทอัพ และ 5 กองทุน สร้างผลลัพธ์ความร่วมมือได้ทุกราย

ถึงวันนี้เป็นเวลา 4 ปีแล้วสำหรับ AddVentures by SCG ได้ลงทุนในสตาร์ทอัพ 16 ราย (Direct Investment) และ 5 กองทุน (VC Fund) ครอบคลุมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน​ สหรัฐอเมริกา และยุโรป ภายใต้งบลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ 3,000 ล้านบาท ภายในช่วง 5 ปีแรก

อย่างในปี 2020 ถึงแม้เจอกับสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้เดินทางไม่ได้ แต่ AddVentures ยังคงลงทุนในสตาร์ทอัพ 4 ราย และ 1 กองทุน ประกอบด้วย

Janio” สตาร์ทอัพด้าน Cross Border Logistic Platform จากสิงคโปร์ ตอบโจทย์ผู้ประกอบการรายย่อย ที่ต้องการส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ​ หรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ปัจจุบัน Janio เริ่มขยายไปในหลายประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งขณะนี้ AddVentures” อยู่ระหว่างศึกษาว่าจะนำ “Janio” ขยายมาที่เมืองไทย ด้วยการร่วมมือกับ SCG Logistics

Printerous” สตาร์ทอัพด้านแพ็กเกจจจิ้งที่อินโดนีเซีย ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ SME ที่ขายสินค้าบน e-Marketplace เพราะทำให้ผู้ประกอบการสามารถ Customize และทำ Template กล่องบรรจุภัณฑ์ในดีไซน์ของตนเองได้

Tanihub” สตาร์ทอัพด้าน Agriculture Marketplace รองรับทั้งตลาด B2B และ B2C ที่ทำให้เกษตรกร และผู้ซื้อมาเจอกัน

Bizongo” สตาร์ทอัพด้านแพลตฟอร์มบรรจุภัณฑ์จากอินเดีย ที่ผ่านมามีลูกค้ารายใหญ่ เช่น Amazon ในอินเดียใช้แพลตฟอร์มนี้ และล่าสุดได้ทำ Collaboration กับ SCG Packaging ซึ่งต่อไปจะมีโปรเจคความร่วมมือต่างๆ ด้วยกัน

“การลงทุนในสตาร์ทอัพของ AddVentures เราใช้เวลาพิจารณาเลือกลงทุนกับสตาร์ทอัพ เนื่องจากเรามอง Strategic First ดังนั้นภายใต้ Portfolio สตาร์ทอัพที่เราเข้าไปลงทุน โปรดักต์ของเขา ต้องสามารถ Synergy กับกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในเครือ SCG ได้ เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจ ทั้งในวันนี้ หรือในอนาคต 3 – 5 ปีข้างหน้า อีกทั้งเรายังได้ประเมิน Financial ของสตาร์ทอัพ โดยสตาร์ทอัพแต่ละรายจะมี KPI, OKR แตกต่างกัน

ขณะที่ในฝั่งสตาร์ทอัพ สามารถใช้ Network ของ SCG ที่มีในประเทศต่างๆ ทั้งไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อขยายฐานธุรกิจเข้าไปยังประเทศนั้นๆ

เพราะฉะนั้นถึงแม้การลงทุนในสตาร์ทอัพ เป็นการลงทุนที่เล็กกว่าเวลา SCG ทำ M&A แต่เรามองว่าการลงทุนในสตาร์ทอัพ จะสามารถสร้างบางสิ่งบางอย่างให้เกิด Impact ขึ้นได้ และนับตั้งแต่ AddVentures ลงทุนในปีแรก ถึงวันนี้ ไม่มี Lost ของการลงทุน (0% Lost) โดยสตาร์ทอัพทุกรายมีการทำ Collaborate เป็น Win-Win Solutions ด้วยกัน” ดร.จาชชัว แพส ผู้อำนวยการ Corporate Innovation Office, เอสซีจี เล่าถึงการลงทุนในสตาร์ทอัพของ Addventures

ทางด้าน คุณดุสิต ชัยรัตน์ Corporate Venture Capital Fund Manager of AddVentures by SCG ขยายความเพิ่มเติมว่า สตาร์ทอัพที่ AddVentures จะเข้าไปลงทุน ต้องมีศัยกภาพที่ดี ประกอบด้วย

