ในช่วง Pandemic ที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าฝั่งสินค้า Consumer Electronics เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตสูงมาก เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานจากระยะไกล (Remote Work) เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดความแออัดของผู้คน และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ Covid-19 ลงได้
อย่างไรก็ดี การเติบโตของวงการเทคโนโลยีไม่ได้มีแต่ฝั่งสินค้า Consumer Electronics เท่านั้น เพราะในฝั่งองค์กร (Enterprise) ก็มีสัญญาณที่ชี้ว่า พวกเขาต้องการโซลูชันด้านคลาวด์ – ปัญญาประดิษฐ์เพิ่มขึ้นไม่ต่างกัน
เห็นได้จากข้อมูลของ GrandviewResearch ที่คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาด High Performance Computing หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า HPC (คอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผลระดับสูง มักพบได้ในสถาบันการศึกษา – สถาบันวิจัยทางการแพทย์ – ธุรกิจประกันภัย – ภาคอุตสาหกรรม) กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่าตลาดนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 53,600 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2027 เช่นเดียวกับมูลค่าตลาดโซลูชันด้าน AI ที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นเป็น 997,770 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2028
คนกลุ่มไหนที่สนใจโซลูชันระดับไฮเอนด์
จากการเปิดเผยของคุณณัฐวรรณ ตะเภาน้อย ผู้จัดการอาวุโสกลุ่มผลิตภัณฑ์เอ็นเตอร์ไพรส์และคอมเมอร์เชียล บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด ระบุว่า ความต้องการคอมพิวเตอร์ และโซลูชันระดับไฮเอนด์นั้น หลัก ๆ อยู่ในกลุ่ม
- สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยทางการแพทย์ สถาบันการเงิน ธุรกิจประกันภัย ภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มมัลติมีเดีย
มหาวิทยาลัยไทยมีห้องแล็บ 30 ห้อง?
หนึ่งในตัวอย่างที่ผู้บริหารเอเซอร์ คอมพิวเตอร์ยกให้เห็นภาพก็คือ สถาบันการศึกษา ที่ในอดีต แต่ละคณะต่างมีห้องแล็บของตัวเอง ทำให้บางมหาวิทยาลัยมีห้องแล็บมากถึง 30 ห้อง ซึ่งเมื่อนักศึกษาของคณะไม่ได้มาเรียน คอมพิวเตอร์ในห้องก็เกิดการสูญเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพราะคณะอื่นมาใช้เรียนด้วยไม่ได้
แต่โซลูชันด้าน AI และ Cloud สามารถเปลี่ยนให้ห้องแล็บหนึ่งห้องสามารถใช้งานร่วมกันได้หลายคณะ และทำให้มหาวิทยาลัยสามารถใช้ประโยชน์จากห้องแล็บได้อย่างเต็มที่มากขึ้น (ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาคณะใดมาเรียนก็โหลดโปรแกรมที่คณะนั้น ๆ ต้องใช้มาจากคลาวด์ ทำให้ห้องแล็บห้องหนึ่งสามารถแบ่งกันใช้ได้คุ้มค่ามากขึ้น)
หรือในช่วงเสาร์อาทิตย์ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้เปิดการเรียนการสอน ก็สามารถนำห้องแล็บไปเปิดคอร์ส หารายได้เข้ามหาวิทยาลัยเพิ่มเติมได้อีกทางหนึ่ง
แต่การจะทำเช่นนั้นได้ ต้องมีโซลูชันด้านคลาวด์ และ HPC เข้ามาช่วย นั่นทำให้ทางเอเซอร์ คอมพิวเตอร์ มองว่าเป็นโอกาสที่จะเปิดตัวแบรนด์สำหรับเจาะตลาดองค์กรอย่างเป็นทางการ ในชื่อ อัลทอส คอมพิวติ้ง (Altos Computing) โดยแบรนด์ดังกล่าวจะโฟกัสใน 3 โซลูชันที่ตลาดองค์กรต้องการ นั่นคือ HPC, Cloud Computing และ AI
ปัจจุบัน โซลูชันดังกล่าวของอัลทอส คอมพิวติ้งมีการใช้งานแล้วในสถาบันการศึกษาของไทยหลายแห่ง
เพิ่มรายได้จากฝั่งองค์กร
คุณนิธิพัทธ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด กล่าวว่า “การเปิดตัวแบรนด์ Altos Computing เป็นการต่อยอดกลยุทธ์ Dual Transformation และ Multi-brand ของเอเซอร์ ซึ่งถือเป็นอี
ปัจจุบัน รายได้ของเอเซอร์ คอมพิวเตอร์ มาจาก 2 ส่วน นั่นคือรายได้จากธุรกิจคอนซูเมอร์ 70% และธุรกิจ Enterprise Solution Group อีก 30% ซึ่งอัลทอส คอมพิวติ้งอยู่ในฝั่งนี้ด้วย
แต่จากแนวโน้มความต้องการของฝั่งองค์กรที่เพิ่มขึ้น และการมีกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่ชัดเจน ผู้บริหารเอเซอร์ คอมพิวเตอร์คาดการณ์ว่า สัดส่วนรายได้ของ Enterprise Solution Group จะเพิ่มขึ้นเป็น 40% ภายใน 3 ปี
สำหรับผลประกอบการไตรมาสแรกของ
Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand