ปัจจุบันเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “โซเชียลมีเดีย” (Social Media) เข้ามามีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของผู้คนสูงขึ้นเรื่อยๆ และผู้บริโภคชาวไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้เวลาไปกับ Social Media มากติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยคิดเป็น 78% ของประชากรทั้งหมด โดยมีการใช้งาน Facebook มากเป็นอันดับ 8 ของโลก ส่วน Facebook Messenger ใช้มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และ Instagram มากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก จากพฤติกรรมเหล่านี้ Social Media จึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญในการทำตลาดมากขึ้น เพราะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้เห็นมุมมองการทำตลาดบนแพลตฟอร์ม Social Media ในปีหน้า Digital Tips Academy ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมและจัดสัมมนาด้าน Digital Marketing จัดงาน “Social Media Platform Conference 2021” ครั้งที่ 1 เชิญโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มระดับโลก และกูรูการตลาดดิจิทัลแถวหน้าระดับประเทศมแบ่งปันความรู้การใช้เครื่องมือบน Social Media Platform ต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการก้าวทันเทรนด์ พฤติกรรมผู้บริโภคและสร้างโอกาสใหม่ให้ธุรกิจโตอย่างสตรองในยุค Next Normal
เปิด Insight คนใช้งาน LINE พร้อมฟีเจอร์ใหม่ปี 2022
เริ่มด้วยการนำเสนอความสำคัญของ Social Media กับ คุณอธิคม จิตตวนิชประภา รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด หน่วยงานลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด มหาชน บอกว่า Social Media Platform อยู่กับทุกคนมานานมากๆ แต่ในยุคที่ Digital เติบโตอย่างเต็มตัว ยิ่งมีบทบาทและทรงพลังมากขึ้น จะเห็นได้ว่าในหลายๆ ธุรกิจ นำ Social Media เข้าไปปรับใช้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างคอนเทนต์ และในแต่ละแพลตฟอร์มจะมี Character วิธีการต่างๆ ของตัวเองที่ชัดเจน หลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะเห็นหลายธุรกิจประสบความสำเร็จจากการนำ Social Media มาใช้ให้ถูกจุด และเกิดประโยชน์สูงสุด
จากนั้นเข้าสู่ช่วงให้ความรู้กันแบบจุกๆ จากโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มต่างๆ เริ่มจาก LINE for Business ในหัวข้อ “พาธุรกิจโตในปี 2022 ด้วย LINE for Business” โดย คุณทราย จารุเสน Business Developement Manager, SME Business LINE ประเทศไทย ได้พูดถึงการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์ม LINE for Business รวมถึงฟีเจอร์ใหม่ และเทรนด์ในปี 2022 ที่ธุรกิจต้องเกาะติด โดยสรุปออกมา 6 ข้อที่น่าสนใจ ดังนี้
- LINE มีผู้ใช้งาน 50 ล้านยูสเซอร์ กลุ่มหลักคืออายุ 25 – 35 ปี และ 50 ปีขึ้นไป โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้ช้อปปิ้ง ออนไลน์เก่งขึ้น ภายใน 2 ปี เติบโตเพิ่มขึ้น 15% โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป มีการช้อปมากที่สุด
- ธุรกิจการบริการ ของกินของใช้ และการพัฒนาตัวเอง คือธุรกิจที่ได้รับความสนใจในปี 2021 จากก่อนหน้าที่จะเกิดโควิด-19 สินค้าอุปโภคบริโภคเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอย่างมาก
