HomeBrand Move !!ผูกขาดการค้า? FTC ชี้ดีล 7-eleven ควบ Speedway ในสหรัฐอเมริกาอาจผิดกฎหมาย

ผูกขาดการค้า? FTC ชี้ดีล 7-eleven ควบ Speedway ในสหรัฐอเมริกาอาจผิดกฎหมาย

แชร์ :

7-11 eleven

จะซื้อกิจการใครสักคน บางทีก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีกรณีของ Seven & I Holdings เจ้าของ 7-eleven ที่ซื้อกิจการของ Speedway ธุรกิจร้านสะดวกซื้อและสถานีบริการน้ำมันภายใต้การบริหารจัดการของ Marathon Petroleum ในสหรัฐอเมริกาไปแล้วเรียบร้อยด้วยมูลค่า 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่กลายเป็นว่าการควบรวมครั้งนี้ยังไม่สามารถจบลงได้อย่างสวยงาม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เหตุที่บอกว่าไม่ได้จบลงอย่างสวยงามมาจากการที่ Rebecca Slaughter ผู้บริหารระดับสูงของ FTC หรือ Federal Trade Commission สหรัฐอเมริกา ออกมาระบุว่า จะมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมของการควบรวมกิจการอีกครั้ง เนื่องจากมีประเด็นเรื่องการผูกขาดทางการค้าที่ FTC กังวล

“เรามีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า การควบกิจการครั้งนี้ผิดกฎหมายภายใต้ Section 7 of the Clayton Act และ Section 5 of the Federal Trade Commission Act ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเรื่องความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจปั๊มน้ำมัน และธุรกิจค้าปลีกที่มีอยู่หลายร้อยแห่งทั่วประเทศ”

การควบรวมกิจการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2020 ที่ผ่านมา และมีการประกาศอย่างเป็นทางการจากตัวแทนของ Marathon Petroleum ซึ่งเป็นเจ้าของเชนปั๊มน้ำมัน Speedway และ Seven & I Holdings เจ้าของ 7-eleven เมื่อวันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2021 ว่าดีลดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว

กว่าจะมีวันนี้ Speedway ก็ควบกิจการมาไม่น้อย

โดยก่อนหน้านี้ แบรนด์ Speedway คือชื่อของเชนสถานีบริการน้ำมันในสหรัฐอเมริกาขนาดกลาง ๆ แห่งหนึ่งที่ถูกซื้อโดย Marathon Petroleum ในปี ค.ศ. 1959

ภายใต้แบรนด์ Speedway ที่บริหารโดย Marathon Petroleum พวกเขาวางโพสิชันตัวเองเป็นสถานีบริการน้ำมันแบบ Self-Service บวกกับการมีร้านสะดวกซื้อรวมอยู่ด้วย ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับความนิยม และมีการขยายธุรกิจออกไปทั่วเขตมิดเวสต์ และทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก กว่าที่ Speedway จะใหญ่โตจนมีสาขากว่า 3,800 แห่ง ใน 36 รัฐอย่างทุกวันนี้ บริษัทก็ได้ผ่านการควบรวมกิจการเชนสถานีบริการน้ำมันรายเล็กรายน้อยเข้ามามากมาย เช่น GasAmerica, Starvin’ Marvin, Gastown, Wake Up, Bonded, United, Cheker, Port, Ecol และ Value

เพียงแต่การควบรวมกิจการกับ Seven & I Holdings บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นไม่ได้จบลงแบบเดียวกับการควบรวมกิจการครั้งก่อนหน้า โดยสิ่งที่ FTC ให้ความเห็นก็คือ พวกเขาเชื่อว่าการควบรวมกิจการครั้งนี้ผิดกฎหมาย ในประเด็นเรื่องการผูกขาดทางการค้า ขณะที่ตัวแทนจาก 7-eleven กล่าวชี้แจงว่า พวกเขาได้รับอนุญาตให้ควบรวมกิจการได้อย่างถูกต้อง และมีการทำงานร่วมกับ FTC มาอย่างต่อเนื่อง

นี่จึงอาจเป็นจุดเริ่มต้นของมหากาพย์การควบกิจการเรื่องใหม่ที่เราต้องติดตามตอนต่อไปกันอย่างใกล้ชิด

Source

Source

 


แชร์ :

You may also like