HomeBrand Move !!7 ข้อแนะนำการสื่อสารแบรนด์และแนวทางการทำธุรกิจในสถานการณ์ฉุกเฉิน “เมียนมาร์”

7 ข้อแนะนำการสื่อสารแบรนด์และแนวทางการทำธุรกิจในสถานการณ์ฉุกเฉิน “เมียนมาร์”

แชร์ :

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ชีวิตของชาวเมียนมาร์กว่า 55 ล้านคนเปลี่ยนไป เมื่อกองทัพประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและเข้ายึดอำนาจอย่างเป็นทางการ  อีกทั้งยังควบคุมตัวผู้นำพรรครัฐบาลเมียนมาร์ที่ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งระบุว่าเป็นการชนะอย่างถล่มทลายเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สนามบินต่างๆ ถูกปิดให้บริการ มีการจำกัดการเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต ส่วนธนาคารต่างๆ ระงับการให้บริการชั่วคราว

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ท่ามกลางกระแสข่าวมากมาย เพื่อทำความเข้าใจและรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมา “วีโร่” (VERO) เอเยนซี่ด้านประชาสัมพันธ์และดิจิทัล ที่มีสำนักงานในไทย เมียนมาร์ และประเทศต่างๆ ในอาเซียน ได้ออกคำแนะนำ 7 ข้อแนวทางการสื่อสารแบรนด์และการทำธุรกิจภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมาร์ ดังนี้

1. ให้แบรนด์และธุรกิจเอาใจใส่และเห็นอกเห็นใจกลุ่มเป้าหมายของตนให้มากขึ้นกว่าเดิมผ่านการสื่อสารทุกรูปแบบ

2. หากแบรนด์มีพนักงานในเมียนมาร์ ให้ทุ่มเทเวลาและทรัพยากรต่างๆ ในการช่วยเหลือพนักงานให้สามารถรับมือและผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้ เช่น การสร้างช่องทางต่างๆ สำหรับการติดต่อสื่อสารในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องอื่นๆ ตามมา และวางจุดยืนขององค์กรในสถานการณ์ปัจจุบันให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

3. แบรนด์ควรงดเว้นกิจกรรมหรือแคมเปญต่างๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เนื่องจากขณะนี้ไม่ใช่เวลาที่เราควรให้ความสำคัญกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการถูกเข้าใจผิดว่าเป็นองค์กรที่ปิดหูปิดตาไม่ให้ความสนใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

4. แบรนด์ควรมีความระมัดระวังในการติดตามตรวจสอบภาพลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึงควรมีการเตรียมแผนงานด้านการปกป้องภาพลักษณ์ของแบรนด์เอาไว้ ขณะนี้มีข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับแบรนด์ต่างๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับกองทัพเผยแพร่ต่อๆ กันไปเป็นวงกว้าง ดังนั้น การชี้แจงถึงความเป็นอิสระและปลอดจากการเมืองจึงจำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์เช่นนี้

5. แบรนด์ควรตรวจสอบย้อนหลังไปถึงประวัติการติดต่อหรือความสัมพันธ์กับรัฐวิสาหกิจของเมียนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อประเมินว่าการติดต่อครั้งนั้นจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงขององค์กรหรือไม่

6. แบรนด์ควรพิจารณาอย่างรอบคอบเป็นกรณีๆ ไปเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถหรือไม่สามารถสื่อสารกับประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้า เนื่องจากหลายคนมองว่าแบรนด์ต่างๆ ควรมีจุดยืนของตนเอง ซึ่งในบางกรณีก็อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นสถานการณ์ที่แต่ละแบรนด์เผชิญอยู่มีความเฉพาะเจาะจงที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ในกรณีที่มีประเด็นปัญหาสำคัญ จุดยืนที่แบรนด์เลือกจึงจำเป็นต้องเป็นจุดยืนที่แบรนด์มีแผนสำรองเตรียมรับมือเอาไว้แล้วอย่างดี

7. แบรนด์และองค์กรต่างๆ ที่สามารถช่วยเหลือประชาชนในประเทศนี้ได้ ควรมองหาลู่ทางในการให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่ขาดแคลน