- LINE for Business ประกอบด้วย 3 เครื่องมือหลัก ได้แก่ LINE Official Account, LINE Shopping และ LINE Ads Platform โดย LINE Official Account เป็นเครื่องมือสำหรับแชทเพื่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้า ปัจจุบันมีเพิ่มผู้ใช้งานเพิ่มจากเป็น 5 ล้านราย ในขณะที่ LINE Shopping เป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถให้ลูกค้าเข้ามาซื้อของผู้ใช้งาน line Shopping โดยมีผู้ใช้งานมากกว่า 300,000 ราย ส่วน LINE Ads Platform เป็นการทำโฆษณาผ่าน LINE ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานสูงขึ้นเกือบ 200%
- ปัจจุบัน LINE Official Account มีผู้ใช้งานเกือบ 5 ล้านบัญชี โดยธุรกิจรีเทล การศึกษา แฟชั่น ความงาม ความบันเทิง อาหารสุขภาพ และออกกำลังกาย มีการใช้งานสูงสุดในปี 2021
- ปีนี้ LINE มีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ทั้ง LINE OA Call ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ผู้ประกอบการสามารถยกหูคุยหรือวิดีโอ คอลล์กับลูกค้าได้สะดวกสบาย และ LINE Voom ซึ่งเป็นการโพสต์ VDO สั้นบน Timeline ได้เลย
- Openchat เติบโต 63% ในช่วงโควิด
การสื่อสารมีพลังกว่าที่คิด
ต่อด้วยแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook คุณภารดี สินธวณรงค์ Country Marketing Manager, Facebook Thailand มาให้ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการสื่อสารในหัวข้อ “The Power of Being a Conversational Business” เพราะการสื่อสารที่ดีนั้น ไม่เพียงจะช่วยสร้างความสะดวกสบาย แต่ยังสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า และทำให้เกิดความไว้วางใจ และกลายมาเป็นความภักดีในระยะยาว
แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน กว่าธุรกิจจะเข้าถึงลูกค้าได้ทันท่วงที ต้องใช้ช่องทางในการสื่อสารกว่า 6-7 ช่องทาง และ 72% ยังมองว่าการรอสายโทรศัพท์เป็นสิ่งที่เสียเวลา นอกจากนี้ การสำรวจยังพบอีกว่า 3 ใน 4 หรือ 75% ของผู้ใช้งานส่วนใหญ่ต้องการสื่อสารกับแบรนด์ในรูปแบบเหมือนเพื่อนสนิท หรือ ครอบครัว และ 2 ใน 3 ของผู้ใช้งาน Facebook ต้องการซื้อสินค้ากับธุรกิจหรือแบรนด์ที่สามารถสื่อสารด้วยการส่งข้อความได้ ยิ่งในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ยิ่งเป็นตัวเร่งให้คนหันมาสื่อสารผ่านการส่งข้อความกันมากขึ้น เพราะบางร้านเปิดให้บริการหน้าร้านไม่ได้ ดังนั้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการวางกลยุทธ์การสื่อสารที่สามารถคุยกับลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ปัจจุบัน Facebook เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานกว่า 50 ล้านบัญชี และจากการที่ผู้คนชอบสื่อสารด้วยข้อความมากกว่าการโทรคุย ทำให้ Facebook พัฒนาเครื่องมือชื่อว่า Facebook Business Solution เพื่อแก้ Pain Point ธุรกิจเรื่องการสื่อสารให้สามารถเชื่อมต่อกับผู้คนให้ใกล้ชิดกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาว
3 SMEs ไทยแจ้งเกิดธุรกิจบนโซเชียลมีเดีย
ในฟากผู้ประกอบการ SMEs ได้มาแชร์ไอเดียการนำโซเชียลมีเดียมาเป็นเครื่องมือทำตลาดจนแบรนด์เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เริ่มจาก คุณจักรกฤต โยมพยอม เจ้าของสำนักพิมพ์ Avocado Book สำนักพิมพ์ของคนเพื่อนเยอะ! มีทั้งหนังสือประเภท Fiction และ Non Fiction ผ่านการเล่าเรื่องแบบไม่จำกัดสไตล์ โดยเล่มแรกที่วางขายมีชื่อว่า “167 เฉพาะกิต” เป็นผลงานแรกของสำนักพิมพ์ Avocado Book เขียนโดย กิต – กฤตย์ จีรพัฒนานุวงศ์ Three Man Down เป็นลิมิเต็ดอิดิชั่น และพรีออเดอร์เท่านั้น
