HomeCOVID-19ฮาคูโฮโด ชี้ พิษโควิด-19 ระลอก 3 ทำคนไทยคุมเข้มการใช้จ่ายกว่าเดิม หันเล่นหุ้น-บิทคอยน์สูงขึ้น

ฮาคูโฮโด ชี้ พิษโควิด-19 ระลอก 3 ทำคนไทยคุมเข้มการใช้จ่ายกว่าเดิม หันเล่นหุ้น-บิทคอยน์สูงขึ้น

แชร์ :

บิทคอยน์ bitcoin

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กลับมาระบาดเป็นระลอก 3 และกระจายออกไปทุกภูมิภาค จนตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง สร้างความกังวลใจและทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคแปรเปลี่ยนไปอีกครั้ง เพราะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสถานการณ์นี้จะจบลงเมื่อไหร่ และถึงแม้สถานการณ์จะกลับมาดีขึ้น มีการฉีดวัคซีนครอบคลุมในอนาคต แต่ก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นเมื่อไหร่เช่นกัน หนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดตอนนี้คือ การประหยัด อะไรที่สามารถชะลอได้ ก็ชะลอไปก่อน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยล่าสุด “สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย)” และ “สปา-ฮาคูโฮโด” ได้ร่วมกันสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยรอบเดือนมิถุนายน โดยทำการสำรวจผู้บริโภค 1,200 คน จาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้แบรนด์ได้เข้าใจ พร้อมตามให้ทันพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงสถานการณ์นี้

คนไทยกังวลโควิด รัดเข้มขัด-ซื้อของชิ้นใหญ่น้อยลง

คุณชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า การระบาดของโควิด-19 ในระลอกที่ 3 ทำให้ผู้บริโภคในสังคมไทยกลับมาระวังตัวในการใช้จ่ายมากขึ้นเมื่อเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดือนเมษายน 2564 เนื่องจากกังวลเรื่องสภาวะทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การใช้จ่ายโดยรวมลดลง และมุ่งใช้จ่ายในสิ่งที่มีความจำเป็นเท่านั้น นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบแนวโน้มพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยที่น่าสนใจ 2 ประการ ดังนี้

1.สถานการณ์ทำให้ต้องรัดกุม แต่ชีวิตยังต้องเดินหน้าต่อไป

การกลับมาของโควิด-19 ระลอก 3 ทำให้คนไทยลดการใช้จ่าย รัดกุมมากขึ้นเมื่อเทียบกับผลการสำรวจในช่วงเดือนเมษายน 2564  ถึงแม้ว่าจะมีแนวโน้มการใช้จ่ายโดยรวมลดลง แต่ความต้องการพื้นฐานในอาหาร เครื่องดื่ม และของใช้จำเป็นก็เพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้จ่ายค่าน้ำมัน เพื่อออกไปทำงานหารายได้ และมีบางส่วนลดการทานอาหารนอกบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการแพร่ระบาด และเน้นประหยัดค่าใช้จ่าย

โดยแนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายของผู้บริโภคจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อยู่ที่ 54 คะแนน ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อน 2 คะแนน ซึ่งอยู่ที่ 56 คะแนน ขณะที่คะแนนความสุขในปัจจุบันยังคงที่อยู่ที่ 65 คะแนน เท่ากับผลสำรวจครั้งก่อน แต่แนวโน้มความสุขใน 3 เดือนข้างหน้านั้นคาดว่าลดลง เหตุจากความกังวลว่าสถานการณ์อาจยังไม่ดีขึ้น

2.ชะลอของชิ้นใหญ่ แต่ยอมจ่ายเพื่อประโยชน์ รวมถึงความสุขเล็กๆ น้อยๆ

สินค้าที่มีมูลค่าสูง อย่างเครื่องใช้ภายในบ้าน และโทรศัพท์มือถือ ถึงแม้มีแนวโน้มการใช้จ่ายลดลง แต่ยังเป็นที่ต้องการเพื่อนำไปช่วยในการประกอบอาชีพ เช่น ไว้ถ่ายรูปขายของ นอกจากนั้น การได้ช้อปปิ้งเทศกาลลดราคากลางปี ทำให้ได้ซื้อของราคาถูกและเป็นการผ่อนคลายด้วย รวมถึงการซื้อสินค้าเสริมความงามที่มีแนวโน้มใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพื่อพยุงความรู้สึกให้รอดพ้นจากสถานการณ์นี้ไปได้

เปิด 5 สินค้ากำลังซื้อสูงในภาวะรัดเข็มขัด

เมื่อหันมาดูสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อมากที่สุดในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ผลสำรวจพบว่า สินค้าหรือบริการ 5 อันดับที่ผู้บริโภคต้องการมากสุด ได้แก่ อาหาร 28% ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน 16% โทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน 8% เครื่องใช้ภายในบ้าน 6% และผลิตภัณฑ์เสริมความงาม 5%

โดยหากจำแนกพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละภูมิภาค จะพบว่า แนวโน้มความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงภาคกลางและภาคใต้ ส่วนภาคที่มีความต้องการในการใช้จ่ายลดลงได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะภาคตะวันออกที่ลดลงต่ำที่สุดถึง 8 คะแนน มาอยู่ที่ 51 คะแนน จากเดิมที่มีแนวโน้มการใช้จ่ายสูงสุดในผลสำรวจครั้งก่อนที่ 59 คะแนน สาเหตุจากยังมีกักตุนสินค้าคงเหลือเพื่อรองรับฤดูการท่องเที่ยวเมื่อเดือนเมษายน ผนวกกับสถานการณ์โควิดละลอก 3 ที่ต้องประหยัดและจำกัดการเดินทาง

แต่เมื่อแบ่งตามช่วงอายุ ผลสำรวจพบว่า คนกลุ่มอายุ 30-39 ปี มีแนวโน้มชะลอการใช้จ่ายมากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะสินค้าประเภทเสื้อผ้า การท่องเที่ยวในประเทศ และทานข้าวนอกบ้าน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีภาระด้านครอบครัว และยังไม่มีความมั่นคงด้านการเงินเท่ากลุ่ม 40 ปีขึ้นไป

คนไทยหันลงทุน หุ้นคอยน์เพิ่ม

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ประเด็นที่คนไทยให้ความสนใจเพิ่มสูงขึ้นคือ โควิดระลอก 3 สูงถึง 83% เพิ่มขึ้น 59% จากผลสำรวจครั้งก่อน ตามด้วยข่าวด้านการเมืองในประเทศ 4% ที่มีนัยเกี่ยวข้องกัน

แต่ในขณะเดียวกัน ผลสำรวจยังพบพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมามองหาโอกาสใหม่ๆ ในการอยู่รอดในอนาคต อาทิ “วัคซีน” หรือ การมองหาทางเลือกใหม่เพื่อหารายได้เพิ่มในอนาคตอย่าง “การลงทุนในหุ้น” หรือ “Bitcoin” เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


แชร์ :

You may also like