1. อยู่ในตลาดที่ใหญ่ เป็นตลาดที่มีการเติบโต และขนาดของ Market Pain Point ใหญ่

2. Business Model และโปรดักต์ของสตาร์ทอัพรายนั้นๆ มีความแตกต่าง และพิจาณาถึงโมเดลการสร้างรายได้

3. ศึกษาผู้ก่อตั้ง และนักลงทุนที่ลงทุนไปรอบก่อนหน้านั้น เนื่องจากสตาร์ทอัพใน Stage แรกๆ หัวใจสำคัญอยู่ที่ผู้ก่อตั้ง และนักลงทุน เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้เวลาในการศึกษา – ตรวจสอบอย่างรอบคอบ เนื่องจากหากมีความร่วมมือกันเกิดขึ้น ต่อไป Business Unit ในเครือ SCG ต้องเป็นพาร์ทเนอร์ หรือลูกค้าของสตาร์ทอัพรายนั้นๆ

ขณะที่ฝั่ง “กองทุน” (Funds) ปัจจุบันลงไปแล้ว 5 กองทุน เช่น Wavemaker และ Vertex อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Softbank ในญี่ปุ่น และเกาหลีใต้, China Renaissance เป็นกองทุนใหญ่ที่ประเทศจีน และ Silicon Valley Bank (SVB) ที่สหรัฐฯ​ ซึ่งข้อดีของการลงทุนในกองทุน ทำให้ AddVentures ขยายเข้าไปในแอเรียใหม่ โดยไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์

ทำความรู้จัก “Ignitor” โปรแกรมแก้ Pain Point ธุรกิจในเครือ SCG

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว AddVentures” ได้ทำโปรแกรม Ignitor” เพื่อเป็นฟันเฟืองสำคัญอีกส่วนของการทำ Digital Transformation ภายในองค์กร SCG

Ignitor ทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” เชื่อมต่อระหว่าง “300 กว่าบริษัท” ในเครือ SCG ซึ่งประสบกับปัญหาบางอย่างในกระบวนการทำธุรกิจ หรือกระบวนการทำงาน กับ “สตาร์ทอัพ” จากทั่วโลก ที่มีเทคโนโลยีพร้อมใช้งานได้จริง มาแก้ Pain Point ที่แต่ละธุรกิจในเครือ SCG ประสบอยู่ รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้กับธุรกิจต่างๆ ในเครือ SCG

อย่างไรก็ตามหัวใจสำคัญของการทำโปรแกรม Ignitor ไม่ใช่แค่ค้นหา และสร้างความสัมพันธ์กับสตาร์ทอัพข้างนอกในฐานะพันธมิตรธุรกิจ เพื่อนำเทคโนโลยีมาช่วยเหลือกับเคสจริงที่กำลังประสบอยู่เท่านั้น หากแต่อยู่ที่ ท่ามกลาง Pain Point มากมาย ทางทีมที่ดูแลโปรแกรมนี้ต้องเลือกโจทย์ หรือปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขปรับปรุงได้อย่างถูกต้อง

“เป้าประสงค์ของโปรแกรม Ignitor ทำขึ้นเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับ Business Unit ในเครือ SCG เพราะฉะนั้น หน่วยธุรกิจของ SCG ที่มีกว่า 300 บริษัท ถือเป็นลูกค้าของเรา

อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหา หรือ Pain Point ที่มากมายนั้น ความยากของ Ignitor จึงอยู่ที่การเลือกปัญหาที่ถูกเรื่อง มาแก้หรือเปล่า โดยเราต้องช่วยธุรกิจต่างๆ ในเครือ Redefine ว่าปัญหานี้ เป็นปัญหาที่น่าสนใจ ควรต้องแก้ไข” คุณดุสิต เล่าถึงหัวใจสำคัญของโปรแกรม Ignitor

ดังนั้น Ignitor มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่า Pain Point ไหนควรต้องได้รับการแก้ไข ประกอบด้วย