ส่วนเล่มถัดมาคือ “มาริสา อายุ 27 ปี” เป็นการรวมเรื่องสั้น 12 เรื่องจากนักเขียน 12 นักปรุงที่มาพร้อม 12 เมนูเด็ดผ่านเรื่องของพวกเขาทั้ง 12 ท่าน ทั้งยังมีเว็บไซต์ชื่อ Avocado.co ซึ่งในเว็บไซต์ไม่ได้ขายแต่หนังสือของตัวเองเท่านั้น แต่ยังตั้งใจให้เป็นเหมือนกับคอมมูนิตี้ของคนรักการอ่าน นอกจากนี้ ยังรับผลิตหนังสือที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเองหรือเกี่ยวกับแบรนด์ตัวเองให้กับผู้ประกอบการด้วย โดยในปีหน้า ยังมีโปรเจคมากมายที่จะรวมนักเขียนทั่วฟ้าเมืองไทยมาถ่ายทอดเรื่องราวสนุกๆ ให้กับคนอ่านอย่างต่อเนื่อง
ถัดมา คุณอมลานันท์ สังสิทธิวงศ์ เจ้าของแบรนด์ Slip to Sleep แบรนด์ชุดนอนที่สามารถใส่โดยไม่ต้องใส่บรา และไม่ต้องกลัวโป้ ซึ่งความพิเศษคือ “การใช้กระเป๋า 2 ข้าง” บริเวณหน้าอก และใช้ผ้าหนา 3 ชั้นในบริเวณกระเป๋าทำให้ปิดมิดชิด รวมถึงการใช้ผ้าคอตตอนซาติน ซึ่งเป็นผ้าที่ไม่ทำให้รูปเข้าตัวซึ่งช่วยการปกปิด และสามารถป้องกันได้ 100% ช่วยให้ประสบการณ์นอนเหมือนเดิม เพราะตัวผ้าทำหนาด้านนอก 3 ชั้น แต่ไม่หนาด้านใน ทั้งยังนำทฤษฎี Color Theory มาใช้ โดยเน้นสีเสื้อโทนเย็นเป็นหลัก เพื่อช่วยให้หลับสบายตลอดคืน
และ คุณเสถียร บุญมานันท์ CEO บริษัท Metaverse XR เจ้าของบริษัท Metaverse XR ซึ่งนำเสนอในมุมธุรกิจโลกเสมือน โดยคุณเสถียรให้นิยาม Metaverse ได้น่าสนใจไว้ว่า “โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มใหม่ โลกเสมือนของคนรุ่นใหม่” คือ การสร้างให้คนมี Second Life หรือโลกที่สองของเรา คนที่อยู่ในโลกเสมือนสามารถใช้ชีวิตได้อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถทำอะไรก็ได้ในโลกใบใหม่ ซึ่งนี่คือความน่าสนใจ และเป็นบริษัทแรกๆ ของคนไทย ที่สามารถสร้างบริษัทแข่งกับระดับโลกได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ Metaverse ที่คนไทยตื่นตัวกันมาก จากจุดเริ่มต้น SMEs สู่การกล้าสร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นของคนไทย โดยคนไทยอย่างแท้จริง!!
บันเทิง-ไลฟ์สไตล์-ความสามารถพิเศษ คอนเทนต์มาแรงบน TikTok
ขณะที่ คุณสิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing, Global Business Solutions at TikTok กล่าวในหัวข้อ “Level Up 2022 with TikTok” ว่า TikTok สร้างความบันเทิงให้กับลูกค้าระหว่างการช้อปปิ้ง มอบประสบการณ์ที่มากกว่าการขายของ ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ชม TikTok มากกว่า 1,000 ล้านคนต่อเดือน นอกจากนี้ ยังเห็นวิดีโอใหม่ๆ ถูกอัพโหลดบนแพลตฟอร์มมากกว่า 800 ล้านวิดีโอและมีผู้ชมมากกว่า 1,000 ล้านล้านวิวต่อเดือน
สำหรับประเทศไทย TikTok มีผู้ใช้งานเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ เดือน สาเหตุสำคัญมาจากการที่ทุกคนสามารถเข้ามาค้นหาความสุขได้ในแพลตฟอร์ม ทั้งยังได้เจอกับผู้สร้างสรรค์เนื้อหาที่อาจจะไม่ได้เจอจากที่อื่น โดยผลสำรวจ พบว่า 85% จะเจอเนื้อหาที่อยากดูและมีความสนุก และมากกว่า 85% เจอเนื้อหาใหม่ๆ ที่คิดไม่ถึง นอกจากนี้ 70% ของผู้ใช้งานยังสนุกกับการดูโฆษณาบน TikTok
ในปี 2021 Top 3 คอนเทนท์ที่ได้รับความนิยม อันดับหนึ่งคือ ความบันเทิง อันดับสองคือ ไลฟ์สไตล์ และอันดับสามคือ การแสดงความสามารถพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การเล่นกีฬา และการเต้น โดยในปี 2022 ยังมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์และมาบริการใหม่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Reach Solution การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือการสร้างการรับรู้กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้แบรนด์ถูกค้นพบและถูกสร้างการรับรู้ได้, Creative Solutions, Commerce Solutions และ Measurement Solutions
