ยูนิเวอร์ซัม (Universum) ผู้ให้บริการด้านการสร้างแบรนด์องค์กรระดับสากล เผยผลสำรวจ “Universum 2021 Top 100 Ideal Employer Rankings” หรือนายจ้างในอุดมคติ ประจำปี 2564 โดยในประเทศไทย ได้เก็บผลสำรวจนักศึกษาไทยจำนวน 11,554 คนในสาขาธุรกิจ/พาณิชย์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มนุษยศาสตร์/ศิลปศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ กฎหมาย และสุขภาพ/การแพทย์ เพื่อวัดระดับความน่าสนใจขององค์กรในตลาดแรงไทย และตรวจสอบความต้องการด้านการทำงานของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่จะเป็นแรงงานในอนาคต พบว่า
Top 5 องค์กร/นายจ้างในอุดมคติที่น่าสนใจสำหรับนักศึกษาธุรกิจ/พาณิชย์
- Google (กูเกิล)
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
- GMM Grammy (จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
- King Power (คิง เพาเวอร์)
- PTT (ปตท.)
Top 5 องค์กร/นายจ้างในอุดมคติที่น่าสนใจสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์
- PTT (ปตท.)
- Google (กูเกิล)
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT)
- SCG (ปูนซีเมนต์ไทย)
- BMW Group (บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป)
นักศึกษาไทยอยากทำงาน “ภาคเอกชน” และ “บริษัทมหาชน”
การสำรวจครั้งนี้ยังพบว่า นักศึกษาไทยส่วนใหญ่ต้องการทำงานในภาคเอกชน
- 88% ของนักศึกษาธุรกิจ/พาณิชย์ ต้องการทำงานในภาคเอกชน
- 84% ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ต้องการทำงานในภาคเอกชน
นอกจากนี้ นักศึกษาไทยคาดหวังจะได้ทำงานในองค์กรที่มีการดำเนินงานระดับโลก โดยบริษัทมหาชนยังคงเป็นตัวเลือกที่นักศึกษาส่วนมากต้องการเข้าไปทำงาน
- 73% ของนักศึกษาธุรกิจ/พาณิชย์ คาดหวังจะได้ทำงานในองค์กรที่มีการดำเนินงานระดับโลก
- 74% ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ราว คาดหวังจะได้ทำงานในองค์กรที่มีการดำเนินงานระดับโลก
Google – ปตท. – ปูนซีเมนต์ไทย ติดอันดับนายจ้างที่ใช้ Social Media สร้างการมีส่วนร่วมมากที่สุด
สำหรับการใช้ช่องทางการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ เว็บไซต์ขององค์กรนายจ้างยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกใช้งานมากที่สุด โดยคิดเป็น 52% ของผู้ตอบแบบสอบถาม
- นักศึกษา 47% ระบุว่าใช้ Faceboook ในการค้นหาข้อมูลของนายจ้างในอนาคต
- นักศึกษา 41% ระบุว่าใช้ Google+ ค้นหาข้อมูลของนายจ้างในอนาคต
นอกจากนี้ผลสำรวจในครั้งนี้ยังพบว่า
- ปตท.
- ปูนซีเมนต์ไทย
ทั้ง 3 บริษัทนี้ ติด 3 อันดับแรกของนายจ้างที่ใช้ Social Media สร้างการมีส่วนร่วมมากที่สุด
นักศึกษาไทยต้องการองค์กรที่ “ส่งเสริมความหลากหลาย – ยอมรับความแตกต่าง”
การสำรวจครั้งนี้พบว่า นักศึกษาคิดว่าการบริหารที่ส่งเสริมความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล (77%) ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญที่สุด ที่นายจ้างต้องให้ความสำคัญบน Social Media
ตามมาด้วยโอกาสการก้าวหน้าในสายงาน (75%) และแนวคิดของผู้บริหารบริษัท (73%)
“นายจ้างควรออกแบบการสร้างแบรนด์ของตนเอง ผ่านการระบุลักษณะความแตกต่างที่สำคัญและแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องเมื่อมีเป้าหมายในการค้นหาผู้สมัครงานที่มีความแตกต่าง
เนื่องจากบรรดานายจ้างในประเทศไทยล้วนตื่นตัวอย่างมากบน Facebook ทำให้ผู้มีทักษะสูงมักใช้ Facebook เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงประสบการณ์ของลูกจ้างในบริษัท เป็นการใช้งานแพลตฟอร์มยอดนิยมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะช่วยให้ผู้มีทักษะสูงรู้ว่าจะสามารถคาดหวังสิ่งใดจากการทำงานในองค์กรของคุณ” คุณพราทิก ซาเบอวัล หัวหน้าที่ปรึกษา ยูนิเวอร์ซัม ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขยายความเพิ่มเติม
นักศึกษาไทยคาดหวังเงินเดือนกว่า 4.3 – 4.5 แสนบาทต่อปี – ยังพบความไม่เสมอภาคของค่าตอบแทนระหว่างเพศ
เงินเดือนรายปีที่นักศึกษาในประเทศไทยคาดหวังโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 431,689 บาท แต่หากแบ่งสายงานแล้ว พบว่า
– นักศึกษาธุรกิจ/พาณิชย์ คาดหวังเงินเดือนต่อปีที่ 452,869 บาท
– นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ คาดหวังเงินเดือนต่อปีที่ 434,663 บาท
ขณะเดียวกันยังปรากฏความไม่เสมอภาคของค่าตอบแทนระหว่างเพศในสาขาธุรกิจ/พาณิชย์ และวิศวกรรมศาสตร์
- สาขาธุรกิจ/พาณิชย์ มีช่องว่างของค่าตอบแทนระหว่างเพศที่ 14% โดยนักศึกษาหญิงคาดหวังเงินเดือนต่ำกว่านักศึกษาชาย
- สาขาวิศวกรรมศาสตร์ มีช่องว่างของค่าตอบแทนระหว่างเพศน้อยกว่าอย่างชัดเจน โดยนักศึกษาหญิงคาดหวังต่ำกว่านักศึกษาชายที่ 8%