HomePR Newsสมาคมรถโดยสารประจำทาง เรียกร้อง 7 ข้อ รัฐเยียวยาผลกระทบโควิด [PR]

สมาคมรถโดยสารประจำทาง เรียกร้อง 7 ข้อ รัฐเยียวยาผลกระทบโควิด [PR]

แชร์ :

bus covid

วันนี้ (5 ก.ค.2564) สมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย นำผู้ประกอบการรถโดยสาร เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามการขอรับการเยียวยา จากผลกระทบ Covid-19 หลังยื่นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึง 3 ฉบับไม่มีความคืบหน้า ณ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณพิเชษฐ์ เจียมบุรเศรษฐ์ นายกสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจทุกภาคส่วนอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจ SME ที่ต้องประสบปัญหาขาดทุน และหยุดกิจการไปหลายแห่ง ซึ่งผู้ประกอบการรถโดยสารเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการสาธารณะ ในรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญด้านการคมนาคมทั่วประเทศ ได้รับผลกระทบจากการต้องลดเที่ยววิ่งจากเดิม เหลือเพียง 25-30% อัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยลดลงกว่า 50% ต่อเที่ยววิ่ง และผู้ประกอบการบางรายต้องหยุดเดินรถชั่วคราว เพราะทนต่อสู้กับค่าใช้จ่ายไม่ไหว

ที่ผ่านมาสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย ได้มีหนังสือขอความช่วยเหลือผู้ประกอบการรถโดยสาร ไปยังผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่เดือนมกราคม,เมษายน และพฤษภาคม รวม 3 ฉบับ ซึ่งพบว่าผลของความช่วยเหลือ ที่ได้รับอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรมเป็นเรื่องการเร่งฉีดวัคซีน ป้องกัน Covid-19 ให้กลุ่มพนักงานบริการรถโดยสาร

ส่วนข้อเรียกร้องอื่นๆ ที่ได้นำเสนอไปนั้น ยังไม่มีความคืบหน้า ดังนั้นสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย จึงเดินทางมายื่นหนังสือติดตามและเยียวยาดังกล่าว กับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือ 7 ข้อเสนอดังนี้

1.ตรึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เฉพาะรถขนส่งผู้โดยสาร ดีเซลไม่เกินลิตรละ 20 บาท NGV ลดเหลือ 10.62 บาท กิโลเมตร รวมถึงตรึงราคา LPG ด้วย
2.ยกเว้นการเก็บภาษีรถโดยสารประจำปี 2564
3.ยกเว้นการทำประกันภัยรถโดยสารภาคสมัครใจประจำปี 2564
4.ให้บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) งดเว้น หรือลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวกับการเดินรถทั้งหมดให้ผู้ประกอบการรถร่วมเป็นระยะเวลา 1 ปี
5.ขอจัดการเดินรถโดยสารประจำทาง ให้สามารถหมุนเวียนได้ทุกเส้นทาง เหมือนธุรกิจการบิน เพื่อให้สามารถใช้ตัวรถอย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนผู้ประกอบการ
6.ขอให้ช่วยเหลือผู้ประกันตนอยู่ในสิทธิ์ประกันสังคม ให้ได้รับสิทธิการช่วยเหลือเยียวยา จากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในอัตรา 50% เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน
7.ขอให้ผ่อนคลายการจำหน่ายตั๋วโดยสารต่อรถ 1 คัน ได้ตามปกติ 100% เมื่อการฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19 ในพื้นที่ควบคุมสีอแดงเข้มได้ระดับ 30% ของจำนวนประชากรเป้าหมาย

สมาคมฯ คาดหวังว่าข้อเสนอดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาจากนายกรัฐมนตรี เพื่อเยียวยาผู้ประกอบการที่ให้บริการขั้นพื้นฐานในด้านการขนส่งสารธารณะของประเทศไทยยังคงสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยผู้ประกอบการทุกราย พร้อมพัฒนาและปฏิบัติตามแนวทางและมาตรการของสาธารณสุขเพื่อช่วยควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ให้ร่วมกันผ่านพ้นภาวะวิกฤตและยังให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้


แชร์ :

You may also like