HomeSponsored“JRIT ICHI CYBER MARKET STATION” ตลาดรวม Digital Solution และนวัตกรรม จากญี่ปุ่น

“JRIT ICHI CYBER MARKET STATION” ตลาดรวม Digital Solution และนวัตกรรม จากญี่ปุ่น

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เปิดตัวไปแล้วอย่างยิ่งใหญ่ สำหรับ “JRIT ICHI CYBER MARKET STATION” ตลาดไซเบอร์ออนไลน์ที่ส่งตรงโซลูชันด้านเทคโนโลยีมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนอกเหนือจากการเป็นมาร์เก็ตเพลสด้านไอทีโซลูชันแล้ว ภายในงานยังมีการจัดสัมมนาออนไลน์ หรือ Webinar ให้ความรู้โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในวงการดิจิทัล ถึงทิศทางการทำ Digital Transformation กลไกหลักขับเคลื่อน Digital Economy ของประเทศไทยด้วย

หนึ่งในวิทยากรที่ให้ความรู้ในเวทีดังกล่าวอย่าง ดร.มนู อรดีดลเชษฐ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลได้กล่าวถึง Digital Economy หรือเศรษฐกิจดิจิทัลว่า เป็นนโยบายเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนวางรากฐานการแข่งขันเชิงธุรกิจรูปแบบใหม่ซึ่งจะทำให้ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจก้าวหน้า และสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้

“ประเทศไทยได้ประกาศแผน Digital Thailand ซึ่งการก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้คือการขับเคลื่อนไปสู่ Value–Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย Technologies, Creativity และ Innovation ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทักษะด้านนวัตกรรม ด้านการใช้ข้อมูล ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นมากต่อการก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางของประเทศไทยท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป”

ทั้งนี้ แผน “Digital Thailand” ยังเป็นการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจให้แก่ธุรกิจประเภทอื่น ๆ เกือบทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ Startup, SMEs  รวมถึงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และธุรกิจโลจิสติกส์ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วย

“เทคโนโลยีทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปนั้น กำลังส่งผลให้ธุรกิจแบบดั้งเดิมต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบสองทางผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Line, Twitter ที่ก่อให้เกิดการแชร์ประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือผ่านอินฟลูเอนเซอร์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการมากขึ้น ซึ่งภาคธุรกิจที่ทำธุรกิจในรูปแบบเดิม ๆ จะไม่สามารถแข่งขันกับกับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีได้”

ดร.มนู กล่าวเสริมว่า หากองค์กรต้องการก้าวต่อไป จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิมหรือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ และการขยายตลาดหรือการหากลุ่มเป้าหมายใหม่ไปพร้อม ๆ กัน (Value Creation) ซึ่งการจะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ขององค์กรได้อย่างสมบูรณ์ไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องอาศัยความมุ่งมั่นของผู้บริการ การวางแผนอย่างรอบคอบ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของหน่วยงานนั้น ๆ ด้วย

IoT เทคโนโลยีเชื่อมต่อผู้บริโภค

ด้าน รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี  เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวก รวดเร็ว จากการใช้อุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยี IoT ที่สามารถเชื่อมต่อหรือส่งข้อมูลถึงกัน ควบคุมการใช้งานได้ด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  รวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับการใช้งานอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ผ่านออนไลน์ อาทิ Smart Health, Smart Home, Smart Agriculture

“IoT ถือเป็นสื่อกลางที่ทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของผู้บริโภค อีกทั้งยังสามารถจัดเก็บในระบบคลาวด์ และนำไปประมวลผลข้อมูลได้อย่างทันท่วงที ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เมื่อผนวกกับความสามารถในการวิเคราะห์ของ AI จะสามารถสะท้อนความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง และแบรนด์สามารถนำไปใช้พัฒนาระบบธุรกิจให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

จะเห็นได้ว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง เศรษฐกิจไทยที่ดำเนินมาในโครงสร้างแบบเดิมได้รับผลกระทบจากระบบดิจิทัล ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ผู้ผลิตเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยไม่ผ่านคนกลาง ทำให้ทุกองค์กรต่างเผชิญกับความท้าทายใหม่นี้อย่างพร้อมเพรียงกัน

“Digital Transformation จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจ และอาจนำไปสู่โมเดลสร้างรายได้ใหม่ ๆ ที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งผลลัพธ์ของการทำ digital transformation มีมากมาย ตั้งแต่การช่วยลดต้นทุน ทำให้นำสินค้าและบริการเข้าสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ที่สำคัญคือจะช่วยเพิ่มพูนทั้งความพึงพอใจของลูกค้าและสร้างยอดขายให้องค์กร หากผู้ประกอบการแบบดั้งเดิมสามารถยกระดับตนเองสู่องค์กรดิจิทัลได้ แน่นอนว่าจะช่วยให้องค์กรสามารถลดต้นทุนจากภาระงานที่ไม่จำเป็น และทำให้ประสิทธิภาพและผลผลิตในการทำงานดีขึ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วจะช่วยเพิ่มผลกำไรให้แก่องค์กรได้อีกทาง” ดร.ธนชาติกล่าวสรุป

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า ภูมิภาคอาเซียนจะก้าวขึ้นติดอันดับ 1 ใน 5 ตลาดด้านเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลกภายในปี 2025 และแน่นอนว่า การทำ Digital Transformation ย่อมกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 คลี่คลาย ด้วยเหตุนี้ ตลาดออนไลน์อย่าง JRIT ICHI จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในด้านนวัตกรรมธุรกิจ (Business innovation) สำหรับผู้ประกอบการไทยทั้งในปีนี้และปีต่อ ๆ ไป ซึ่งภายในงานนี้ มีบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำต่างๆ จากญี่ปุ่น ที่จะมาตอบโจทย์ผู้ประกอบการและบริษัทต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจต้นทาง เช่น สายงานการผลิต จนไปถึงธุรกิจขายปลีกที่ต้องการ solution ในการขายสินค้าออนไลน์ ผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน  JRIT ICHI CYBER MARKET STATION  สามารถลงทะเบียนทางเว็บไซต์ http://bit.ly/JRITICHI  ได้ตั้งแต่วันนี้  

หลังจากลงทะเบียนแล้วจะได้รับ Code เพื่อเข้าชมบูธต่างๆ และยังสามารถนัดเจรจาธุรกิจกับตัวแทนบริษัทต่างๆได้ ผ่านทางระบบ Business Matching ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดตามข่าวสารต่างๆจาก JRIT ICHI ได้ทาง LINE : @JRITICHI หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-168-7838


แชร์ :

You may also like