HomeBrand Move !!5 ปรากฏการณ์ “ค้าปลีกไทย” 4 ทุนใหญ่ “ซีพี – เซ็นทรัล – เดอะมอลล์ – สยามพิวรรธน์” เร่งขยายอาณาจักรธุรกิจ – ก้าวสู่ยุค Digital Asset

5 ปรากฏการณ์ “ค้าปลีกไทย” 4 ทุนใหญ่ “ซีพี – เซ็นทรัล – เดอะมอลล์ – สยามพิวรรธน์” เร่งขยายอาณาจักรธุรกิจ – ก้าวสู่ยุค Digital Asset

แชร์ :

ในรอบปี 2564 เป็นอีกปีที่สาหัสสำหรับภาคธุรกิจค้าปลีกไทย เพราะยังคงอยู่ภายใต้สภาวะการแพร่ระบาด COVID-19 อย่างหนัก ทำให้ต้องล็อกดาวน์ และเคอร์ฟิว กระทบทั้งธุรกิจค้าปลีกเซ็กเมนต์ต่างๆ ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ซึ่งสมาคมผู้ค้าปลีกไทยเคยประมาณการณ์ในช่วง 2 ปีมานี้ (ปี 2563 – 2564) มูลค่าค้าปลีกและบริหารสูญหายไปกว่า 800,000 ล้านบาท และกระทบกับการจ้างงานกว่า 3.2 ล้านคน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกต้องเจอกับความท้าทายครั้งใหญ่หลายระลอก ในอีกมุมพบว่ากลุ่มทุนค้าปลีกรายใหญ่ในไทย (ในที่นี้หมายความรวมถึงบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการค้าปลีก หรือ Retail Developer ด้วย)​ ทั้งกลุ่มซีพี กลุ่มเซ็นทรัล เดอะมอลล์ กรุ๊ป และกลุ่มสยามพิวรรธน์ ซึ่ง dominate ตลาดค้าปลีกไทย ต่างเดินหน้าลงทุนใหญ่ต่อเนื่อง เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง Business Ecosystem ของตัวเอง และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในวันนี้ และอนาคต

Brand Buffet ได้รวบรวมปรากฏการณ์สำคัญในวงการค้าปลีกไทยในรอบปี 2564 เพื่อฉายภาพพัฒนาการ และความเคลื่อนไหวของธุรกิจค้าปลีกในไทยว่ากำลังมุ่งไปในทิศทางไหน

 

รีแบรนด์จาก “เทสโก้ โลตัส” สู่ “โลตัส” (Lotus’s) จิ๊กซอว์ Retail Network อาณาจักรซีพี

หลังจาก กลุ่มซีพี ซื้อกิจการเทสโก้ (Tesco) ทั้งในประเทศไทย (ภายใต้เครื่องหมายการค้าเทสโก้ โลตัส) และมาเลเซีย (ภายใต้เครื่องหมายการค้าเทสโก้) มูลค่ากว่า 338,445 ล้านบาท ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ได้เริ่มรีแบรนด์ “เทสโก้ โลตัส” (Tesco Lotus) ทั้งสาขาขนาดใหญ่รูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็น “Lotus’s” (โลตัส) และรูปแบบมินิซูเปอร์มาร์เก็ตจาก “Tesco Lotus Express” เปลี่ยนชื่อเป็น “โลตัส โก เฟรช” (Lotus’s go fresh) โดยทยอยปรับสาขาต่างๆ และทุกช่องทางการสื่อสาร ภายใต้คอนเซ็ปต์ “รู้สึกดีดี ทุกวันที่โลตัส”

พร้อมกับใช้ Color Identity ใหม่เป็นสีเขียวสดใส เพื่อปรับภาพลักษณ์ให้แบรนด์ดูทันสมัยขึ้น ขณะเดียวกันตัวอักษร Lotus’s เครื่องหมาย ออกแบบเป็นรูป Drop Pin สื่อถึงการปักหมุกให้โลตัสเป็นจุดหมายที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า ส่วนตัวอักษร s สื่อถึงความ Smart ครอบคลุมทุกด้าน ที่มาจากเอกลักษณ์ที่สร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ 4 ข้อคือ

