HomeCOVID-19ป้องกันโควิด!! กทม. ออกประกาศ “นั่งร้านอาหาร” ได้ 6 โมงเช้า-3 ทุ่ม หลังจากนั้นให้ซื้อกลับ

ป้องกันโควิด!! กทม. ออกประกาศ “นั่งร้านอาหาร” ได้ 6 โมงเช้า-3 ทุ่ม หลังจากนั้นให้ซื้อกลับ

แชร์ :

Credit Proto : facebook prbangkok

หลังจาก ศบค.มีคำสั่ง ประกาศพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) 28 จังหวัด โดยต้องดำเนินการตามมาตรการ 8 ข้อ ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค.2564 เป็นต้นไป ดังนี้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

1.การห้ามใช้อาคารหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค

2.การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค

3.การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค เช่น สถานบันเทิง ผับ บาร์ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด อาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ

4.เงื่อนไขการเปิดดำเนินการของกิจการต่างๆ ในพื้นที่ที่ควบคุมสูงสุด เช่น การอนุญาตให้รับประทานในร้านอาหาร การห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

5.มาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่ คือ พิจารณาสั่งปิดสถานที่เสี่ยงเพิ่ม ตามสถานการณ์

6.การตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด

7.ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณารูปแบบการปฏิบัติงาน เช่น Work from Home ลดการเดินทาง

8.ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายข้อบังคับการใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดโควิด-19 เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น

จากการกำหนดมาตรการ 8 ข้อโดยภาพรวมแล้ว ผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัด สามารถออกประกาศมาตรการควบคุมป้องการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้รายจังหวัดเพิ่มเติมได้ตามสถานการณ์

โฆษก กรุงเทพมหานคร BMA bangkok

ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็น 1 ใน 28 จังหวัดพื้นที่สีแดง ช่วงเช้าวันนี้ (4 ม.ค.) พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19  เพื่อเพิ่มเติมหรือกำหนดแนวทางปฏิบัติในทั้งพื้นที่ทุกเขตของกรุงเทพฯ

จากนั้นเวลา 13.00 น. ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร ได้สรุปแนวทางการเปิดดำเนินการในกลุ่ม “ร้านอาหาร” ทุกประเภท ที่มีที่นั่งรับประทาน รวมทั้งร้านอาหารที่อยู่ในศูนย์การค้า ร้านสตรีทฟู้ด ยังคงให้นั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้ เวลา 06.00-19.00 น. โดยกำหนดมาตรการให้ร้านอาหารต้องให้บริการซื้อกลับบ้าน (take away) เท่านั้น เวลา 19.00-06.00 น. มีผลบังคับใช้เวลา 6.00 น. วันที่ 5 ม.ค.2564

การกำหนดให้ร้านอาหาร “ทุกประเภท” ให้ take away เท่านั้น ตั้งแต่ เวลา 19.00-06.00 น. เพื่อเป็นการ “ลดระยะเวลา” การใช้เวลานั่งรับประทานในร้านอาหาร ลดการรวมกลุ่มสังสรรค์ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ะระบาดโควิด-19 เนื่องจากช่วงหลัง 19.00 น. ผู้บริโภคมีพฤติกรรมใช้เวลานั่งนาน กว่าช่วงอื่นๆ

หลังจากใช้มาตรการกำหนดเวลา ให้ร้านอาหาร  take away  ตั้งแต่ เวลา 19.00-06.00 น. แล้ว สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ยังเพิ่มขึ้น ก็จะพิจารณามาตรการที่เข้มขึ้นอีก แต่หากการติดเชื้อลดลงจะผ่อนคลายมาตรการ

นายกฯ ยกเลิกคำสั่ง กทม. ห้ามนั่งร้านอาหาร 19.00-06.00 น. อนุญาตให้ขายได้ถึง 21.00 น.

