HomeHR & ManangementSEAC เผย 8 เทรนด์ HR 2022 ที่องค์กรยุคใหม่ต้องรู้ เพื่อบริหารคนให้แกร่ง พร้อมรบทุกสถานการณ์

SEAC เผย 8 เทรนด์ HR 2022 ที่องค์กรยุคใหม่ต้องรู้ เพื่อบริหารคนให้แกร่ง พร้อมรบทุกสถานการณ์

แชร์ :

ปีนี้เรียกได้ว่าเป็นปีที่ HR ต้องเผชิญกับความท้าทายรอบด้านจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่ใช่แค่เปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจให้ไม่เหมือนเดิม แต่ยังทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป คำถามคือ ผู้นำและทีม HR ต้องปรับรูปแบบการทำงานอย่างไร เพื่อให้องค์กรสามารถรับมือ รวมถึงสร้างโอกาสใหม่จากวิกฤติที่เกิดขึ้น และในปี 2022 HR ต้องจับตามองอะไรบ้าง Brand Buffet พามาอัพเดท 8 เทรนด์จาก ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน หรือ SEAC เพื่อให้ผู้นำ และ HR ได้เตรียมพร้อมรับมือกับการทำงานในอนาคต

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

1.New Talent Internally องค์กรจะเปลี่ยนการสรรหา “คนเก่ง” จากภายนอกสู่ภายในองค์กรมากขึ้น

ที่ผ่านมาหลายองค์กรอาจจะเน้นการ Recruit คนจากภายนอกเข้ามาเติมในองค์กร แต่สถานการณ์โควิด-19 ทำให้การสรรหาคนเปลี่ยนไป หลายองค์กรเริ่มหาคนเก่งจากภายในองค์กรมากขึ้น ผ่านการ Relocate พนักงานที่มีอยู่ไปเติมในตำแหน่งงานใหม่ที่เกิดขึ้นหรือทดแทนตำแหน่งงานเดิมที่มีการออกไป โดยการสรรหาคนในปี 2022 หลายองค์กรยังเน้นการ Relocate พนักงานในองค์กร หรือ Internal Recruitment มากขึ้น เพราะหลายองค์กรพบว่า มีหลายทักษะใน Talent ที่องค์กรไม่รู้ และบางทักษะอาจเป็นประโยชน์กับองค์กร

ดังนั้น สิ่งที่ HR ต้องทำมากขึ้นคือ สร้างกลไกให้เกิด Internal Recruitment เพื่อหาทีมที่จะทำโปรเจคต่างๆ และออกแบบ Career Path ในลักษณะ Multi-dimensional ให้พนักงานเติบโตได้หลายทิศทาง และเห็นว่าความก้าวหน้าในสายอาชีพไม่ได้ถูกจำกัดแค่การเติบโตจากการเลื่อนตำแหน่งอย่างเดียว แต่องค์กรให้ความสำคัญกับคนที่เก่งรอบด้านผ่านการให้รางวัลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ

2.Multigeneration Workforce บริหารความสัมพันธ์คนทำงานหลากหลายเจนเนอเรชั่น

ในอดีตคนในองค์กรมีแค่ Gen Y, Gen X และกลุ่ม Baby Boomers แต่องค์กรยุคปัจจุบันประกอบด้วยคนถึง  5 เจนเนอเรชั่น ได้แก่ กลุ่มคน Gen Z, Gen Y, Gen X, กลุ่ม Baby Boomers และกลุ่มเกษียณที่ยังทำงาน ซึ่งแต่ละเจนมีความคิดและเป้าหมายการทำงานแตกต่างกัน การบริหารคนในองค์กรที่มีหลากหลายเจนเนอเรชั่น จึงเป็นอีกเทรนด์ที่ HR ต้องรับมือในปีหน้า โดย HR ต้องเรียนรู้ความแตกต่างของคน 5 เจน และสร้าง Culture ให้พนักงานแต่ละเจนเนอเรชั่นทำงานแบบพึ่งพิงกันได้ และเรียนรู้สิ่งใหม่ไปพร้อมกัน

3.Enabling Hybrid Workplaces ถึงยุคของการทำงานแบบไฮบริด 

ปี 2022 รูปแบบของการทำงานจากที่บ้านผสานกับการทำงานที่ออฟฟิศ หรือ Hybrid Workplace เป็นเทรนด์ที่มาแรงต่อเนื่อง เพราะถึงแม้สถานการณ์โควิด-19 จะกลับมาดีขึ้น แต่ผลสำรวจพบว่า องค์กรมากกว่าครึ่งมีแผนจะทำ Hybrid Workplace โดยให้พนักงานมีการทำงานแบบ Virtual จากที่ไหนก็ได้ในบางวันของสัปดาห์และเข้ามาประชุมที่บริษัทแบบ Face to Face ในบางส่วน ดังนั้น HR ต้องเตรียมพร้อม ปรับนโยบายให้สอดรับกับรูปแบบการทำงานใหม่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเข้าออกงาน การทำ Employee Communication และการ Manage Performance ที่ต้องมองในมิติใหม่ ไม่ใช่แค่วัดผลจากเวลาเข้าออกงานแบบเดิมๆ