สำหรับสถานการณ์ในเมียนมาปัจจุบันมีข้อมูลบางอย่างที่ค่อนข้างชัดเจนแล้วได้แก่

– ธุรกิจต่างๆ ต่างหยุดชะงักเพื่อเฝ้ารอดูสถานการณ์ ซึ่งประชาชนในเมียนมาร์เข้าใจดีในเรื่องนี้ แต่สำหรับธุรกิจหรือผู้ที่อยู่ต่างประเทศ มีความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือและตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

– บริการอินเทอร์เน็ตในขณะนี้ยังสามารถใช้งานได้แต่ไม่เสถียร และมีความเป็นไปได้ที่จะถูกระงับสัญญาณได้ทุกเมื่อ โดยในวันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศได้บล็อกการเข้าถึง Facebook และแม้ว่ารัฐบาลใหม่จะออกมาระบุว่าจะบล็อกจนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ แต่คาดว่าอาจมีการบล็อก Facebook ที่นานกว่านั้น โดยคำสั่งบล็อกดังกล่าวถือเป็นการประกาศสถานะใหม่สำหรับการสื่อสารในเมียนมาร์ ซึ่งอำนาจทางการเมืองสามารถใช้ตัดสินใจเพื่อเปิดหรือปิดช่องทางการสื่อสารและแหล่งข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของประเทศได้

– การให้บริการธนาคารและเอทีเอ็มต้องหยุดชะงักไปเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และได้กลับมาเปิดให้บริการตามปกติตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา แต่อาจยังคงถูกระงับได้ทุกเมื่อเช่นเดียวกับบริการอินเทอร์เน็ต

กองทัพได้ประกาศว่าจะงดเที่ยวบินภายในประเทศหรือระหว่างประเทศจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม และเพิกถอนการอนุญาตทางการบินทั้งหมด

– สื่อท้องถิ่นไม่สามารถรายงานเหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าจะถูกตอบโต้จากทางรัฐบาล เบื้องต้นคาดว่าจะส่งผลให้ความคืบหน้าใหม่ๆ ในการรายงานข่าวล่าช้าออกไป นักข่าวและอินฟลูเอนเซอร์มีความเสี่ยงที่จะถูกตั้งข้อหา โดยเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ มีรายงานว่ากระทรวงสารสนเทศได้ออกแถลงการณ์เตือนสื่อและประชาชนห้ามเผยแพร่ข่าวลือหรือปลุกระดมความไม่สงบ

– อินฟลูเอนเซอร์บนโลกออนไลน์หลายรายได้ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เริ่มมีการจัดตั้งกลุ่มอารยะขัดขืนผ่าน Facebook ซึ่งเป็นช่องทางออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเมียนมา เมื่อวันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ มีรายงานว่าโรงพยาบาล 28 แห่ง ใน 18 เมือง ได้ประกาศหยุดงานประท้วง เมื่อวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ มีรายงานว่าวิศวกร 71 คน รวมตัวกันลาออกจากบริษัทโทรคมนาคมของรัฐ นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าพนักงานของห้องแล็บสุขภาพแห่งชาติของเมียนมา (NHL) และกรมอาหารและยาจะเข้าร่วมรณรงค์ด้วย ซึ่ง NHL เป็นศูนย์วิจัยหลักด้านโควิด-19 ในเมียนมา และอาจทำให้กระบวนการตรวจวิเคราะห์เชื้อต้องหยุดชะงัก

– นักข่าวต่างประเทศยังคงสามารถรายงานสถานการณ์ที่พบเห็นได้ โดยส่วนใหญ่เป็นการรายงานผ่านทาง Twitter ดังนั้น จึงควรติดตามผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวระดับโลกที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อรับข้อมูลล่าสุดอย่างต่อเนื่อง

– มีรายงานความเป็นไปได้ว่า ช่องทางการสื่อสารอย่างเป็นทางการบนโซเชียลมีเดียของรัฐบาลชุดที่ถูกโค่นล้มไป ได้ถูกยึดโดยกลุ่มการเมืองฝั่งตรงข้าม ซึ่งกำลังใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องมือต่อต้านรัฐบาลชุดเก่า

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like