HomeSponsoredเปิดเบื้องหลังความสำเร็จนวัตกรรม BGC กับศูนย์ TIC พร้อมต่อยอดบรรจุภัณฑ์แก้วสู่เทคโนโลยี Lightweight

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จนวัตกรรม BGC กับศูนย์ TIC พร้อมต่อยอดบรรจุภัณฑ์แก้วสู่เทคโนโลยี Lightweight

แชร์ :

จากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรุดหน้า ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีการนำวัสดุต่าง ๆ มาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ในประเภทและรูปแบบที่แปลกใหม่มากขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า บรรจุภัณฑ์แก้วยังเป็นหนึ่งในบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาทุกยุคสมัย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพราะคุณสมบัติด้านความแข็งแรง ทนทาน และเป็นวัสดุที่ทำปฏิกิริยาเคมีในระดับต่ำเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น จึงช่วยรักษาคุณภาพและรสชาติของสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในได้เป็นอย่างดี

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่ในวันนี้ หากลองจับขวดแก้ว บางครั้งเราอาจรู้สึกว่า ขวดแก้วนั้นกลับมีน้ำหนักเบา ต่างจากขวดแก้วในอดีต นั่นเพราะว่าขวดแก้วที่สัมผัสในทุกวันนี้อาจไม่ใช่ขวดแก้วแบบที่เรารู้จักอีกต่อไป!

‘บรรจุภัณฑ์แก้วชนิดน้ำหนักเบา’ เป็นการนำนวัตกรรมที่เรียกว่า Lightweight มาใช้ในกระบวนการผลิต ผ่านการขึ้นรูปขวดแก้วด้วยวิธีกดอัดและเป่าแบบคอแคบหรือ Narrow Neck Press and Blow (NNPB) ซึ่งผลิตขวดแก้วได้ทั้งทรงปากแคบและปากกว้าง โดยสามารถผลิตได้เร็วกว่าวิธีกดอัดและเป่าแบบปกติประมาณ 15-20% และใช้ปริมาณน้ำแก้วลดลงถึง 30% นอกจากประหยัดวัตถุดิบลงแล้วยังช่วยลดทรัพยากรในการผลิต และลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก

‘บมจ.บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส หรือ BGC’ ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้วรายใหญ่ในไทยและภูมิภาคอาเซียน เป็นหนึ่งในบริษัทที่มุ่งมั่นกับการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนารวมกว่า 30 ล้านบาท มีผลงานล่าสุดคือเทคโนโลยี Lightweight ซึ่ง BGC จะเน้นการผลิตบรรจุภัณฑ์ Lightweight ที่มีความแตกต่าง แต่สามารถใช้งานได้จริง เพื่อสร้างความโดดเด่นและเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของลูกค้า

BGC เป็นผู้ประกอบการรายแรกในประเทศไทยที่ใช้นวัตกรรมดังกล่าวในการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับซอสและเครื่องปรุงรสแบบขวดขนาดใหญ่ (ความจุมากกว่า 600 มิลลิลิตร) ที่มีรูปทรงสูงและปากขวดแคบ สามารถใช้บรรจุได้ทั้งเครื่องดื่มและซอสปรุงรสต่าง ๆ โดยจะมีน้ำหนักลดลงจากขวดแก้วปกติประมาณ 15% ซึ่งบรรจุภัณฑ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่พัฒนาโดยศูนย์ Technology and Innovation Center (TIC) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของ BGC ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ศูนย์ TIC ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศูนย์รวมของหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และบริษัทวิจัยจำนวนมาก ทำให้นักวิจัยจากแต่ละหน่วยงานมีโอกาสได้พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ นำไปสู่การต่อยอดความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละแขนง บนพื้นที่ที่เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ

โดยศูนย์ TIC จะทำหน้าที่ในการคิดค้น วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับบรรจุภัณฑ์ของ BGC ตั้งแต่ในขั้นตอนการศึกษาความต้องการของลูกค้า วิเคราะห์ปัญหา ไปจนถึงขั้นตอนการทดลองและพัฒนา เพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของลูกค้า และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากการวิจัยและพัฒนาโดยบุคลากรภายใน ที่ประกอบด้วยนักวิจัย วิศวกร และนักวิเคราะห์ทดสอบในห้องปฏิบัติการแล้ว ศูนย์ TIC ยังเข้าไปร่วมมือวิจัยและพัฒนานวัตกรรมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยมีนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จและนำมาใช้งานในปัจจุบัน อาทิ เครื่องตรวจวัดปริมาณออกซิเจน (Oxygen Sensor) ที่เป็นอุปกรณ์วัดปริมาณออกซิเจนในเตาหลอมแก้ว ทำให้กระบวนการเผาไหม้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยในการควบคุมสีน้ำแก้วให้มีความสม่ำเสมอ

การพัฒนานวัตกรรมเหล่านี้ ทำให้ BGC สามารถตอบโจทย์ลูกค้าและความต้องการของตลาดได้อย่างต่อเนื่อง โดยในงวดไตรมาส 2/2564 บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 3,150 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรสุทธิ 122 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากความต้องการของตลาดบรรจุภัณฑ์ที่ยังแข็งแกร่ง และบริษัทฯ ก็ได้รับคำสั่งซื้อสินค้าตามเป้าหมายที่วางไว้

สำหรับปีนี้ BGC มีการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรเพิ่มขึ้น 60%  และยังเดินหน้าลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมลงทุนกว่า 200 ล้านบาท ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และวางแผนลงทุนเพิ่มอีก 320 ล้านบาทในปี 2022 นอกจากนี้ยังมีแผนเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 0.5% ของยอดขายรวมในปี 2025 เพื่อผลักดันสัดส่วนของสินค้านวัตกรรมให้เป็น 25% ของยอดขายรวมในปี 2025 จากปีนี้ที่บริษัทฯ คาดว่าสัดส่วนยอดขายของสินค้านวัตกรรมจะอยู่ที่ 17%

ในส่วนของแนวโน้มธุรกิจในครึ่งปีหลัง บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถเติบโตใกล้เคียงกับช่วงก่อน COVID-19 หรือในปี 2019 เนื่องจากดีมานด์ของตลาดบรรจุภัณฑ์เริ่มมีแนวโน้ม Turn Around เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีมาตรการล็อกดาวน์ โดยเฉพาะเมื่อการฉีดวัคซีนเริ่มครอบคลุม และผู้ประกอบการทยอยเปิดกิจการ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ มีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีพอร์ตสินค้าหลากหลายอยู่ในมืออย่าง BGC ที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างได้อย่างทันท่วงที …

References

https://siamrath.co.th/n/84360

https://bit.ly/38AX5ra


แชร์ :

You may also like