– Total smart supply chain and innovative products คัดสรรคุณภาพที่ดีที่สุด เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

– Seamless omni-channel experience ให้คุณรู้สึกดีดี ได้ทุกที่ ทุกเวลา

– Integrated technology and data innovation ความคุ้มค่าที่มากกว่าแค่ราคา และออกแบบมาเพื่อคุณโดยเฉพาะ

– Committed sustainability living เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน

Lotus's

ไม่เพียงแต่พลิกโฉมสาขาเท่านั้น ยังได้รีแบรนด์สินค้า “House Brand” (เฮาส์แบรนด์) และปรับสินค้า “Exclusive Brand” ด้วยเช่นกัน

ในส่วนสินค้า House Brand ได้รีแบรนด์ทั้งกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานที่เน้นราคาถูก ที่จากเดิมอยู่ภายใต้แบรนด์ “เทสโก้ คุ้มค่า” ปรับเหลือคำว่าแบรนด์ “คุ้มค่า” ขณะที่กลุ่มสินค้าระดับกลาง จากเดิมใช้ชื่อแบรนด์ “เทสโก้” ได้เปลี่ยนเป็น “โลตัส” (Lotus’s) ซึ่งมีโปรดักต์ไลน์ที่กว้างกว่าแบรนด์คุ้มค่า ครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มอาหาร กลุ่มสินค้าทำอาหาร กลุ่มอุปโภค เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า กระดาษชำระ และอุปกรณ์ทำความสะอาดในครัวเรือนต่างๆ กลุ่มสินค้าอาหารสัตว์

ขณะที่สินค้า Exclusive Brand เป็นแบรนด์จากโลตัสเช่นกัน ได้เพิ่มแบรนด์ใหม่ เช่น Prestigo แบรนด์เบเกอรี่ระดับพรีเมียมของโลตัส มีสินค้าเด่นคือ ครัวซองต์ อุปกรณ์เสริมความงาม Aliv ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก Cute&Care และแบรนด์เสื้อผ้า MeStyle

lotuss-go-fresh

การได้ธุรกิจ “โลตัส” กลับเข้ามาอยู่ในเครือซีพี เป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญของการสร้าง Retail Network อาณาจักรค้าปลีกกลุ่มซีพีให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และลงลึกระดับชุมชน ประกอบด้วย

– ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่น อีเลฟเว่น” จำนวนสาขา 12,225 สาขา (ณ ไตรมาส 3/2564) และตั้งเป้าภายในปี 2564 ต้องมี 13,000 สาขา

– ไฮเปอร์มาร์เก็ต “โลตัส” ปัจจุบันมี 222 สาขา

– ซูเปอร์มาร์เก็ต “โลตัส” มี 192 สาขา

– มินิ ซูเปอร์มาร์เก็ต “โลตัส โก เฟรช” 1,750 สาขา

– ค้าส่ง “แม็คโคร” 145 สาขา (ในไทย 138 สาขา – ต่างประเทศ 7 สาขา)

– ร้านค้าปลีก “ซีพี เฟรชมาร์ท” ในเครือซีพีเอฟ กว่า 350 สาขา

– ซูเปอร์มาร์เก็ต “ซีพี เฟรช” ในเครือซีพีเอฟ เน้นจำหน่ายวัตถุดิบอาหารสด เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ซีฟู้ด ทดลองเปิดสาขาแรกที่ปากช่อง และตั้งเป้าเปิด 100 สาขา

การมีเชนค้าปลีกค้าส่ง ตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงขนาดใหญ่อย่างไฮเปอร์มาร์เก็ต และธุรกิจค้าส่ง รวมแล้วกว่า 14,800 สาขา และยังคงรุกขยายต่อเนื่อง นี่จึงเป็นทั้ง Retail – Wholesale Network ใหญ่ที่จะ Synergy กลุ่มธุรกิจต่างๆ ในกลุ่มซีพี ในการใช้เครือข่ายค้าปลีกค้าส่งเหล่านี้ เป็นแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Physical Store และ Online Store รวมทั้งการพัฒนาสู่โมเดล O2O เชื่อมต่อกัน ในการเข้าถึงผู้บริโภค และการได้มาซึ่งฐานข้อมูลลูกค้า (Big Data) มหาศาล เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ ของอาณาจักรกลุ่มซีพี