1. Impact ของปัญหา

2. Speed การแก้ปัญหา ต้องสามารถดำเนินการ และเห็นผลเบื้องต้นภายใน 3 – 6 เดือน

3. Authority ของหน่วยธุรกิจที่เป็นเจ้าของปัญหานั้นๆ สามารถดำเนินการตัดสินใจกระบวนการต่างๆ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

“สำหรับสตาร์ทอัพจากข้างนอกที่มาเป็นพาร์ทเนอร์กับเรา จะได้เบเนฟิตจากโปรแกรม Ignitor เช่นกัน นั่นคือ ได้ Business Unit ในเครือ SCG เป็นลูกค้า ขณะเดียวกันได้ชื่อ SCG ไปเป็น Reference พอร์ตโฟลิโอของเขา และถ้าร่วมมือกันแล้ว เจอโอกาสที่ดี อาจต่อยอดความร่วมมือในลักษณะ Business Collaboration เช่น ทำ Codevelopment บางสิ่งบางอย่างร่วมกัน หรือทำ Joint Venture เพื่อขยายตลาดใหม่ด้วยกัน”

สำหรับประเภทเทคโนโลยีที่โปรแกรม Ignitor นำมาใช้ในการแก้ปัญหา และเพิ่มโอกาสสร้างรายได้มากขึ้นให้กับหน่วยธุรกิจในเครือ SCG เช่น AI & Data Analytics, Digital Marketing, Robotics & Drone, Omni-channel Enablement Tech, IoT, Process/Product Improvement, Advanced Cold Chain Logistics, Reduced/Reused & Recycled Tech

จากการรวบรวม Pain Point ที่หน่วยธุรกิจต่างๆ ได้ส่งเข้ามาที่โปรแกรม Ignitor ภายในปีนี้ มี 55 โครงการ ในจำนวนนี้มี 32 โครงการถูกพัฒนาให้เป็น Proof-of-Concept (กรรมวิธีทดสอบการแก้ไขปัญหาในระดับทดลอง) และขยายผลไปยังธุรกิจอื่นๆ ในองค์กร

Addventures คาดการณ์ว่า การนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในหน่วยงานต่างๆ ของ SCG จะสามารถช่วยสร้างผลกำไรเพิ่มเติมได้ถึง 1,000 ล้านบาทใน 3 5 ปีข้างหน้า

กรณีศึกษา “AddVentures” สร้าง Business Solution ให้พาร์ทเนอร์ และลูกค้า

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ถึงประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับจากการจัดตั้ง AddVentures by SCG ทั้งการลงทุนในสตาร์ทอัพ และการทำโปรแกรม Ignitor

เช่นกรณีศึกษาการเข้าไปลงทุนใน Printerous” สตาร์ทอัพด้านแพ็กเกจจจิ้งที่อินโดนีเซีย โดย AddVentures” เล็งเห็นแล้วว่าสตาร์ทอัพรายนี้มีศักยภาพ และสามารถสร้าง Win-Win Solutions ให้กับทั้ง SCG ตัวสตาร์ทอัพเอง และลูกค้า หรือผู้ใช้งานแพลตฟอร์มนี้

โมเดลธุรกิจ Printerous” เป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ Pain Point ด้านบรรจุภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ SME เนื่องจากโจทย์ใหญ่ของการขายสินค้าออนไลน์ ผ่าน e-Marketplace ทั้งหลายนั้น มีการแข่งขันรุนแรง ในขณะที่เงินทุนของผู้ประกอบการ SME ไม่ได้มีมากนัก

ทำให้ที่ผ่านมา การจะสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ผ่านบรรจุภัณฑ์ที่จัดส่งให้ลูกค้า จึงทำได้เพียงซื้อกล่องมาตรฐาน แล้วติดโลโก้แบรนด์ ในขณะที่ถ้าสั่งทำกล่องเฉพาะของตนเอง ก็จะทำให้ต้นทุนธุรกิจสูงขึ้น

เพราะฉะนั้นในเมื่อ “แพ็กเกจจิ้ง” เปรียบเป็น Silent Salesman ของการสร้างแบรนด์ และการขายสินค้า ดังนั้นการใช้กล่องมาตรฐานทั่วไป และมีโลโก้ จึงไม่สามารถสร้างประสบการณ์ Wow! ให้กับผู้บริโภคปลายทาง (End Consumer) ได้รู้สึกประทับใจ และจดจำในแบรนด์ – สินค้าของ SME รายนั้นๆ