วันนี้ (4 ม.ค.) เมื่อเวลา 16.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์หลังการประชุม ศบค. ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยระบุว่า หลังจาก กรุงเทพมหานคร มีคำสั่งให้จัดระเบียบการให้บริการ “ร้านอาหาร” ทุกประเภท ให้นั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้ เวลา 06.00-19.00 น.จากนั้นให้บริการซื้อกลับบ้าน (take away) เวลา 19.00-06.00 น. มีผลบังคับใช้เวลา 6.00 น. วันที่ 5 ม.ค.2564 นั้น

หลังจากได้รับข้อเสนอจากสมาคมภัตตาคารไทย ซึ่งได้รับผลกระทบสูง ดังนั้นได้สั่งให้ กทม. “ยกเลิก” คำสั่งห้ามนั่งร้านอาหาร ตั้งแต่เวลา 19.00-06.00 น. โดยให้มีการขายอาหาร (นั่งในร้าน) ได้ถึง 21.00 น. แต่ต้องมีมาตรการเข้มงวดในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 การกำหนดจำนวนคน มาตรการเว้นระยะห่าง ซึ่งสมาคมภัตตาคารไทย รับประกันว่าสามารถดำเนินการได้ แต่หากผู้ประกอบการไม่สามารถทำตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดได้ก็ต้องถูกปิด

ที่สั่งยกเลิกคำสั่ง กทม.ออกไปก่อนเพราะไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบทางธุรกิจกับผู้ประกอบการร้านอาหาร อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้เตรียมความพร้อมด้านงบประมาณที่ต้องจัดหาเพิ่มเติม รวมทั้งงบประมาณที่มีอยู่ เพื่อเตรียมรับมือกับการดูแลสถานการณ์โควิด-19 ในระยะต่อไปด้วย

กทม. ขยายเวลานั่งทานอาหารที่ร้านได้ถึง 3 ทุ่ม

จากนั้นเมื่อเวลา 18.00 น. วันนี้ (4 ม.ค.) ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการขยายเวลาจำหน่ายและนั่งรับประทานอาหารในร้าน ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า กรุงเทพมหานครเห็นชอบตามมติของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ที่มีมติขยายเวลาจำหน่ายอาหาร เพื่อลดผลกระทบและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนและผู้ประกอบการ

จากเดิมที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร มีมติให้จำหน่ายและนั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้ระหว่างเวลา 06.00-19.00 น. ขยายเวลาเป็น 06.00-21.00 น. ส่วนเวลา 21.00 -06.00 น. ให้เป็นการจำหน่ายอาหารแบบสั่งกลับบ้าน (Take Away) เริ่มวันที่ 5 ม.ค.2564

Credit Photo : facebook เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2564 กทม. ได้ออกประกาศ กำหนด 19 กิจการ “เปิดปกติ” แต่ให้เพิ่มมาตรการคุมเข้ม เฝ้าระวังการแพร่ระบาด อาทิ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ ห้องประชุมในโรงแรม หรือศูนย์ประชุม  ร้านค้าปลีก ค้าส่ง ตลาดนัด ตลาดน้ำ ร้านเสริมสวย คลินิกเสริมความงาม สนามกอล์ฟ สนามกีฬา สวนสาธารณะ เป็นต้น

ร้านอาหาร ภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร โรงอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ “ห้าม”บริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในสถานที่ ให้มีมาตรการคุมเข้มเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ดังนี้

– ทำความสะอาดพื้น ผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังบริการ กำจัดขยะทุกวัน

– ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ สวมหน้ากากอนามัย

– มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

– ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะและระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะห่างระหว่างทางเดิน อย่างน้อย 1 เมตร

– ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการไม่ให้แออัด

– ห้ามบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในสถานที่ขายอาหารหรือเครื่องดื่ม

– มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จามหรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการและผู้ใช้บริการ

– ลดเวลาการทำกิจกรรมให้สั้นลง ลดการใช้เสียงดังในร้านอาหาร

– กรณีจำหน่ายอาหารแบบบุฟเฟต์ให้ปรับรูปแบบการบริการโดยงดการตักอาหารส่วนกลางด้วยตนเอง งดใช้อุปกรณ์ร่วมกัน

– จัดให้มีระบบคิวและพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืนห่างอย่างน้อย 1 เมตร


แชร์ :

You may also like