นอกจากนี้ ใครที่กำลังเตรียมทำคอนเทนท์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย TikTok ยังรวบรวมแนวคิดง่ายๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผนรูปแบบคอนเทนท์ ซึ่งมี 3 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้ 1.Be Flawsome = รู้จุดบกพร่องและเปลี่ยนให้เป็นข้อดี 2.Democratise Creativity = เชิญชวนให้ผู้คนมีส่วนร่วมในเรื่องราวของแบรนด์ และ 3.Shoppertainment = นำความบันเทิงมาสู่การค้า เปลี่ยนผู้ใช้ที่มีความสุขให้กลายเป็นผู้ซื้อที่มีความสุข
ไทยพาณิชย์ แนะเอสเอ็มอีไทยติดปีกธุรกิจด้วย Data
ด้าน คุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการตลาด, ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวในหัวข้อ Data-driven Marketing Strategy for Business Growth กลยุทธ์พาธุรกิจโตด้วย Data ว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา Social Media เดินทางมาไกลมาก บางแพลตฟอร์มยังคงให้บริการ และมีแพลตฟอร์มใหม่เกิดขึ้นมากมาย ขณะที่พฤติกรรมการเล่นโซเชียลของผู้บริโภควันนี้ก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก การทำตลาดในโลกยุคดิจิทัล “Data” จึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นฐานข้อมูลที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
เมื่อ Data สำคัญขนาดนี้ คุณสุธีรพันธุ์ จึงแนะ 6 Key Data Use Cases เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการในการนำ Data มาเป็นเครื่องมือในการทำตลาด
- IMPROVING DECISION MAKING ทำให้การตัดสินใจของเราดีขึ้นหรือเปล่า “การเก็บข้อมูลลูกค้า” ทำให้เราตัดสินใจในการออกแบบร้านค้า การบริการให้กับลูกค้าได้ง่ายขึ้น
- UNDERSTANDING CUSTOMERS AND MARKETS รู้ใจลูกค้าด้วยข้อมูลการซื้อ ช่วยให้ออกแบบโปรโมชันง่ายขึ้น
- CREATING BETTER PRODUCTS SERVICE การเก็บข้อมูล เราสามารถทำ BAAS (Business as a Service) “โลกยุคใหม่เราจะรู้จักลูกค้าได้ทุกวันผ่าน App”
- CREATING BETTER SERVICES สร้างบริการใหม่ที่ตรงใจลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่ในอนาคต
- IMPROVING BUSINESS PROCESS เพิ่มประสิทธิภาพต่อยอดจาก Data ที่มี
- CREATING REVENUE FROM DATA ใช้ข้อมูลในการทำเงินด้วย Data และสร้างยอดขายใหม่ ๆ
โรบินฮู้ด เผย 7 สิ่งที่ลูกค้ายุคดิจิทัลต้องการมากกว่าสินค้า
ต่อกันด้วย คุณวัชรพงษ์ พจนีย์นนท์ Head of Food Business, Robinhood ที่มาให้ความรู้กับ SME ไทยในหัวข้อ “ทางเลือกใหม่ของฟู้ดเดลิเวอรี่ไทย โดยปัจจุบัน Robinhood ครบรอบ 1 ปี เริ่มต้นจากการพัฒนาแอปเล็กๆ กับน้องๆ ไม่กี่คน ซึ่งตอนนั้นมีร้านค้าเพียง 100 ร้านค้า และผู้ใช้งาน 10,000 คน วันนี้มีร้านค้า 180,000 ร้านค้า และมีผู้ใช้งานไม่น้อยกว่า 2.4 ล้านคน ทั้งยังทำให้เกิดการสั่ง โดยคำนวณระยะทางการส่งเปรียบเทียบระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์ได้แล้ว 172 รอบ
โดยในปี 2022 Robinhood มีแผนจะขยายการให้บริการในต่างจังหวัด โดยนำร่อง 2 จังหวัดคือ เชียงใหม่และพัทยา นอกดจากนี้ ยังขยายความช่วยเหลือไปถึงโรงแรมกับบริการ “Robinhood Travel” รวมไปถึงร้านอาหาร ร้านขายของชำ และไรเดอร์ กับบริการ Robinhood Mart และ Robinhood Express ขณะเดียวกัน ยังมีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่อย่าง Rating (Merchant / Rider) การให้คะแนนรีวิวร้านค้าและไรเดอร์, Data Analytics for Merchants ร้านค้าสามารถรับสถิติ ข้อมูล ยอดขายและจำนวนการเข้าชม, Customized Promotion for merchant Landing page หน้า Page ของร้านค้าที่ร้านค้าปรับเลือกได้เอง, Subscription Program โปรแกรมแบบสั่งประจำสำหรับลูกค้า, Chat, finally it comes! สะดวกยิ่งขึ้น กับการพูดคุยกับร้านค้าและไรเดอร์ รวมถึง Tip Engine ระบบการให้ทิปไรเดอร์