จาก Pain Point ดังกล่าว Printerous” มองเห็นโอกาสธุรกิจ จึงพัฒนาแพลตฟอร์มแพ็กเกจจิ้ง ในฐานะเป็น Aggregator ด้านแพ็กเกจจิ้งบนแพลตฟอร์ม จะรวบรวมโรงงานผลิตจากหลากหลายแห่ง เพื่อทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถ Customize ดีไซน์แพ็กเกจจิ้งได้เอง และ Digitize กระบวนการด้านแพ็กเกจจิ้งได้ทั้งหมด ในต้นทุนที่ถูกลง ในขณะที่ฝั่งโรงพิมพ์ เมื่อมาอยู่บนแพลตฟอร์ม ทำให้มีโอกาสได้ออเดอร์ผลิตบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น ไปเติม Capacity โรงพิมพ์ของตนเอง

“ปัจจุบันในอินโดนีเซีย เรามีความร่วมมือกับ Printerous 2 ลักษณะคือ 1. เชื่อมต่อกับ SCG Packaging ที่อินโดนีเซีย โดยเป็นฝ่ายซัพพลายกล่องให้กับ Pinterous และ 2. SCG ดำเนินธุรกิจหลากหลายในอินโดนีเซีย ดังนั้น SCG เอง ก็เป็นลูกค้าของ Pinterous เช่นกัน

นอกจากนี้ การลงทุนในสตาร์ทอัพรายนี้ เพราะเราเห็นศักยภาพว่าแพลตฟอร์มแพ็กเกจจิ้งรูปแบบนี้ ยังไม่ค่อยมีคนทำเยอะ จึงมองว่าสามารถนำ Pinterous ขยายไปยังประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ซึ่งถ้ามาทำตลาดในไทย โมเดลธุรกิจจะคล้ายกับที่อินโดนีเซีย แต่ไม่เหมือนกันทั้ง 100% เพราะต้องปรับให้เข้ากับบริบท และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ของเมืองไทย”

จะเห็นได้ว่าการลงทุนในสตาร์ทอัพ สร้าง Win-Win Solutions ให้กับทั้ง SCG และ Printerous ที่การจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ AddVentures ช่วยเพิ่มโอกาสขยายฐานตลาด และลูกค้า หรือผู้ใช้งานในกลุ่มผู้ประกอบการ SME ทำให้ได้แพ็กเกจจิ้งที่สามารถสื่อสารแบรนด์ ในต้นทุนการผลิตลดลง

หรือในเคสของโปรแกรม Ignitor” ได้ทดลองนำเทคโนโลยี Omni-channel มาใช้ให้บริการ SCG ที่เวียดนาม หลังจากเจอ Insight ตลาดว่า ในขณะที่ Internet Penetration ของคนเวียดนามอยู่ในอัตราสูง และคนทีนั่นใช้ออนไลน์กันหมด แต่ตลาดรีเทลที่นั่น ยังไม่ตอบโจทย์บริการดิจิทัลให้กับคนท้องถิ่น ดังนั้น SCG เวียดนามอยากจะพัฒนาร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ ที่สามารถให้บริการเชื่อมต่อทั้งหน้าร้าน และออนไลน์

ทางทีม SCG เวียดนาม ได้คุย Pain Point นี้กับทีม Ignitor ว่าอยากทำให้ช่องทางจำหน่ายสินค้าของ SCG ที่เวียดนาม สามารถเข้าไปอยู่ในทุก Customer Journey ของลูกค้า ตั้งแต่สร้างแบรนด์ ไปที่ร้าน หรือซื้อออนไลน์ ไปจนถึงส่งมอบสินค้า และบริการหลังการขาย

ทีม Ignitor จึงเอาเทคโนโลยี Omni-channel Enablement มาปรับใช้กับตลาดที่นั่น เพื่อสร้างประสบการณ์ลูกค้า ให้สามารถเยี่ยมชม และซื้อสินค้าของ SCG ได้ทั้งบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และออฟไลน์ได้อย่างไร้รอยต่อ