Makro

แม็คโคร เชนค้าส่งในเครือซีพี

 

Central x Grab” ผนึกกำลังสร้าง “Omnichannel Ecosystem

ยุทธศาสตร์สำคัญของ “กลุ่มเซ็นทรัล” (Central Group) คือการนำพาธุรกิจในเครือก้าวเข้าสู่โมเดล Omnichannel หรือ “O2O” และหนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้เร็ว คือ การเข้าไปลงทุนในแพลตฟอร์มดิจิทัลใหญ่อย่าง Grab ประเทศไทย” เป็น Super App ใหญ่ของอาเซียน

– ปี 2562 “บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด” (Central Group) ประกาศความร่วมมือกับ บริษัท แกร็บ โฮลดิ้งส์ อิงค์ (แกร็บ) เพื่อลงทุนใน “แกร็บ ประเทศไทย” เป็นมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเข้าถือหุ้นแบบไม่มีอำนาจควบคุมในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ

Central Group x Grab

– ในปี 2564 “บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” หรือ CRC ได้ให้ Hillborough Group” เป็นบริษัทย่อยของ CRC ซื้อหุ้น Porto Worldwide Limited” (“Porto WW”) เป็นจำนวน 133,545,740 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 67% ด้วยเงินลงทุน 4,500 ล้านบาท จากบริษัท OAL Holding Limited (“OAL”) ที่ได้ใช้สิทธิขายคืนหุ้น Porto WW

ทั้งนี้ Porto Worldwide Limited” เป็นบริษัทที่ลงทุนใน “บริษัท แกร็บแท็กซี่ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด” ในสัดส่วน 40%

ดังนั้นโครงสร้างผู้ถือหุ้นใน Porto Worldwide Limited จึงประกอบด้วย

Hillborough Group” บริษัทในเครือ CRC ถือหุ้น 67%

Chipper Global Limited ถือหุ้น 33% (Chipper Global Limited เป็นบริษัทที่ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ถือหุ้นทางอ้อมในสัดส่วน 100%)

– เพราะฉะนั้นกล่าวได้ว่าปัจจุบันเครือเซ็นทรัลยังคงถือหุ้นอยู่ใน “Grab ประเทศไทย” หรือ “แกร็บแท็กซี่ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย)” ในสัดส่วน 40% นับตั้งแต่ปี 2562 เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

การลงทุนใน Grab ประเทศไทย จะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในการพัฒนา Omnichannel Ecosystem ให้กับกลุ่มเซ็นทรัล เนื่องจาก Grab เป็นแพลตฟอร์ม Super App ที่รวบรวมบริการในชีวิตประจำวัน และเชื่อมต่อ Online – Offline ครอบคลุมทั้งตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เพื่อทำให้กลุ่มเซ็นทรัลสามารถนำบริการที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Grab ผสานเข้ากับกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในเครือเซ็นทรัล เช่น ธุรกิจค้าปลีก และแบรนด์สินค้า ภายใต้การบริหารของเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ที่ต้องการผลักดันให้เป็น Digital Retail ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้การบริหารของเซ็นทรัลพัฒนา ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ภายใต้การบริหารของ บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา เช่น

– บริการส่งอาหาร : ให้บริการส่งอาหารจากร้านอาหารและแบรนด์ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล  ผ่านบริการ Grab Food เพื่อขยายฐานลูกค้า

– บริการโลจิสติกส์ : มอบบริการส่งพัสดุ On Demand และส่งพัสดุด่วนสำหรับธุรกิจในเครือกลุ่มเซ็นทรัลและพาร์ทเนอร์ ผ่านบริการ Grab Express

