HomePR News“เพียว ออร์แกนิคฟาร์ม” จากฟาร์มผักออแกนิค สร้างแบรนด์อาหารคลีน แปรรูปน้ำสมุนไพร พลิกมูลค่าให้ธุรกิจ [PR]

“เพียว ออร์แกนิคฟาร์ม” จากฟาร์มผักออแกนิค สร้างแบรนด์อาหารคลีน แปรรูปน้ำสมุนไพร พลิกมูลค่าให้ธุรกิจ [PR]

แชร์ :

นครินทร์ บุญรอด (อาร์ต) เจ้าของเพียว ออร์แกนิคฟาร์ม

จากวิศวกรไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปัจจุบันได้ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกร ทำเกษตรออร์แกนิค นครินทร์เล่าว่าจริงๆ แล้วเขาไม่มีพื้นฐานทางการเกษตรมาก่อนเลย แต่ก็ได้เริ่มต้นสนใจการเกษตร เนื่องจากว่าคุณแม่ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ เขาจึงตระหนักถึงอาหารที่ปลอดภัย และได้มีโอกาสไปเลือกซื้อสินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพให้คุณแม่ จนพบว่ามันมีหลากหลายมาก ทั้งผักออร์แกนิค ผักไฮจีนิค ผักไฮโดรโปนิกส์ จนสุดท้ายแล้ว นครินทร์จึงตัดสินใจว่า ควรทำเกษตรออร์แกนิคด้วยตนเอง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“พอได้มาลงมือทำการเกษตรเอง พบว่างานเกษตรจริงๆ มีอุปสรรคเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น ดินฟ้าอากาศ เรื่องของศัตรูพืชจนไปถึงราคาของผลผลิตที่ไม่สามารถกำหนดเองได้ เราก็เลยคิดว่า จะทำอย่างไรที่จะสามารถกำหนดราคาเองได้ เราก็เลยมุ่งเน้นในเรื่องของการทำแบรนด์ เพื่อให้เกิดการจดจำของลูกค้า และก็มีการแปรรูปมาเป็นอาหารคลีนพร้อมทาน และส่งเดลิเวอร์รี่ให้ลูกค้าได้ทั่วทั้งกรุงเทพฯ และเราก็ยังมีการแปรรูปสมุนไพรที่เราปลูกอยู่ในฟาร์มของเราเอง นำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร วางขายในห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต”

สำหรับเครื่องดื่มสมุนไพรนั้น นครินทร์ได้นำเอาสูตรตำรับยาหม้อโบราณจากกิจพิทักษ์โอสถ ซึ่งเป็นสูตรลับของคุณยายของเขา มาปรับเปลี่ยนรสชาติให้ทานได้ง่าย และไม่ใส่น้ำตาลในเครื่องดื่มเลย แต่ใช้สารสกัดจากหญ้าหวานแทน เหมาะสำหรับคนที่ต้องการดูแลสุขภาพ

หลังจากที่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ และทดลองจัดจำหน่ายให้ลูกค้า ปรากฏว่าลูกค้ามีความสนใจมาก ทำให้นครินทร์ต้องเพิ่มกำลังการผลิต จึงต้องมองหาแหล่งเงินทุน จากที่ไม่เคยสนใจ ธ.ก.ส. เลย วันหนึ่งนครินทร์ได้ไปเจอโบรชัวร์ของ ธ.ก.ส. และได้เห็นว่า จุดประสงค์ของทางธนาคารตรงกับที่เขาต้องการพอดี จึงได้ถือโบรชัวร์นั้นเดินเข้าไปที่ ธ.ก.ส.

ทินภัทร ไชยช่วย หัวหน้าหน่วยอำเภอ ธ.ก.ส. สาขามีนบุรี “ลูกค้ารายนี้นะครับ คือเขาได้เห็นสื่อประชาสัมพันธ์สินเชื่อของ ธ.ก.ส. แล้วเกิดความสนใจที่จะขอสินเชื่อ เพื่อนำไปสนับสนุนธุรกิจของเขา คุณอาร์ตก็เลยเข้ามาปรึกษากับทาง ธ.ก.ส. สาขามีนบุรี เพื่อหาแนวทางที่จะเพิ่มศักยภาพในการผลิต ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด”

กรีฑา พิมพาหุ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขามีนบุรี “กรณีของคุณอาร์ต โปรเจคของเขามีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากสินค้า คือเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นที่ต้องการของตลาด เราเห็นว่า คุณอาร์ต เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาต่อยอดธุรกิจของตนเองให้ประสบความสำเร็จได้ในอนาคต เราจึงแบ่งงานกัน ในส่วนของพนักงานพัฒนาธุรกิจ เพื่อรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการ”

นงเยาว์ เปี่ยมธนสมบัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักสินเชื่อผู้ประกอบการ ธ.ก.ส. “ด้วย ธ.ก.ส. เห็นว่าลูกค้ารายนี้มีโอกาสทางด้านการตลาด และมีโอกาสที่จะทำกิจการให้มีกำไรในปีต่อๆ มาได้ เราก็ขอลดหย่อนคุณสมบัติของลูกค้าในเบื้องต้นกับทางธนาคาร เพื่อให้ธนาคารรับขึ้นทะเบียนลูกค้า ด้วยคุณสมบัติข้อที่ลูกค้าเป็น Start-up และ New Gen และก็มีนวัตกรรม เทคโนโลยีอยู่ในกระบวนการกิจการของลูกค้า”

“ในเคสของผมก็ได้รับความอนุเคราะห์จากพี่ๆ ของ ธ.ก.ส. ครับ พี่ๆ เขาได้ช่วยผลักดัน และให้คำปรึกษาในส่วนของการปรับแผนธุรกิจ จนเราได้รับอนุมัติสินเชื่อก้อนนี้ครับ” นครินทร์ กล่าว

นครินทร์ยอมรับว่าในตอนแรกเขามองว่า ธ.ก.ส. เป็นธนาคารของชาวนาเพียงอย่างเดียว และให้ชาวนากู้เงินเพื่อไปทำนาเท่านั้น “เราไม่ได้มองเลยว่า ธ.ก.ส. จะเกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างไรได้นะครับ แต่พอได้มาเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. จริงๆ เรารับรู้ได้เลยว่า ที่นี่ “ไม่ใช่แค่ธนาคาร” แต่ยังเป็นที่ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องของการดำเนินธุรกิจด้วย แล้วก็พาเราก้าวข้ามผ่านการเป็นเกษตรกรมาเป็นผู้ประกอบการได้ด้วย เรียกได้ว่า มี ธ.ก.ส. อยู่แล้วเนี่ย เกษตรกรจะมีความอุ่นใจมากขึ้นเลยครับ”

“การที่ได้มาทำเกษตร ณ จุดนี้ มันเกิดความภาคภูมิใจอยู่ข้างในครับ ต้องขอบคุณโอกาสดีๆ ที่เราได้ทำอาหารดีๆ ให้กับครอบครัวได้ทานก่อน จนปัจจุบันนี้เราได้ทำอาหารเพื่อสุขภาพให้กับลูกค้า จนเรามองว่า สิ่งที่เราทำอยู่ตรงนี้ไม่ใช่แค่เพื่อคนในครอบครัวของเราเองแล้ว แต่เรายังสามารถทำสิ่งที่อยู่ตรงนี้ให้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการได้ด้วย”

 


แชร์ :

You may also like