HomeSponsoredSC Asset x Vulcan Coalition ดึงพรสวรรค์ “ผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็น” เป็น AI Trainer ปั้น “RueJai Home OS”

SC Asset x Vulcan Coalition ดึงพรสวรรค์ “ผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็น” เป็น AI Trainer ปั้น “RueJai Home OS”

แชร์ :

หลายคนอาจจะไม่เคยทราบว่า ปัจจุบันผู้พิการทั่วประเทศไทยมีอยู่กว่า ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้พิการทางสายตาประมาณ แสนคน และได้รับการจ้างงานราว หมื่นคน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ยังน้อยอยู่มาก และเมื่อมองมาที่การจ้างงาน จะพบว่ารูปแบบส่วนใหญ่มักเป็นการสงเคราะห์ผ่านการส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ ทำให้เมื่อการสงเคราะห์หยุดลง ความช่วยเหลือต่างๆ ก็หยุดไปด้วย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นี่จึงเป็นที่มาของโครงการ AI Data Crowdsourcing for Disability  ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง SC Asset  และ  Vulcan Coalition  ธุรกิจเพื่อสังคมในการพัฒนา AI   โดยผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็น เพื่อร่วมกันสร้างโอกาสให้พวกเขาเหล่านี้  ได้แสดงศักยภาพในตัวเอง รวมถึงสร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน ซึ่งเบื้องหลังความร่วมมือครั้งนี้มีที่มาอย่างไร และนวัตกรรมจากมีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นออกมาเป็นอย่างไร Brand Buffet มาฟังคำตอบจาก คุณดิเรก ตยาคี Head of Living Solutions บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC Asset  และ คุณนิรันดร์ ประวิทย์ธนา Chief Business Officer Vulcan  Coalition ไปพร้อมๆ กัน

ดาต้า สายงานที่ผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นเจ๋งกว่า แต่ยังขาดโอกาส

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล นอกเหนือจากความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแล้ว สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยังมีความสำคัญไม่น้อย เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้ไม่ใช่แค่เปลี่ยนเร็ว แต่ยังมีความต้อง การหลากหลาย  ธุรกิจจึงต้องมี   ปัญญาประดิษฐ์ หรือ “AI” เข้ามาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค  เพื่อให้เข้าใจความต้องการและสามารถออกหมัดการตลาดได้ตรงใจมากขึ้น

แต่เมื่อพูดถึงการพัฒนา AI ในไทย คุณนิรันดร์ ยอมรับว่า ยังเติบโตค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยสาเหตุหลักๆ มาจากการขาด ข้อมูล” หรือ “Data” ที่ดีในการนำมาใช้งานได้จริง เพราะข้อมูลที่มีอยู่ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลดิบ ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ เพราะการที่จะพัฒนา AI  ให้มีความสามารถรอบรู้ทุกสิ่งและแข่งขันได้ในโลก จำเป็นต้องได้รับการป้อนข้อมูลมหาศาล  ที่มีการจัดระเบียบแล้ว  เพื่อให้ AI  จดจำและนำไปเรียนรู้ต่อ  แต่การจะจัดระเบียบข้อมูลเหล่านี้  ต้องอาศัยคนที่มีทักษะในการจัดเตรียมข้อมูล หรือ Data Labeler ซึ่งก็พบว่าที่ผ่านมาในบ้านเรามีคนที่มีทักษะด้านนี้น้อยมากเช่นกัน

เราพบงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า ผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นมีศักยภาพในการทำข้อมูลเสียงได้ดีกว่าคนปกติหลายเท่า จึงทดสอบกับน้องๆ กลุ่มหนึ่ง โดยให้ผู้พิการจับคู่ Text กับ Voice เข้าดัวยกัน เพื่อเทรน AI ให้เรียนรู้ภาษาไทย พบว่า พวกเขาสามารถจัดการข้อมูลเสียงได้มีคุณภาพกว่ากลุ่มคนทั่วไป เพราะถึงแม้ผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นจะมองไม่เห็น แต่ก็ได้รับ Skill พิเศษกลับคืนมา โดยสมองจะเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน โยกส่วนที่ทำหน้าที่มองเห็น (Visual Cortex) ไปใช้ในส่วนของการได้ยิน (Auditory Cortex) แทน จึงทำให้เนื้อสมองส่วนการได้ยินของเขาดีกว่าคนปกติ

คุณนิรันดร์ บอกถึงศักยภาพของผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าคนปกติ แต่ในสังคมมักมองข้าม โอกาสการทำงานในสายงานดาต้าจึง น้อย” มาก ส่วนใหญ่มักจะได้รับการจ้างงานที่เกี่ยวกับการงานธุรการ ประสานงาน เช่น ชงกาแฟ หรือเป็นการสงเคราะห์ผ่านการส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการแทน ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ไม่ยั่งยืน เพราะไม่ได้ดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวพวกเขามาใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งเมื่อการให้หยุดลง ความช่วยเหลือก็หยุดตามไปด้วย