จากประสบการณ์ในการทำฟู้ดเดลิวอรี่ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า มี 7 สิ่งที่ลูกค้าต้องการมากกว่าสินค้า ดังนี้ 1.ลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่อาหาร แต่ต้องการ “ประสบการณ์” การกินอาหาร 2.ลูกค้าต้องการ “คนรู้ใจ” ซึ่งร้านค้าจะรู้ใจลูกค้า ต้องมีระบบหลังบ้านและการจัดเก็บข้อมูลที่ดี 3.“ความใส่ใจ” ร้านค้าไม่ได้สำคัญแค่อาหาร แต่ทุกกระบวนการก็สำคัญ 4.“ความสร้างสรรค์” การตั้งชื่อเมนูที่สะดุดตา น่าจดจำ สร้างความแตกต่าง รูปอาหารที่มีกลิ่นออกมา เรื่องเล่าที่ลูกค้ารับรู้ถึงรสชาติมีอยู่จริง 5.“การมีส่วนร่วม” ถึงแม้จะไปสั่งที่ร้านไม่ได้ ก็อยากให้อาหารที่สั่งตรงกับที่ใจคิดมากที่สุด 6.“ทำให้โลกนี้ดียิ่งขึ้น” รักสุขภาพมากขึ้น สุขภาพดีขึ้น โลกน่าอยู่ขึ้น และ 7.“ความจริงใจ” หากทำผิดพลาด มากกว่าอาหารที่วางไว้ให้ คือลายมือที่เข้าถึงใจ และน่าจดจำ
Chat Commerce มาแรง ช่วยปิดการขาย 2 เท่า
อีกหนึ่งแพลตฟอร์มสำหรับ SME อย่าง LINE SHOPPING โดย คุณเลอทัด ศุภดิลก Head of E-commerce, LINE ประเทศไทย มาให้ข้อมูลในหัวข้อ “LINE SHOPPING : Empowering Social Commerce” ว่า ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา Social Commerce เป็นหนึ่งในรูปแบบการค้าขายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดใหญ่สุด เป็นสัดส่วนกว่า 62% ของการซื้อขายออนไลน์ ขณะที่การค้าขายในแชทของ LINE มีอัตราการเติบโตขึ้นกว่า 24% ในปีที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 270,000 ล้านบาท
ดังนั้น การซื้อขายผ่านแชทจึงมีโอกาสปิดการขายได้สูงขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับช่องทางอื่นๆ ที่สำคัญยังให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้ซื้อและมีโอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อซ้ำถึง 97% เพราะฉะนั้น “การแชท” จึงสำคัญมากสำหรับ Social Commerce เพราะตรงกับพฤติกรรมคนไทย เนื่องจากรูปแบบการใช้งานง่ายสำหรับผู้ซื้อ และยืดหยุ่นสำหรับผู้ขาย ทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อ จากการมีส่วนร่วมโดยตรงกับผู้ขาย และการพูดคุย และมีปฎิสัมพันธ์กันแบบ 1:1 ที่มอบความเป็นส่วนตัวให้ผู้ซื้อ
สำหรับ LINE Shopping เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มซื้อขายผ่าน LINE โดยปัจจุบันมีร้านค้ากว่า 300,000 ร้านค้า และผู้ใช้งานกว่า 7,000,000 ซึ่งในปีหน้าจะมีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อให้ประการณ์ช้อปปิ้งกับเพื่อนสนุกยิ่งขึ้น
6 เทรนด์ยอดฮิตบน Twitter มัดใจลูกค้าอยู่หมัด
ขณะที่แพลตฟอร์มที่โดดเด่นเรื่องการป้ายยาอย่าง Twitter (ทวิตเตอร์) มาบอกเคล็ดลับการทำการค้าขายบนทวิตเตอร์ให้ขายดีรับปี 2022 ในหัวข้อ “ทวีตอย่างไรให้ขายดี รับปี 2022” โดย คุณปัญชรี สิทธิเสนี Managing Partner, MediaDonuts บอกว่า นอกจากทวิตเตอร์จะเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้คนไว้เสพข่าวสาร ติดตามดารา หรือเช็คการจราจรแล้ว ผู้คนยังเข้ามาค้าขายสินค้าบนทวิตเตอร์กันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง คอร์สเรียนออนไลน์ ต้นไม้ขาย ไปจนถึงคริปโตเคอร์เรนซี่