4.Rethink Work for Gen Z แนวทางการทำงานที่รองรับคน Gen Z

การเข้ามาของกลุ่มคน Gen Z สร้างความท้าทายอย่างมากให้กับองค์กร เพราะคนเจนนี้เป็นคนรุ่นใหม่ อดทนน้อย และไม่ค่อยภักดีกับองค์กร แต่ขณะเดียวกันผลวิจัยพบว่า เด็ก Gen Z ที่เพิ่งเข้ามาทำงานในช่วง 1-2 ปีมีความต่างจากเด็ก Gen Y อย่างมาก จะใช้คอนเซ็ปท์การบริหาร Gen Y มาบริหารเด็ก Gen Z ไม่ได้ แต่หากสามารถทำงานกับเด็กกลุ่มนี้ได้ถูกวิธีเด็กกลุ่มนี้จะเข้าไปเติมเต็มการเติบโตขององค์กรได้ องค์กรและทีม HR จึงต้องใช้เวลา Rethink พร้อมทั้งมีทีมงานชัดเจนที่จะ Mentor ให้เด็ก Gen Z เหล่านี้อยากมาทำงานร่วมกับองค์กร

5.Benefiting from a Growing Gig Economy การจ้างงานแบบฟรีแลนซ์จะกลับมาเข้มข้น

หลายคนคงได้ยินคำว่า Gig Economy กันมาสักพัก ซึ่งเป็นรูปแบบการจ้างงานนอกองค์กรที่เข้ามาเติมทักษะพิเศษบางอย่าง ซึ่งในปีหน้าเทรนด์นี้จะเข้มข้นมากขึ้น โดยองค์กรจะมองการจ้างงานในรูปแบบ Gig Economy เป็นกลยุทธ์ขององค์กรจากในอดีตมองเป็นแค่ Option หนึ่งในการจ้างงานเท่านั้น

เมื่อเทรนด์นี้กลับมา คำถามคือ HR จะต้องเตรียมการอะไรบ้าง อย่างแรกคือ นโยบายการจ้างงาน ควรจะต้องแบ่งกลุ่มงานให้ชัดเจนว่ากลุ่มไหนให้พนักงานภายในองค์กรทำ และงานกลุ่มไหนให้ Gig Economy ทำ อย่างที่สองคือ การดูแล Internal และ External Talent เหล่านี้ให้เหมาะสม

6.Increase Need for Power Skill ยุคแห่งการเสริมทักษะแบบผสมผสาน

จากการที่โลกก้าวสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น ทำให้ไลฟ์สไตล์ผู้คนเดินไปสู่ชีวิตแบบดิจิทัล ทักษะเดิมที่เคยมีอาจล้าสมัย บทบาทหน้าที่ของ HR จึงต้องปรับเปลี่ยนไป หันมาเน้นพัฒนาคนในองค์กรให้เข้าถึงทักษะใหม่ที่เรียกว่า “Power Skill” ซึ่งประกอบด้วย Soft Skill, Digital Skill และ Thinking Skill โดยหัวใจสำคัญของ Power Skill อยู่ที่การพัฒนาคนให้มี Digital Competence ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องมีทีมเทคโนโลยี แต่จะต้องเข้าใจในการใช้ Digital Skill ต่างๆ ได้

7.Planing Perpetual Reskilling/Upskilling at Speed ติดสปีดการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้พนักงานในองค์กร

นับตั้งแต่เกิด Digital Disruption หลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับการ Upskill และ Reskill แต่เมื่อมาดูสถิติกลับพบว่า มีแค่ 34% ขององค์กรที่มีการ Implement โครงการที่ช่วยให้พนักงาน Upskill และ Reskill และได้ผลจริง สาเหตุสำคัญที่เป็นเช่นนั้น เพราะในปี 2021 นี้ผู้นำองค์กรมีหลายสิ่งหลายอย่างต้องทำ โดยเฉพาะการปรับธุรกิจให้อยู่รอด

แต่ในปีหน้าเทรนด์บอกชัดว่า ทุกๆ องค์กรจะหันมาเน้นเรื่องการทรานฟอร์มเมชั่น ซึ่งในการทรานฟอร์มต้องอาศัย “ทักษะ” จึงทำให้ผู้บริหารหลายองค์กรต้องหันมาเน้นการ Upskill และ Reskill ในองค์กรมากขึ้น ขณะเดียวกัน ความคาดหวังในเรื่อง Speed ในการ Upskill และ Reskill จะเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น สิ่งที่ HR ต้องเตรียมการคือ การเติมทักษะให้กับคนในองค์กร โดยโฟกัสทักษะสำคัญที่มีผลต่อการทรานฟอร์มองค์กรหรือฟังก์ชั่นงานที่มีการเปลี่ยนบทบาทจากปี 2021 และจำเป็นต้องมีการ Upskill และ Reskill เพิ่มขึ้น

8.Increasing Focus on Building Learning Ecosystems การสร้างระบบนิเวศในการเรียนรู้และทำงานใหม่

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โลกของการทำงานเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่พฤติกรรมคนงานก็ปรับเปลี่ยนไป ส่งผลให้องค์กรต้องเพิ่มทักษะการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพิ่มทักษะใหม่ และเพิ่มนวัตกรรมในองค์กร เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบการมีส่วนร่วมของกันและกัน รวมทั้งการเข้าถึงคอนเทนต์ใหม่ๆ เทคโนโลยี และข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง

และนี่คือ 8 เทรนด์ที่ผู้นำ และทีม HR ต้องเกาะติดในปีหน้า เพื่อพัฒนาคนในองค์กรให้สตรองและก้าวข้ามทุกการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง SEAC ย้ำว่า องค์กรไม่จำเป็นต้องทำทั้งหมด สิ่งสำคัญต้องกลับมาดูว่า “ความท้าทาย” และ “โอกาส” ขององค์กรอยู่ตรงไหน จากนั้น จึงนำเทรนด์เหล่านี้ไปปรับใช้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้องค์กรเติบโตต่อไป


แชร์ :

You may also like