การจะนำผู้พิการทางสายตามาทำงานดาต้ายังมีโจทย์ยากหลายอย่าง โดยเฉพาะการออกแบบแพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถจัดการข้อมูลเสียงเหล่านั้นได้ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ ศึกษาพฤติกรรมของพวกเขาว่ามีการทำงานอย่างไร

คุณนิรันดร์ ให้เหตุผลที่องค์กรต่างๆ มีการจ้างงานผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นทำงานดาต้าน้อย และเป็นจุดเริ่มต้นของ Vulcan Coalition ขึ้นมา บริษัทพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สัญชาติไทย เพื่อช่วยให้ผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นได้ค้นพบศักยภาพตัวเอง และได้แสดงความสามารถในการทำงานอย่างเต็มที่ จนกระทั่งได้มาเจอกับ SC Asset ผู้พัฒนา Living Solutions ซึ่งกำลังมองหา AI เพื่อมาต่อยอดการพัฒนาแอปพลิเคชั่นรู้ใจ (RueJai App) ให้ตอบโจทย์ความเป็นอยู่และดูแลความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยในโลกยุคใหม่ให้กับลูกบ้านมากขึ้น

เราได้สำรวจความต้องการของลูกบ้านเพิ่มเติม หลังจากพัฒนา Home Automation และติดตั้งในบ้านลูกค้ามาประมาณ ปี โดยเริ่มจากฟีเจอร์ Scene เพื่อช่วยให้การอยู่อาศัยของทุกคนสะดวกสบายขึ้น โดยเมื่อออกจากบ้าน เพียงกดปุ่ม Scene ระบบก็จะปิดไฟในบ้าน และเปิดระบบรักษาความปลอดภัยในบ้านทันที โดยพบว่าลูกบ้านส่วนใหญ่สนใจเรื่องการสั่งงานด้วยเสียง เราจึงคุยกับทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เพื่อนำ AI มาในใช้ในการพัฒนาการบริการ ซึ่ง DEPA ได้แนะนำให้รู้จักกับ Vulcan Coalition” คุณดิเรก เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือกันในครั้งนี้

โมเดลต้นแบบที่ไม่ใช่แค่สร้างรายได้ แต่สร้างความยั่งยืนให้ผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็น

แม้ว่าการพัฒนา AI ในไทยยังช้า แต่เมื่อพูดถึงผู้พัฒนา AI ด้าน Home Automation ถือว่ามีจำนวนไม่น้อย ซึ่ง คุณดิเรก บอกว่า ก่อนหน้านี้ SC Asset ได้ศึกษาและพูดคุยกับผู้พัฒนาหลายราย แต่พบว่า Vulcan Coalition มีความแตกต่างจากผู้พัฒนารายอื่น คือ นอกจากจะเป็นผู้พัฒนา AI ตัวแรกที่พัฒนาโดยผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นแล้ว โมเดลทางธุรกิจยังน่าสนใจ โดยเปลี่ยนจาก การจ้างงานคนพิการที่บริษัทต้องจ่ายเงินเข้ากอง ทุนเป็นประจำ มาเป็น “การจ้างงานคนพิการโดยตรง” เพื่อจัดเตรียมข้อมูล และหากข้อมูลเหล่านั้นถูกนำไปสร้างรายได้ กลุ่มผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นจะได้รับรายได้แบบ Revenue Sharing ที่ เพราะมองว่าเป็นโมเดลที่ยั่งยืน ทุกฝ่ายต้องได้ประโยชน์ โดยผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นสามารถเลี้ยงชีพได้ ส่วนบริษัทก็ได้สิทธิ์ในการใช้ AI ที่ผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นพัฒนาขึ้น จึงจับมือกับ Vulcan Coalition  พัฒนาโปรเจคที่ชื่อว่า  AI Data Crowdsourcing for Disability

“SC Asset ไม่เพียงแต่สร้างโอกาสให้เขามีรายได้ แต่ยังทำให้ผู้พิการเห็นคุณค่าในตัวเอง และถ้าเราสามารถสร้าง  AI ที่ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นจะทำให้กลุ่มผู้พิการที่หลายคนเคยคิดว่าเป็นปัญหาทางสังคมกลายมาเป็นผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมของประเทศได้  และเมื่อพวกเขายกระดับ AI ให้เกิดขึ้นได้ จีดีพีของประเทศก็จะเติบโตขึ้น

‘RueJai Home OS” ที่พัฒนาโดยผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็น

หลายคนอาจจะยังนึกภาพการทำงานดาต้า  ของผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นไม่ออก เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น  คุณนิรันดร์ ขยายความให้ฟังว่า ปกติการพัฒนา AI ให้ประสบความสำเร็จ หลักๆ จะประกอบด้วย องค์ประกอบคือ AI Scientist หรือคนสร้างโมเดลในการให้ AI เรียนรู้ และ AI Trainer ผู้ทำหน้าที่จัดระเบียบข้อมูลต่างๆ โดยผู้พิการสายตาจะทำหน้าที่เป็น AI Trainer หากเปรียบให้เข้าใจง่ายๆ คือ ทำหน้าที่เป็นคนจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ให้เข้าใจง่าย โดยป้อนข้อมูลเสียงทั้งหมดลงไป เพื่อให้ AI เข้าใจภาษามนุษย์ ก่อนจะนำข้อมูลส่งต่อไปให้ AI Scientist เพื่อพัฒนา AI Model และออกมาเป็นนวัตกรรมต่างๆ