– บริการเดินทาง: มอบบริการเดินทางที่ปลอดภัยและสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า แขกที่เข้าพัก และนักท่องเที่ยว ในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและโรงแรมในเครือบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล พร้อมสิทธิพิเศษมากมาย

– บริการจองโรงแรมและที่พัก : เชื่อมต่อการให้บริการจองโรงแรมแก่ลูกค้าที่เข้าพักโรงแรมในเครือกลุ่มเซ็นทรัล

– บริการการเงิน : รองรับ Financial Technology

Grab

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

 

จับตาค้าปลีกไทย ก้าวสู่ยุค Digital Asset และ Metaverse

นอกจากพัฒนาโมเดล O2O ผสานระหว่าง Physical – Digital เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ และจะปรากฏให้เห็นมากขึ้นในวงการค้าปลีกไทย คือ การขยับเข้าสู่ยุค “Digital Asset” และ “Metaverse”

เช่น รองรับคริปโตสกุลเงินต่างๆ ทำ NFT Marketplace เปลี่ยนระบบ CRM จากสะสมแต้ม เป็นรูปแบบ Digital Coin ใช้แทนเงินสดซื้อสินค้า หรือสิทธิพิเศษต่างๆ รวมถึงเข้าสู่โลก Metaverse

ด้วยการใช้โมเดลสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล และเทคโนโลยีการเงินด้านต่างๆ ซึ่งเป็นวิธี Short cut ในการทำให้อาณาจักรธุรกิจค้าปลีกของตนเอง ขยับเข้าสู่ Digital Asset ประเภทต่างๆ ได้เร็วขึ้น

– The Mall Group x Bitkub จับมือตั้งบริษัทร่วมทุน “บริษัท บิทคับ เอ็ม จำกัด” ในสัดส่วนการถือหุ้น 50 : 50 เพื่อร่วมลงทุนและบริหาร “บิทคับ เอ็ม โซเชียล” ( BITKUB M SOCIAL) เป็น Digital Communiy แหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ พบปะสำหรับผู้ลงทุน หรือผู้สนใจใน Digital Asset บนพื้นที่กว่า 2,000 ตารางเมตร ชั้น 8 – 9 โซนฮีลิกซ์ ควอเทียร์, ดิ เอ็มควอเทียร์

ขณะเดียวกันเดอะมอลล์ กรุ๊ป ยังได้เปิดรับ Cyptocurrency 7 สกุลเงิน คือ BITCOIN, TETHER, ETHEREUM, STELLAR, XRP, BITKUB COIN และ JFIN COIN แลกเป็นสินค้า หรือบัตรกำนัล ทั้งห้างและศูนย์การค้าในเครือเดอะมอลล์ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม

The Mall Group x Bitkub

คุณศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป (Photo Credit : Facebook The Mall Thailand)

กลุ่มยามพิวรรธน์ กับภารกิจปั้น SuperApp ONESIAM เพื่อเป็น New Growth Engine ที่จะทำให้ Business Ecosystem ของสยามพิวรรธน์ขยายออกไปมากกว่าการเป็น Physical Shopping Mall และรองรับ Digital Asset หลากหลายประเภท

ในต้นปี 2565 สมาชิกแอปฯ จะสามารถใช้ ONESIAM SuperApp ในการทำธุรกรรมดิจิทัลเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับ “Digital Assets” และ “Digital Utility” เพิ่มเติมจาก Loyalty Program เช่น

ในช่วงแรกนำเสนอประสบการณ์ที่เป็นมากกว่ารีเทลระดับโลกในรูปแบบ “งานศิลปะดิจิทัล NFT” ด้วยการเปิดตัว ความร่วมมือกับ KASIKORN X หรือ KX เป็นพันธมิตรแรกในการก่อตั้ง Coral – Super Simple NFT Marketplace (CORALWORLD.CO) เพื่อสนับสนุน ผลักดัน ต่อยอด งานศิลปะ วัฒนธรรม และไลฟ์สไตล์ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ของศิลปินไทยและภูมิภาคในประเทศไทยและไปสู่ระดับโลก และร่วมมือกับ Zipmex ในการแลกซื้อคอลเลกชันเอ็กซ์คลูซีฟผ่าน Zipmex Token (ZMT)