แต่ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคบนทวิตเตอร์นั้นแตกต่างจากโซเชียลมีเดียอื่นๆ บางครั้งไม่อยากให้คนมารีวิวสินค้า แต่ถ้าสินค้านั้นเกี่ยวข้องกับเขาในชีวิตประจำวัน หรือเป็นสิ่งที่เขาสนใจอยู่แล้ว จะยิ่งทำให้พวกเขาอยากซื้อสินค้าและซื้อซ้ำหรือบอกเพื่อนได้มากกว่าเดิมด้วย ทวิตเตอร์จึงทำการศึกษาบทสนทนาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา และพบ 6 เทรนด์สำคัญที่คนบนทวิตเตอร์พูดถึง ซึ่งหากผู้ประกอบการนำไปปรับใช้เชื่อว่าจะช่วยให้สินค้าขายดีรับปี 2022 เพิ่มขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย
1.Wellbeing: คนให้ความสนใจกับสุขภาพ 2 ปีที่ผ่านมาคนบนทวีตพูดถึงสุขภาพ กาย และใจ แบบองค์รวม
2.Content Creator Culture: คนเจอวิกฤตโควิด คนเข้ามาทวีตมากขึ้น จึงหันมารีวิวสินค้า ขายต้นไม้ รีวิวเกม คนบนทวีตมีลักษณะชอบ Support ร้านอาหาร Community
3.Everyday Wonder: สายมู คู่จิ้น ความแปลกใหม่
4.One Planet: คนรักโลกมากขึ้น
5.Tech Life: ทุกคนทำงานหนักที่บ้าน ต้องการอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน
6.My Identity: คนให้ความสนใจกับการเป็นตัวของตัวเองอย่างมาก “ความเหนียวแน่นของกลุ่มคน แฟนคลับ ก็เป็น Identity”
เคล็ดลับการทำธุรกิจให้ปังจาก 3 เอสเอ็มอี
มาต่อกันด้วยการแชร์ไอเดียการทำธุรกิจจาก SMEs ที่ประสบความสำเร็จในโลกโซเชียล โดยเริ่มจาก คุณศรัณญู เพียรทำดี เจ้าของเพจ และแบรนด์ น้ำพริกแคบหมูยายน้อยที่อร่อยมาก แต่เจ้าของมักบอกว่าของเขาไม่อร่อย เพื่อสร้างจุดขาย และความแตกต่างด้วยสไตล์ “Bully Marketing” ด้วยความเป็นคนที่สนุกสนาน ขายแซวตัวเองมาตั้งแต่ต้น คนที่เข้ามาในเพจ หรือลูกค้าก็ชอบการทำคอนเทนต์ลักษณะนี้ เช่น กินแคบหมูแล้วฟันแตก คำแรกขึ้นสมองคำสองขึ้นสวรรค์ กินแล้วตายคายแล้วรอด เป็นต้น
ก่อนจะเปิดเพจน้ำพริกแคบหมูยายน้อย คุณศรัณญูทำงานประจำมาก่อน กระทั่งรายได้จากการขายน้ำพริกเพิ่มขึ้น จึงลาออกมาทำน้ำพริกเต็มตัว ซึ่งยายน้อยก็คือคุณแม่ของเขาเอง โดยจำหน่ายผ่านช่องทาง Facebook เป็นหลัก ปัจจุบันมียอด Followers ประมาณ 250,000 และอนาคตมีแผนจะขยายช่องทางการมาสู่ TikTok เพิ่มขึ้น ความเป็นตัวเอง บวกกับคอนเทนต์กวนๆ สนุกๆ คือหัวใจที่ทำให้แบรนด์น้ำพริกแคบหมูยายน้อยไม่เพียงเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว แต่หลายครั้งลูกค้ายังคิดคอนเทนต์กลับมาให้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าซื้อสินค้าแคบหมูยายน้อยไปทาน แล้วถ่ายรูปกลับมาให้เห็นว่าฟันแตกแล้ว เป็นมุขสนุกๆ
ในขณะที่ คุณชวิศา เฉิน เจ้าของผ้าอนามัยแบรนด์ Wendays ที่หยิบวัตถุดิบจากธรรมชาติ ย่อยสลายได้ ใส่ใจโลก มาพัฒนาผลิตภัณฑ์จนเป็นจุดขายที่แตกต่าง เพราะในทุกวันนี้เราเจอสารเคมีเยอะจริงๆ และไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ดังนั้นจุดซ่อนเร้นเป็นสิ่งที่บอบบางกว่ามาก ประกอบกับเธอเคยแพ้ผ้าอนามัยจนต้องเข้าโรงพยาบาล จึงเป็นที่มาของการพัฒนาผ้าอนามัย Organic แบรนด์ Wendays ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 4 Size (15 cm / 24 cm / 29 cm / 36 cm)
โดยกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่เพียงแค่ผู้หญิง แต่สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ผู้ชายก็สามารถซื้อได้ อาจจะซื้อให้แฟน หรือคุณภรรยา และอีก Point คือ บางคนเป็นริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) บางคนจำเป็นต้องใส่ผ้าอนามัย เพื่อช่วยซับเลือด และซับพอร์ตผิวบริเวณที่เกิดแผลเช่นกัน
ส่วน คุณสรสิช เนตรนิล CEO บริษัท บุญนำพา ธุรกิจจัดงานบุญผ่านโซเชียลมีเดีย จุดเริ่มต้นมาจากการทำธุรกิจ Organizer จัดงานทำบุญแบบครบวงจร เช่น ทำบุญบ้าน ทำบุญบริษัท เป็นต้น โดยทางทีมจะเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมด เพราะคนสมัยใหม่มักจะไม่รู้ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง กระทั่งในช่วงโควิด-19 คนออกมาทำบุญไม่ได้ จึงเป็นที่มาของการทำบุญร่วมกันผ่าน Zoom หรือการไลฟ์ โดยทุกคนไม่ต้องมาเจอกัน แต่สามารถทำบุญร่วมกันได้
แม้กระทั่งชุดสังฆทานบุญต่อบุญ ก็มีกิมมิคน่ารักและได้บุญคือ เมื่อซื้อแล้วเราต่อบุญให้กับทางวัดพระบาทน้ำพุ เพื่อต่อบุญช่วยเหลือจากสิ่งที่เราซื้อได้อีกด้วย รวมถึงยังมีอีกหนึ่งธุรกิจนั่นคือ Hongcatering หงส์เคเทอริ่ง บริการด้านอาหาร 3 สไตล์ มีรูปแบบบุฟเฟ่ต์ ค็อกเทล อาหารกล่อง ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย และปัจจุบันบุญนำพามีครบทุกแพลตฟอร์ม เต็มที่กับทุก Social media ทุกแพลตฟอร์มแบบจัดเต็ม
กว่า 80% ของคนไอจีชอบสินค้า Local Brand
อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ธุรกิจ SME สามารถใช้เป็น Tool โชว์ตัวตนของแบรนด์และเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นก็คือ “Instagram” โดย คุณก้องกิจ ฉันทวิจัยกุล Client Partner for FMCG Industry, Facebook Thailand กล่าวในหัวข้อ “Building Business Through Community on Instagram” ว่า Instagram เริ่มต้นธุรกิจจากการเป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับแชร์รูปภาพ จนตอนนี้มีอายุครบ 10 ปี และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันจึงไม่ใช่แค่การแชร์รูปภาพรูปอาหาร แต่เป็นศูนย์รวมที่ทุกคนสามารถแสดงความเป็นตัวของตัวเอง และธุรกิจสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ ในปัจจุบันมีคนทั่วโลกอยู่บนแพลตฟอร์มถึง 1,000 ล้านคน และมีธุรกิจอยู่บน Instagram มากกว่า 200 ล้านธุรกิจ
สำหรับประเทศไทยจากการสำรวจ พบว่า 80% ของคนในไทยชอบใช้ Instagram ในการติดตามเทรนด์ต่างๆ รวมถึงค้นหาสินค้าที่เขาสนใจ และกว่า 80% ชอบซื้อของที่เป็นแบรนด์เล็กๆ หรือ Local Brand นอกจากนี้ ยังพบว่า Topic ที่ผู้คนมองหา
บน Instagram 74% นิยมค้นหาเพลง ดนตรี 68% อาหาร เครื่องดื่ม 65% เทคโนโลยี 57% การดูแลสุขภาพ 56% ท่องเที่ยว และ 51% แฟชัน ความงาม
นอกจากนี้ ยังได้แนะ 3 วิธีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าบน Instagram ได้ง่ายขึ้น ประกอบด้วย 1.การใช้ # (แฮชแท็ก) ซึ่งช่วยให้คนมาเสิร์ชและมีโอกาสเจอแบรนด์ของเราได้มากยิ่งขึ้น 2.Call to Action ไม่ใช่แค่แชร์รูปหรือโพสต์ต่างๆ เท่านั้น แต่ควรแสดงเบอร์ติดต่อให้ชัดเจน และ 3.Promote ผ่านโฆษณา ให้คนที่ถึงแม้จะไม่ได้ตามเพจอยู่มารู้จักกับเราได้ดีมากขึ้น
โควิด ดันช้อปออนไลน์ พุ่งกระฉูด
ส่วนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่าง Lazada (ลาซาด้า) โดย คุณปาณัสม์ วงศ์เบญจรัตน์ Head of Seller Platform, Lazada Thailand กล่าวในหัวข้อ “Start It Up, Laz It Up with Lazada” ว่า ช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาการช้อปปิ้งออนไลน์เติบโตอย่างมาก ทำให้ออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคน โดยเฉพาะคนไทย ผลสำรวจพบว่า 94% มองว่าการช้อปออนไลน์เข้ามาเติมเต็มช่องทางในการซื้อขายสินค้าเมื่อเทียบกับทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 72% มากไปกว่านั้น 90% ของผู้ซื้อชาวไทยยังจะซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น และคนไทยยังมีความคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น โดย 81% รู้สึกว่าใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้เต็มที่