โดยนวัตกรรมที่จะเกิดจากการพัฒนาโดยผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นคุณดิเรก บอกว่า ในเฟสแรกจะเป็นนวัตกรรมการสั่งงานด้วยเสียง แบบ Home Automation ไม่ว่าจะเป็น การเปิดปิดไฟ เปิดปิดเครื่องปรับอากาศ รวมถึงสามารถระบุอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ต้องการได้ และเปิดปิดระบบกันขโมย จากนั้นในเฟสต่อไปจะเป็นการเชื่อมต่อกับฟีเจอร์ RueJai Smart Pulse เพื่อเป็นชีพจรของบ้าน ซึ่งลักษณะจะคล้ายๆ กับการใส่ Apple Watch ให้กับบ้าน ทำให้ผู้อยู่อาศัยตรวจดูได้ว่าตอนนี้ใช้ไฟไปเท่าไหร่ แถมยังคอยแจ้งเตือนเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น โดยตอนนี้อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล คาดว่าจะนวัตกรรมต่างๆ จะออกมาให้บริการประมาณไตรมาส นี้

จริงๆ เราหวังว่าให้ RueJai พัฒนา AI เป็นเหมือนผู้ช่วยในบ้านที่สามารถช่วยเหลือลูกบ้านได้ เช่น สามารถที่จะเรียนรู้ที่จะคุยกับลูกบ้านในการแจ้งปลุก แจ้งเตือน หรือแม้กระทั่งการดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้าน เช่น ต้องตรวจซ่อมระบบประปาวันนี้ หรือ แจ้งเตือนว่าต้มน้ำอยู่ และอีก นาทีน้ำเดือด เมื่อน้ำเดือดก็จะส่งเสียงแจ้งให้ปิดแก๊สด้วย เพราะผมมองว่าอนาคต AI จะเริ่มเก่งขึ้น ไม่ใช่แค่แปลภาษาแล้วทำตามคำสั่ง แต่จะเป็นการเริ่มจับสภาพแวดล้อม และ Take Action เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยสบายใจและสะดวกสบายมากขึ้น ตื่นเช้ามาในทุกๆ วันแล้วเกิดความรู้สึกที่ดีอยู่เสมอ” คุณดิเรก บอกถึงเป้าหมายของการพัฒนา AI โดยผู้พิการทางสายตาในระยะยาว

ต่อยอด AI ไทยก้าวสู่เวทีโลก

ปัจจุบัน Vulcan Coalition มีผู้พิการทั้งหมด 200 คน แบ่งเป็น AI Trainer ที่เป็นผู้บกพร่องทางการมองเห็นประมาณ 100 คน อีก 25 คนเป็นผู้บกพร่องทางการได้ยิน และ 75 คนเป็นผู้บกพร่องทางการเคลื่อนไหวโดยคุณนิรันดร์ ตั้งเป้าจะเพิ่ม AI Trainer ให้ได้ 2,000 คนในปีหน้า เพราะเมื่อถึงจุดนั้นจะทำให้ไทยมีคนทำดาต้า และมีปริมาณข้อมูลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ AI ไทยก้าวไปข้างหน้ามากขึ้น

หากดูจาก AI Trainer ที่ใหญ่ที่สุดในโลกตอนนี้ จะพบว่ามีคนทำงานด้านดาต้าประมาณ 50,000 คน  เราก็อยากจะสร้าง AI Trainer ให้ถึง 50,000 คนภายใน ปีเช่นกัน เพราะถ้าเรามีปริมาณข้อมูลมาก ก็จะทำให้เราทัดเทียมกับคู่แข่งในต่างประเทศได้มากขึ้น และถึงวันนั้นเราก็อาจจะได้เห็น AI ไทยไปไกลในเวทีโลกได้เช่นกัน

แม้ว่า  จุดเริ่มต้นของความร่วมมือในครั้งนี้  จะมาจากความต้องการ  ในการพัฒนาบริการที่รู้ใจ  เพื่อให้ทุกคนในบ้านไม่ต้องกังวลใจและมีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดี แต่ผลลัพธ์จากความร่วมมือดังกล่าวสามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไปพร้อมกัน เพราะช่วยสร้างอาชีพให้กับผู้มีภาวะบกพร่องทางการมองเห็นอย่างยั่งยืน และยังช่วยให้การพัฒนา AI  ไทยก้าวไปข้างหน้า  ที่สำคัญยังส่งผลให้สมาชิก SC Asset  มีความผูกพันในแบรนด์  เกิดเป็นนวัตกรรมที่ตรงใจลูกบ้าน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละ คุณดิเรก  บอกว่า เป็นหัวใจสำคัญ  ที่จะทำให้โครงการของ  SC Asset   แตกต่าง และหลุดออกจากกรอบเดิมๆ  ที่มุ่งแข่งกันด้วยทำเล ดีไซน์ และสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน


แชร์ :

You may also like