จากนั้นพัฒนาสู่ช่วงที่สองในปี 2565 ซึ่งทางสยามพิวรรธน์ได้ร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำ เช่น X Spring (เอ็กซ์สปริง) J Ventures (เจ เวนเจอร์ส) เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ด้านสินทรัพย์ดิจิทัลครบวงจรภายในปีหน้า

พร้อมทั้งเตรียมขยายศักยภาพการเชื่อมโลกจริง และโลกเสมือนจริงบน Metaverse” ด้วยการจับมือกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ลูกค้าจะได้สัมผัสประสบการณ์ที่เชื่อมต่อประโยชน์อันหลากหลายไว้ในที่เดียว และจะมีการพัฒนาธุรกิจและกิจกรรมดิจิทัลเรื่องอื่น ๆ บน ONESIAM SuperApp อย่างต่อเนื่อง

ONESIAM-SuperApp

คุณชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์

เซ็นทรัล วางงบลงทุนด้านเทคโนโลยีกว่า 3,000 ล้านบาทภายใน 5 ปี ในการพัฒนา CENTRAL APP สู่การเป็น Super App ที่มีบริการต่างๆ จากห้างเซ็นทรัลในแอปเดียว เสมือนยกทั้งห้างมาไว้บนมือถือ พร้อมเพิ่มประสบการณ์การช้อปปิ้งและสร้างความสะดวกให้เข้าถึงไลฟ์สไตล์ความต้องการส่วนบุคคลมากขึ้น

นอกจากลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลแล้ว ก่อนหน้านี้สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่าเครือเซ็นทรัล รีเทลทดลองให้พนักงานในกลุ่มบริษัทใช้ Digital Currency “C-Coin” ซึ่งพัฒนาโดย Central Tech ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ด้าน Omnichannel, e-Commerce, Customer Relationship, Digital Currency และเทคโนโลยีใหม่ที่จะนำมาใช้กับกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัล รีเทล

Central-App-Central-Retail

“ในปีหน้าจะเป็น Milestone สำคัญของการเติบโตของสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น Cypto (คริปโต), NFT, Gaming ยิ่งขณะนี้มียักษ์ใหญ่เข้ามาเล่นในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว จึงเป็นสัญญาณว่าภายใน 1 – 2 ปีนี้ อาจจะได้เห็นผู้ใช้ Digital Asset เหล่านี้ ทั่วโลกหลัก 1,000 ล้านคน จากปัจจุบันมี 200 – 300 ล้านคน

รอบนี้องค์กรต่างๆ จะปรับตัวได้เร็ว เพราะในสมัยอินเทอร์เน็ตมา หลายองค์กร หลายแบรนด์ปรับตัวไม่ทัน แต่คราวนี้ทุกคนรู้แล้วว่า ทั้ง Blockchain, Cypto, Metavers หรืออื่นๆ มาแน่นอน  

แม้ภาพที่ปรากฏขึ้นเวลานี้อาจจะยังมัวๆ อยู่ แต่แบรนด์มองว่าตนเองต้องไม่พลาด ทุกคนต้องเข้าไปอยู่ในเทรนด์นี้ก่อน” คุณอริยะ พนมยงค์ ทำหน้าที่ประธานบริหารสายงานนวัตกรรมกลุ่มสยามพิวรรธน์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้ก่อตั้งบริษัท Transformational ฉายภาพแนวโน้มของสินทรัพย์ดิจิทัลในปี 2565 

คุณอริยะ พนมยงค์ ทำหน้าที่ประธานบริหารสายงานนวัตกรรม บริษัท สยามพิวรรธน์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้ก่อตั้งบริษัท Transformational

 

“เซ็นทรัล” บุกสยามสแควร์ คว้าสิทธิผู้เช่าที่ดิน Block A 30 ปี พร้อมตัดสินใจทุบสกาลา!

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวใหญ่ในวงการค้าปลีกไทยในรอบปี 2564 คือ “เซ็นทรัลพัฒนา” คว้าสิทธิเช่าที่ดิน Block A เขตพาณิชย์สยามสแควร์ จากสำนักงานทรัพย์สิน เป็นระยะเวลา 30 ปี

พื้นที่ Block A โดยตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวัน จุดตัดระหว่างถนนพญาไท กับถนนพระรามที่ 1 โดยสภาพปัจจุบันคือ โรงภาพยนตร์สกาลา และอาคารพาณิชย์ สูง 3 – 4 ชั้น จำนวน 79 คูหา ส่วนใหญ่ประกอบกิจการหลากหลาย เช่น คลินิก ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง ธนาคาร และโรงเรียนกวดวิชา

มีเนื้อที่โครงการทั้งหมดประมาณ 7 ไร่ 31 ตารางวา แต่อนุญาตให้ก่อสร้างโครงการภายในกรอบพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ 3 งาน 89 ตารางวา โดยต้องเว้นระยะร่นบนพื้นที่ถนนสยามสแควร์ซอย 7 จำนวน 6 เมตร และสยามสแควร์ซอย 1 จำนวน 9 เมตร เป็นอย่างน้อยตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง และการดำเนินการ

นั่นเท่ากับว่า “เซ็นทรัลพัฒนา” จะสามารถก่อสร้างโครงการได้ประมาณ 5 ไร่ 3 งาน 89 ตารางวา หรือราว 9,556 ตารางเมตรเท่านั้น

Scala_Siam-Square

แม้จะเป็นที่ดินแปลงเล็ก เมื่อเทียบกับการพัฒนาโครงการอื่นของเซ็นทรัลพัฒนา ที่ล้วนแล้วแต่เป็นโครงการใหญ่ และต้องจ่ายค่าตอบแทนรายปีให้กับ “สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 5,902 ล้านบาท (ค่าตอบแทนการทำสัญญา (Upfront) 742 ล้านบาท + ค่าตอบแทนรายปี เป็นระยะเวลา 30 ปี 5,160 ล้านบาท

อีกทั้งในย่านสยามสแควร์มี Retail Developer ใหญ่ที่อยู่มายาวนานอย่างกลุ่มสยามพิวรรธน์ที่มีถึง 3 ศูนย์การค้าคือ สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน และกลุ่ม MBK Group เจ้าของศูนย์การค้า MBK Center

แต่ทำเลดังกล่าวจะเป็น Strategic Location ของเซ็นทรัลในการปักหมุดโครงการในย่านสยามสแควร์ เพราะไม่เพียงแต่เป็นทำเลทองใจกลางเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็น Destination สำคัญที่ดึงดูดทั้งคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติมาที่นี่ และจะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญของการพัฒนาโครงการในทำเลใจกลางเมืองของกลุ่มเซ็นทรัล ยึดครองทำเลเพชรเม็ดงาม ตั้งแต่ “สยามสแควร์” – “ย่านราชประสงค์” และ “ชิดลม – เพลินจิต”

โดยแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณ Block A ทาง “เซ็นทรัลพัฒนา” ได้ออก Official Statement เมื่อวันที่ 6 กันยายน จะสร้างสรรค์โครงการนี้ให้เป็นแลนด์มาร์กสำคัญอีกแห่งของกรุงเทพฯ ที่จะจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ เป็นศูนย์กลางและพื้นที่แห่งการเรียนรู้สมัยใหม่ และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนในแง่มุมต่างๆ

Siam-Square-Block-A

Credit : PMCU

อย่างไรก็ตาม บนที่ดินดังกล่าว มีหนึ่งในแลนด์มาร์กที่อยู่คู่ย่านสยามสแควร์มายาวนาน นั่นคือ “โรงภาพยนตร์สกาลา” (SCALA) หลังจากปิดตัวลงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 พร้อมกับฉายภาพยนตร์อำลาเรื่องสุดท้าย “Cinema Paradiso” จากนั้นมา สังคมต่างมีคำถามว่า ต่อไปอาคาร หรือโครงสร้างโรงภาพยนตร์สกาลา จะยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้หรือไม่ เพราะด้วยความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานการออกแบบลวดลายสไตล์ Art Deco ซึ่งเคยได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ปี 2555 และยังเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

แต่แล้วหลังจากเซ็นทรัลคว้าสิทธิ์เช่าที่ดินดังกล่าว และได้รับมอบพื้นที่จากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางเซ็นทรัลพัฒนาได้ตัดสินใจ “ทุบสกาลา” เพื่อดำเนินการก่อสร้างโปรเจคใหม่ โดยปรากฏเป็นภาพ และคลิบวิดีโอการรื้อถอนตาม Social Media ทำให้เกิดกระแสสังคมพูดถึงกรณีดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วเซ็นทรัลจะออกแบบโครงการใหม่บนทำเลนี้ในคอนเซ็ปต์ และรูปร่างหน้าตาอย่างไร จะมีการนำสถาปัตยกรรม ลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของโรงภาพยนตร์สกาลากลับมาหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป ?!?

Scala-Siam Square

 

“กลุ่มเซ็นทรัล” ปิดดีลซื้อกิจการ Selfridges เติมเต็มพอร์ตห้างฯ หรูในยุโรป ต่อยอดสู่ Luxury Omnichannel  

เป็นความเคลื่อนไหวใหญ่ของวงการค้าปลีกส่งท้ายปี 2564 เมื่อ “กลุ่มเซ็นทรัล” (Central Group) ผนึก “ซิกน่า” ปิดดีลเข้าซื้อกิจการของกลุ่ม “Selfridges” (เซลฟริดเจส) จากตระกูลเวสตัน (Weston Family) ประกอบด้วยธุรกิจห้างสรรพสินค้ารวมทั้งหมด 18 แห่ง เช่น

ห้างสรรพสินค้า Selfridges (เซลฟริดเจส) บนถนนออกซ์ฟอร์ด ในกรุงลอนดอน แมนเชสเตอร์ และเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ

ห้างสรรพสินค้า de Bijenkorf (ดีแบนคอร์ฟ) ประเทศเนเธอร์แลนด์

ห้างสรรพสินค้า Brown Thomas (บราวน์ โทมัส) และ Arnotts (อาร์นอตส์) ประเทศไอร์แลนด์

รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ และกิจการด้านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั้งหมดอีกด้วย  

ขณะที่มูลค่าการซื้อขาย ก่อนหน้านี้สำนักข่าว Bloomberg ได้รายงานว่า ตระกูลเวสตัน พิจารณาราคาขายอยู่ที่ 4,000 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 1.8 แสนล้านบาท

Central Group_Selfridges

Selfridges

เหตุผลสำคัญที่ “กลุ่มเซ็นทรัล” จับมือ “ซิกน่า” ซื้อธุรกิจในยุโปรเพิ่มเติม เนื่องจาก

1. ห้างฯ ของกลุ่ม Selfridges จะเข้ามาเสริมทัพห้างสรรพสินค้าหรูในประเทศท่องเที่ยวชั้นนำ ที่กลุ่มเซ็นทรัล และซิกน่าดำเนินธุรกิจอยู่ อาทิ รีนาเชนเต ประเทศอิตาลี อิลลุม ประเทศเดนมาร์ก โกลบุส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มคาเดเว ประเทศเยอรมนี และประเทศออสเตรีย

2. การผนึกกำลังครั้งนี้ จะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม และส่งเสริมความสัมพันธ์ของแบรนด์ชั้นนำในทุกโลเคชั่นทั่วโลกให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเพื่อมุ่งหน้าสู่การเป็นผู้นำห้างสรรพสินค้า Luxury Omnichannel เต็มรูปแบบระดับโลก

