HomePR NewsAmazon เปิดผลวิจัย อีคอมเมิร์ซอาจดัน SME ไทยส่งออกแตะ 4.8 แสนล้านบาท

Amazon เปิดผลวิจัย อีคอมเมิร์ซอาจดัน SME ไทยส่งออกแตะ 4.8 แสนล้านบาท

แชร์ :

amazon global selling

อเมซอน (Amazon) ชี้ SME ไทยยังมีโอกาส หลังผลวิจัยชี้การส่งออกอีคอมเมิร์ซแบบ B2C สามารถเติบโตจาก 1.102 แสนล้านบาทในปี 2564 ขึ้นเป็น 4.858 แสนล้านบาท ภายในปี 2569 ได้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

งานวิจัยดังกล่าวมีชื่อว่า Local Sellers, Global Consumers: Capturing Thailand’s e-commerce export opportunity จัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษา AlphaBeta และทำการสำรวจ MSMEs กว่า 300 รายทั่วประเทศไทย

สิ่งที่งานวิจัยพบก็คือหากเทรนด์การนำอีคอมเมิร์ซมาใช้ในธุรกิจยังคงดำเนินต่อไป มูลค่าการส่งออกอีคอมเมิร์ซแบบ B2C ประจำปีในประเทศไทยคาดว่าจะเติบโตที่ 15% ต่อปีเป็น 2.198 แสนล้านบาทในปี 2569 อย่างไรก็ตาม หาก MSMEs เร่งการนำอีคอมเมิร์ซมาใช้เพื่อส่งออกสินค้า คาดว่ามูลค่าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า และแตะถึง 4.858 แสนล้านบาทภายในปี 2569 ได้เลยทีเดียว 

นอกจากนี้ การสำรวจยังพบว่า 29% ของ MSMEs ในประเทศไทยมองว่าการส่งออกผ่านทางอีคอมเมิร์ซช่วยสร้างยอดขายได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง

ความท้าทายของ MSMEs จากอีคอมเมิร์ซ

ท่ามกลางโอกาสในการเติบโตและการขยายตัวสู่ระดับโลกผ่านอีคอมเมิร์ซ จากผลสำรวจของ MSMEs ในประเทศไทยเปิดเผยว่า ความท้าทายของธุรกิจก็มีเช่นกัน ได้แก่ อุปสรรคในด้านต้นทุน กฎระเบียบ ข้อมูล และความสามารถในการแข่งขัน

อุปสรรคในเรื่องต้นทุนมีตั้งแต่ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่สูง ถือเป็นความท้าทายหลักที่ MSMEs ในประเทศไทยต้องเผชิญ โดย 88% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าเป็นอุปสรรคสำคัญ 

ในขณะที่ 83% ของ MSMEs พบว่าต้นทุนที่สูงในการติดตั้งและการใช้ระบบชำระเงินออนไลน์ (Payment Gateway) ระหว่างประเทศเป็นอุปสรรคสำคัญ โดยจากผลสำรวจ พบว่ามีเพียง 41% ของ MSMEs ที่บอกว่าโปรแกรม e-payment ถือเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ในปัจจุบัน และสุดท้าย ผลสำรวจเปิดเผยว่า 81% ของ MSMEs ระบุว่าการขาดข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านการนำเข้าสินค้าในต่างประเทศเป็นอุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งของการขายในต่างประเทศ มีเพียง 37% เท่านั้นที่รู้สึกว่านโยบายปัจจุบันเอื้ออำนวยต่อความพยายามในการส่งออกสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซในทุกวันนี้

จากรายงานดังกล่าว มีการเสนอให้มุ่งเน้นถึงนโยบาย 4 ด้านเพื่อสนับสนุน MSMEs ในประเทศไทยในความพยายามที่จะส่งออกสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วย

  • การให้เงินสนับสนุนและการอุดหนุนจากภาครัฐในการส่งออกอีคอมเมิร์ซ
  • การสร้างพันธมิตรและสร้างแรงจูงใจในการนำกรอบการทำงานของระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานร่วมกันได้ข้ามประเทศมาใช้งาน
  • การจัดฝึกอบรมอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศ
  • การให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าในต่างประเทศ

เจมี่ เบรนแนน หัวหน้าทีมอเมซอนโกลบอลเซลลิ่ง ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กทำในสิ่งที่ธุรกิจขนาดใหญ่ทำได้คือความตั้งใจของทีมอเมซอนโกลบอลเซลลิ่ง โดยเราจะช่วยชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ที่กำลังเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจของพวกเขา รวมถึงเตรียมความพร้อมด้วยองค์ความรู้ ทรัพยากร และคอนเนคชันเพื่อขยายธุรกิจออกสู่ทั่วโลกได้อย่างยั่งยืน”


แชร์ :

You may also like