HomeBrand Move !!2021 Year of Food Delivery: วิถีชีวิตปกติใหม่ผู้บริโภค – เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ร้านอาหาร

2021 Year of Food Delivery: วิถีชีวิตปกติใหม่ผู้บริโภค – เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ร้านอาหาร

แชร์ :

Food Delivery

พัฒนาการของ Food Delivery” เป็นหนึ่งในบริการที่อยู่คู่กับธุรกิจร้านอาหารมายาวนานแล้ว แต่ที่ผ่านมาเป็นลักษณะแต่ละร้านอาหารให้บริการเอง และถ้าเป็น Food Delivery ที่ทำในรูปแบบระบบออเดอร์ชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นเชนร้านอาหารขนาดใหญ่ นับตั้งแต่ Call Center มาถึงยุคอินเทอร์เน็ต ได้ขยายช่องทางการสั่งอาหารผ่านออนไลน์

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

กระทั่งการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์ม Super App ที่หนึ่งในนั้นมีบริการ Food Delivery โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น Food Aggregator” รวบรวมร้านอาหาร ทั้งรายเล็กที่เป็นสตรีทฟู้ดทั้งหลาย ขนาดกลาง และเชนร้านอาหารใหญ่มาอยู่บนแพลตฟอร์ม โดยใช้ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในการเป็น Tech Company ที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี และฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก

ทว่าที่ผ่านมาการขยายตัวของบริการ Online Food Delivery เพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่การเกิดขึ้นของสถานการณ์ COVID-19 ในปี 2020 กลายเป็น “ตัวเร่ง” ให้ Food Delivery ทั้ง Own Channel ของร้านอาหารเอง และ Food Aggregator เติบโตอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มดังกล่าวยังคงต่อเนื่องมาถึงปี 2021

Food Delivery Application

ทุกวันนี้ Food Delivery เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนไปแล้ว โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ทั่วโลก และที่สำคัญพลิกโฉม Landscape ธุรกิจร้านอาหารมากมาย

นั่นเพราะโมเดลธุรกิจร้านอาหารต่อจากนี้ ไม่พึ่งพิงการให้บริการรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือช่องทางใด ช่องทางหนึ่งเท่านั้น หากแต่ต้องกระจายความเสี่ยง และสร้างรายได้จาก 4 ขาหลัก คือ

1. รายได้จากบริการ Dine-in หรือบริการนั่งรับประทานภายในร้าน

2. รายได้จากบริการ Take Away หรือซื้อกลับ

3. รายได้จากโมเดล Grab and Go ด้วยการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์กับการซื้อง่าย สะดวก รวดเร็ว

4. รายได้จากบริการ Food Delivery ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง/แพลตฟอร์มของร้านอาหารเอง หรือยอมจ่าย GP ให้กับแพลตฟอร์ม Food Aggregator เพื่อนำร้านไปอยู่ในนั้น ซึ่งจะทำให้ร้านอาหารมีฐานลูกค้ากว้างขึ้น เพิ่มโอกาสการขายมากขึ้น

Grab and Go

ปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารนิยมทำโมเดล Grab and Go เพราะตอบโจทย์ความสะดวก ง่าย และรวดเร็วของผู้บริโภค

Research and Markets รายงานมูลค่าตลาด Online Food Delivery ทั่วโลก

– ปี 2019 มูลค่า 107.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

– ปี 2020 มูลค่า 111.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 3.61% ปัจจัยหลักมาจากสถานการณ์​ COVID-19 ทำให้ผู้คนทั่วโลกใช้บริการ Online Food Delivery มากขึ้น

– ปี 2030 คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาด Online Food Delivery จะเพิ่มขึ้นเป็น 154.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อมองมายังประเทศไทย ปัจจุบัน Food Delivery อยู่ในทิศทางเดียวกันทั่วโลก นั่นคือ เติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งผู้ใช้งาน และผู้ให้บริการ ประกอบด้วยกลุ่มหลักๆ คือ

– กลุ่มเชนร้านอาหารรายใหญ่ เช่น ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป (The Minor Food Group) ซีอาร์จี (CRG) สร้างช่องทางให้บริการ Delivery ของตัวเอง ควบคู่กับการจับมือกับแพลตฟอร์ม Food Aggregator

– แพลตฟอร์ม Food Aggregator ที่ทั้ง Tech Company รายใหญ่จากต่างประเทศ 4 รายคือ Grab, Gojek, LINE MAN, Food Panda และสตาร์ทอัพไทย พัฒนาแพลตฟอร์ม Delivery ด้วยเช่นกัน

– กลุ่มธนาคาร พัฒนาแพลตฟอร์มตอบโจทย์ทั้งธุรกิจร้านอาหาร และผู้ใช้งาน และผู้ใช้งาน เช่น กลุ่ม SCB พัฒนาแพลตฟอร์ม Robinhood ชูจุดเด่นไม่มีค่า GP และ KBTG บริษัทในเครือกสิกรไทย เปิดตัว Eatable บริการสั่งอาหารครบวงจร ทั้ง Dine-in, Dine-out และ Delivery

ส่งให้มูลค่าตลาด Food Delivery ในไทย เป็น Sunrise Market ที่เติบโตทุกปี

SCB Robinhood

แอปพลิเคชัน Robinhood ของกลุ่ม SCB

ข้อมูล Euromonitor และ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานมูลค่าตลาด Food Delivery ในไทยตั้งแต่ปี 2014 – 2024

ปี 2014: 42,000 ล้านบาท

ปี 2015: 45,000 ล้านบาท

ปี 2016: 49,000 ล้านบาท

ปี 2017; 53,000 ล้านบาท

ปี 2018: 58,000 ล้านบาท

ปี 2019: 61,000 ล้านบาท

ปี 2020: 68,000 ล้านบาท

ปี 2021 (คาดการณ์): 74,000 ล้านบาท

ปี 2022 (คาดการณ์): 82,000 ล้านบาท

ปี 2023 (คาดการณ์): 90,000 ล้านบาท

ปี 2024 (คาดการณ์): 99,000 ล้านบาท

ปัจจัยการเลือกใช้แพลตฟอร์ม Food Delivery หลักๆ ผู้บริโภคจะพิจารณาจาก ความเร็วในการจัดส่ง จัดส่งอาหารถูกต้องตามที่ออเดอร์ไป โปรโมชัน และอัตราค่าส่งสมเหตุสมผล คุณภาพบริการของพนักงานจัดส่ง และความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ

Food Delivery LINE MAN

ขณะเดียวกันการเติบโตของ Food Delivery มีผลต่อการปรับเปลี่ยนการออกแบบร้านเข่นกัน เช่น

– ปรับพื้นที่ภายในร้านอาหารเดิม ด้วยการขยาย “พื้นที่ครัว” ใหญ่ขึ้น โดยบางร้านใช้วิธีปรับลดจำนวนที่นั่งในร้านลง พร้อมทั้งจัดสรรสัดส่วนจุดรออาหารชัดเจน

– เปิดร้านขนาดเล็กลง เน้นให้บริการ Food Delivery และ Take Away เป็นหลัก

– ร้านอาหาร และเชนร้านอาหารบางราย เปิด Cloud Kitchen รองรับ Delivery โดยเฉพาะ เพื่อขยายรัศมีการจัดส่งให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น

ดังนั้น แนวโน้มปี 2021 ที่สถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลก รวมทั้งไทยยังไม่คลี่คลาย จึงยังคงเป็นปีทองของธุรกิจ Food Delivery ต่อไปอีก

Grab

 

Source

Credit Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like