นับเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้วที่โลกต้องปั่นป่วนวุ่นวายจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้วิถีชีวิตและพฤติกรรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิมมาก จนเกิดเป็นนิยามใหม่ที่เรียกกันติดปากว่า New Normal หรือความปกติใหม่ และกว่าที่โลกจะกลับสู่สภาวะปกตินั้น คงต้องใช้เวลากันอีกสักพักทีเดียว ขณะที่พฤติกรรมบางอย่างก็อาจเปลี่ยนไปตลอดกาล ทำให้แบรนด์ต้องเร่งปรับตัวเพื่ออยู่ให้รอดท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
ออโต้บอท ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยในยุคที่ไวรัสร้ายโควิด-19 ยังคงอยู่ เพื่อให้แบรนด์และองค์กรธุรกิจเตรียมความพร้อมรับมือกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปได้อย่างเท่าทัน โดยพบพฤติกรรมที่น่าสนใจ 3 ประเด็น ดังนี้
1.ให้ความสำคัญกับชีวิตภายในบ้านมากขึ้น
ในช่วงเวลาปกติ ผู้คนมักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่นอกบ้านเพื่อออกไปทำงาน ไปโรงเรียน หรือทำกิจกรรมสังสรรค์ต่างๆ และจะกลับมาอยู่บ้านเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 จนภาครัฐต้องออกมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมาเพื่อยับยั้งการระบาด ส่งผลให้ผู้คนต้องใช้เวลาอยู่บ้านมากกว่าปกติ
การอยู่บ้านมากขึ้นจึงทำให้เกิดความสนใจในการดูแลความเรียบร้อย และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในบ้านให้ดูน่ารื่นรมย์เพิ่มมากขึ้น จนเกิดเทรนด์ การแต่งบ้านให้สวยงามน่าอาศัย จากการที่หลายๆ คนต้องใช้สมาธิไปกับการเรียนและการทำงานภายในบ้านเกือบทั้งวัน ทำให้การตกแต่งพื้นที่อยู่อาศัยให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย มีลูกเล่น และสร้างความผ่อนคลาย เป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสำคัญ รวมถึงการปลูกต้นไม้เพื่อตกแต่งบ้าน การหาเฟอร์นิเจอร์สวยๆ มาประดับห้อง และการบริหารพื้นที่จัดเก็บภายในบ้านขึ้น ขณะเดียวกัน คนไทยยังห่วงเรื่องสุขอนามัย แม้อยู่ในบ้าน ทำให้มองหาวิธีดูแลตนเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ หนึ่งในนั้นก็คือ การทำความสะอาดพื้นที่ภายในบ้านและฟอกอากาศเพื่อสร้างความอุ่นใจ
2.เทคโนโลยีต้องตอบโจทย์ความสะดวกสบายและช่วยลดภาระ
สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคต้องทำกิจกรรรมและติดต่อกับโลกภายนอกผ่านช่องทางดิจิทัลและอินเตอร์เน็ตมากขึ้น อีกทั้งมีหลายเรื่องให้ต้องทำในแต่ละวัน ทำให้ผู้บริโภคมองหาเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาช่วยลดภาระและเสริมความสะดวกสบายให้กับชีวิตมากขึ้น จนทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคยึดติดกับการพึ่งพาความชาญฉลาด ความรวดเร็ว และความสะดวกสบายทันใจของเทคโนโลยี จนเกิดเป็น Lazy Economy หรือ เศรษฐกิจของคนขี้เกียจ ที่กลายมาเป็นช่องทางการตลาดเพื่อตอบรับกับความขี้เกียจของคนมากขึ้น
จะเห็นได้จากพฤติกรรมการช้อปปิ้งและการซื้อของใช้ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคที่หันมาจับจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์สูงขึ้น สะท้อนได้จากอัตราการเติบโตของสินค้าออโต้บอท ประเภทหุ่นยนต์ดูดผุ่น และเครื่องฟอกอากาศมีอัตราการเติบโตบนช้อปปี้ ที่สูงขึ้นถึง 2 เท่า และ 3 เท่าตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 โดยปัจจุบันการช้อปปิ้งออนไลน์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประชำวันของผู้คนไปแล้ว และจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เพราะตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบาย และการขนส่งรวดเร็ว เพียงอยู่บ้านก็สามารถรับสินค้าได้
3.ประสบการณ์การใช้งานแบบไร้การสัมผัส
อีกหนึ่งพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากโควิด-19 คือ การใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการสัมผัสสิ่งของต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธนบัตร เนื่องจากโควิด-19 เป็นเชื้อที่สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการสัมผัสเชื้อโรคเข้าสู่ดวงตาและริมฝีปาก ทำให้ผู้บริโภคหันมาทำธุรกรรมและชำระเงินแบบไร้เงินสดมากขึ้น จนกลายเป็นพฤติกรรมแบบ Contactless หรือประสบการณ์การใช้งานแบบไร้การสัมผัส โดยพฤติกรรมนี้ยังคงอยู่กับผู้บริโภคต่อไป และยังคงมองหาเทคโนโลยีที่ช่วยให้สัมผัสกับสิ่งของได้น้อยลงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณของพฤติกรรมผู้บริโภคที่แปรเปลี่ยนไปหลังการมาของโควิด-19 ที่แบรนด์และธุรกิจต้องเรียนรู้ และปรับตัวให้ทัน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุด
Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand