Techsauce เปิดตัวเลขการลงทุนในสตาร์ทอัพไทย พบปี 2021 เกิดแล้วทั้งสิ้น 13 ดีล คิดเป็นมูลค่า 24.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 759 ล้านบาท โดย 5 หมวดที่มีการลงทุนมากที่สุดคือกลุ่มสตาร์ทอัพด้าน Logistics/ecommerce, Fintech, HealthTech, Edtech และ Food/AgriTech
ขณะที่ตัวเลขการลงทุนในปี 2020 ที่ผ่านมา พบว่ามีดีลเกิดขึ้นทั้งสิ้น 30 ดีล คิดเป็นมูลค่าการลงทุนที่ 364.37 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 11,430 ล้านบาท ซึ่งปี 2020 ยังถือเป็นปีที่ประเทศไทยมีมูลค่าการลงทุนในสตาร์ทอัพสูงที่สุดในรอบ 9 ปีที่ทางแพลตฟอร์ม Startup Directory ของ Techsauce มีการเก็บข้อมูลมาเลยทีเดียว (แพลตฟอร์ม Startup Directory เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2012 – ปัจจุบัน และสามารถอัปเดตข้อมูลได้แบบเรียลไทม์)
มูลค่าการลงทุนลดลง?
ขณะที่สถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า มูลค่าการลงทุนมีแนวโน้มลดลงนับตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา (อ้างอิงจากรายงาน e-Conomy SEA 2020) โดยรูปแบบการลงทุนนั้น หลัก ๆ อยู่ในกลุ่มยูนิคอร์น 47% และกลุ่มอื่น 53% (ตัวเลขในช่วงครึ่งปีแรกของ 2020)
เมื่อแยกมองในแต่ละสเตจจะพบว่า การระดมทุนในกลุ่ม Early Stage (Seed, Series A, Series B) นั้นมีจำนวนมากที่สุด หรือคิดเป็น 95% ของดีลที่เกิดขึ้น
รายงานของ e-Conomy SEA 2020 ยังระบุด้วยว่า นักลงทุนมีการเลือกลงทุนมากขึ้น โดยเน้นไปที่สตาร์ทอัพที่สามารถเติบโตแบบยั่งยืน และสามารถทำกำไรได้ รวมถึงมีการเลือกลงทุนในสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในยุค Covid-19 เช่น สตาร์ทอัพที่พัฒนาระบบโลจิสติกส์ หรือสตาร์ทอัพที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ดียิ่งขึ้น ฯลฯ
สำหรับประเทศไทย ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า เม็ดเงินลงทุนไม่ได้ไหลเข้ามามากนัก เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย หรือสิงคโปร์ ซึ่งคุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้
ขาดคน ปัญหาใหญ่วงการสตาร์ทอัพ
ข้อมูลจากรายงาน e-Conomy SEA 2020 ระบุไว้ด้วยว่า หนึ่งในปัจจัยที่จะขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ “คนทำงานที่ยังขาดทักษะที่จำเป็น” ซึ่งต้องได้รับการ Reskill และ Upskill อย่างเร่งด่วน
เช่นเดียวกับการสำรวจของ Techsauce ที่ทำการสำรวจนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่จำนวน 115 คนว่าทำไมพวกเขาถึงหางานได้ยากขึ้น โดยพบว่า 37% เจอปัญหาขาดทักษะที่จำเป็นต่
ทั้งนี้ ในช่วงปี 2020 – 2022 ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานระบุว่า ประเทศไทยมีบัณฑิตจบใหม่มากกว่า 250,000 คนต่อปี การพัฒนาบัณฑิตจบใหม่ให้มีศักยภาพมากพอสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลก็อาจเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างการเติบโต ในจุดนี้ Techsauce จึงมีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม ConNEXT สำหรับเชื่อมต่อคนรุ่นใหม่สู่ตลาดแรงงาน ซึ่งภายในแพลตฟอร์คลังข้อมูล องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ตำแหน่งงานที่น่าสนใจ และจะมีการจัดกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ให้กับคนรุ่นใหม่ก่อนเข้าสู่โลกแห่งการทำงานด้วย
“จากแผนที่วางไว้ Techsauce ตั้งใจเป็นสะพานเชื่