หรืออีกเคสของโปรแกรม Ignitor คือ การนำเทคโนโลยี Business Process Automation (BPA) มาเสริมประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร SCG โดยสามารถลดเวลาการทำงานได้จริงกว่า 70% และเวลาที่ได้กลับมา นำไปพัฒนาการให้บริการลูกค้าให้ดีขึ้น

ยุทธศาสตร์ 2021 ขยาย 4 แอเรียใหม่ เพิ่มโอกาสการลงทุน สร้างพาร์ทเนอร์ใหม่

สำหรับยุทธศาสตร์ปี 2021 ของ AddVentures ได้เตรียมขยาย 4 แอเรียใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุน ได้แก่

1. ธุรกิจรูปแบบใหม่ (New Business Model)

AddVentures ยังคงมองหาบริษัทที่มีนวัตกรรมการทำธุรกิจ (Innovation Business Model) เพื่อเข้าไปสนับสนุนเงินลงทุน และเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกันในหลากหลายความร่วมมือ เช่น Joint Venture, Tech Licensing

2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development)

ในขณะที่ SCG มีการวิจัยและพัฒนากันเองภายในอยู่แล้วว (Internal R&D) แต่ในเวลาเดียวกัน ได้เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพที่มีการพัฒนานวัตกรรมน่าสนใจ เข้ามาเสนอไอเดีย เพื่อมองหาความเป็นไปได้ในการเอาผลิตภัณฑ์มาทดสอบ และขยายผลเชิง Commercialize ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผ่านการใช้เครือข่ายคู่ค้าธุรกิจ และความเข้าใจบริบทของธุรกิจในภูมิภาคนี้ ที่ SCG มีความเชี่ยวชาญ

3. พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไป (A Shift of Customer Behaviors)

จากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้ชีวิตบนออนไลน์มากขึ้น เช่น ซื้อสินค้าผ่าน e-Commerce, Social Commerce

จาก Consumer Insight ดังกล่าว จึงเป็นโอกาสที่ AddVentures จะนำเอาระบบปฏิบัติการอัตโนมัติต่างๆ มาใช้งานในทุกช่องทางการขาย เพื่อสร้าง Seamless Experience เชื่อมต่อทั้งออนไลน์ และออฟไลน์เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ ทำให้ไม่ว่าลูกค้าจะซื้อผ่านออนไลน์​ แล้วเลือกมารับสินค้าที่ร้านก็ได้ หรือไปที่ร้าน เพื่อดูสินค้าจริง แล้วสั่งออนไลน์ ให้จัดส่งถึงบ้านก็ได้ ขณะเดียวกันสามารถนำเอา Big Data ที่ได้จากการโต้ตอบกลับลูกค้า มาพัฒนาการให้บริการดียิ่งขึ้น

4. Business Process Automation (BPA)

ปัจจุบันหลายธุรกิจใช้ระบบ BPA เพื่อทำให้การบริหารจัดการงานระบบที่ซ้ำซ้อน ให้ดำเนินการอย่างราบรื่น และลดเวลาการทำงานลง 50 – 70% ทำให้สามารถลดต้นทุน ลดความผิดพลาดที่เกิดจาก Human Error ลงได้ ทั้งยังทำให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถจัดเก็บข้อมูลเชิงลึก เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบต่อไปในอนาคต ตัวอย่างเช่น Automate Document ที่ช่วยลดเวลาการทำงาน ลดต้นทุนการจัดเก็บ และลดความผิดพลาด

“เรายังคงมุ่งมั่นเป็น Open Innovation Space ที่ต้อนรับสตาร์ทอัพในหลาย Vertical ไม่ว่าจะเป็น B2B, Industrial, Enterprise ที่เข้ามาทั้งในรูปแบบพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยี ผ่านทางโปรแกรม Ignitor และรูปแบบ Addventures เข้าไปลงทุน เพื่อในที่สุดแล้ว SCG จะมี Technology Solutions ใหม่ ที่ตอบโจทย์ความต้องการทั้งตลาดในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ดร.จาชชัว สรุปทิ้งท้าย

 


แชร์ :

You may also like