3. กลุ่มเซ็นทรัลคาดหวังว่า หลังจากการรวมธุรกิจใหม่นี้ จะทำให้กลุ่มบริษัทมียอดขายเติบโตถึง 7,000 ล้านยูโรในปี 2024 จาก 8 ประเทศ ใน 35 เมืองสำคัญในยุโรป ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2019 มียอดขายรวมทั้งหมด 5,000 ล้านยูโร

Central Group_de Bijenkorf_Amsterdam

de Bijenkorf, Amsterdam

ทั้งนี้ การลงทุนในกลุ่ม Selfridges ครั้งนี้ จะเป็นการร่วมทุน 50 : 50 ระหว่างกลุ่มเซ็นทรัล กับซิกน่า โดยในส่วนของกลุ่มเซ็นทรัลนั้น บมจ. เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น” (CRC) มีสิทธิพิจารณาเข้าลงทุน ในส่วนธุรกิจห้างสรรพสินค้าที่ไม่รวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคณะผู้บริหารและกรรมการบริษัท CRC จะดำเนินการศึกษา พิจารณาความเหมาะสมและผลตอบแทนการลงทุนอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่ อย่างไรก็ดี กลุ่มเซ็นทรัลมีความพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปในการลงทุนทั้งหมด

“การลงทุนในกลุ่ม Selfridges ในครั้งนี้ ซึ่งรวมไปถึงที่ดิน และอาคารห้าง Selfridges บนถนนออกซ์ฟอร์ด ตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางบนถนนช้อปปิ้ง ณ กรุงลอนดอน มากว่า 100 ปี ด้วยความที่กลุ่มเซ็นทรัล และซิกน่าเป็นธุรกิจครอบครัว เราจึงมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมและแตกต่าง ทั้งภายในห้างและช่องทางดิจิทัลต่างๆ สำหรับลูกค้าทั้งที่อยู่ในประเทศ และนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ

เพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปของกลุ่ม Selfridges ในอีก 100 ปีข้างหน้า พวกเราพร้อมที่จะทำงานกับผู้บริหารและเพื่อนพนักงานของกลุ่ม Selfridges เพื่อมุ่งมั่นสู่การเป็นบริษัทรีเทลชั้นนำเป็นเลิศระดับโลก” คุณทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มเซ็นทรัล กล่าวถึงการซื้อกิจการครั้งนี้

Central Group_Tos Chirathiva

คุณทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มเซ็นทรัล

ทางด้าน อลานา เว ประธานของกลุ่มเซลฟริดเจส กล่าวว่า “การเข้าซื้อกิจการของห้าง Selfridges โดยกลุ่มเซ็นทรัลและซิกน่าเป็นสิ่งการันตีถึงความสำเร็จของคุณพ่อ (Galen Weston) ที่มีความตั้งใจในการมุ่งมั่นที่จะทำให้ห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเป็นห้างสรรพสินค้าที่สวยและครบครันที่สุด ความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจของการทำธุรกิจในทุกด้านมาอย่างยาวนาน พร้อมการเติบโตอย่างยั่งยืน พวกเราภูมิใจที่ได้ส่งต่อไปยังเจ้าของใหม่ซึ่งมีรากฐานจากธุรกิจครอบครัวที่มีความตั้งใจในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว และพร้อมเป็นพลังขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งต่อไป”

Central Group_Arnotts

Arnotts

ขณะที่ สเตฟาโน่ เดลลา วาลเล่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มเซ็นทรัล ยุโรป กล่าวว่า กลุ่ม Selfridges เป็นกิจการที่สองที่เราเข้าซื้อในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 เป็นเครื่องยืนยันถึงความเชื่อมั่นในทั้งธุรกิจค้าปลีกในใจกลางเมืองและอนาคตของห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนเมือง

“กลุ่มเซ็นทรัลเชื่อมั่นว่าเมื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลง ชีวิตที่เป็นปกติและการสังสรรค์ต่างๆจะกลับมา กลุ่ม Selfridges จะเข้ามาเติมเต็มธุรกิจห้างสรรพสินค้าและ Omnichannel ของกลุ่มเซ็นทรัล และทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง 

Central Group_Brown Thomas

Brown Thomas


แชร์ :

You may also like