โดยปัจจุบันผู้บริโภคชาวไทยเกิน 80% มีการใช้งานอินเตอร์เน็ต หรือประมาณ 59 ล้านคน ขณะที่ตลาดอีคอมเมิร์ซในปี 2020 เติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 81% จากปี 2019 หรือมีมูลค่าประมาณ 294 ล้านบาท และในปี 2021 เติบโตเพิ่มขึ้น 21% หรือมีมูลค่า 356,000 ล้านบาท
สำหรับลาซาด้า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีฐานลูกค้ากว่า 30 ล้านราย มีจำนวนคำสั่งซื้อเติบโตถึง 90% ในขณะที่ผู้ขายเองก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ขายที่สร้างรายได้ 100,000 บาทต่อเดือนเกิน 20,000 ร้านค้า
ดังนั้น ผู้ประกอบการ SME ที่จะอยากจะสร้างยอดขายปังๆ บนลาซาด้า คุณปาณัสม์ แนะเทคนิคง่ายๆ 3 องค์ประกอบที่ต้องมี คือ Traffic หรือการมองเห็น ร้านค้าต้องเลือกเปิดร้านค้าให้ลูกค้าแต่ละคนเห็นร้านมากที่สุด 2.Conversion เมื่อลูกค้าเห็นร้านแล้ว ต้องซื้อสินค้า และ 3.ต้องซื้อต่อเนื่อง โดยลาซาด้ามีเครื่องมือหลากหลายและการตลาดแบบ 360 องศา เพื่อช่วยเพิ่มการมองเห็น พร้อมกับดึงผู้ซื้อเข้ามาเจอผู้ขายในแพลตฟอร์มมากขึ้น
คนไทยกว่า 65% ช้อปผ่านโซเชียลมีเดีย
ด้าน SCB Manee Social Commerce คุณปิยมาศ ศิริวัฒน์ ผู้อำนวยการ ผู้บริหารฝ่าย Business Banking Non Lending Product กล่าวในหัวข้อ “Skyrocket your online business with Manee Social Commerce ปั้นธุรกิจออนไลน์ให้โตด้วย Manee Social Commerce” เริ่มจากฉายเทรนด์การขายของออนไลน์ในประเทศไทยว่ามีการเติบโตก้าวกระโดด และจากปี 2020 จนถึงปี 2024 จะมีมูลค่าโตขึ้นเป็น 2 เท่าตัว โดยคนไทยซื้อของจาก E-Marketplace อยู่ที่ 35% และโซเชียลมีเดีย 65%
จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ ซึ่งการขายหลายแพลตฟอร์มนั้นดี เพราะช่วยให้ยอดขายเติบโตขึ้น แต่การบริหารจัดการก็ยุ่งยาก เพราะอาจจะต้องจ้างพนักงานมาดูแลเพจ คอยตอบคำถามลูกค้า ไปจนถึงแพ็คสินค้า ซึ่ง SME ที่เพิ่งเริ่มต้นและไม่อยากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น “แม่มณี” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือระบบที่จะเพิ่มความสะดวกสบายให้กับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์
ก่อนหน้านี้ หลายคนคงคุ้นเคยกับแม่มณีในการเป็นคิวอาร์โค้ด แต่วันนี้แม่มณีเป็น Wallet สแกนจ่าย เก็บ แจ้งเตือน และส่งสลิปง่าย โดยมาพร้อม 4 ฟีเจอร์ใหม่ คือ ฟีเจอร์ที่ 1 “บิลแม่มณี” จัดการสต้อกสินค้า ออเดอร์ต่างๆ ครอบคลุมทุก Marketplace และ Social media รวมถึงตอบโจทย์สาย LIVE พิมพ์ CF จัดการ Order ได้ทันที และยังมีการเชื่อมต่อระบบขนส่งชั้นนำ เช่น Flash Express, Kerry, SCG Express เป็นต้น
ฟีเจอร์ที่ 2 “จัดการร้านค้ากับแม่มณี” รับชำระเงินผ่านสแกน QR CODE และรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เดบิต และระบบผ่อน
ฟีเจอร์ที่ 3 “มณี Academy” เรียนคอร์สออนไลน์สะสม Point แลกของรางวัล และ “มณี Rewards” ใช่จ่ายแล้ว ได้สะสมคะแนนเอาไปแลกรางวัล
ฟีเจอร์ที่ 4 “สินเชื่อ มณีทันใจ” หมดปัญหาจ่ายก่อน ไม่มีเงินหมุน ช่วยต่อยอดธุรกิจพร้อมรับวงเงินสูง !
โดยในตอนท้าย คุณทิป มัณฑิตา จินดา Founder and MD of Digital Tips Academy ได้สรุปเนื้อหาสำคัญของการสัมมนาว่า ปัจจุบันนี้เป็นยุคของการ Response หรือการตอบกลับลูกค้าซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราจะเห็นทุกแพลตฟอร์มพูดเรื่องนี้กันทุกคน หัวใจสำคัญคือ “Connect to Convert” เรา Connect ให้เกิด Engagement พอเราเกิดการพูดคุย สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า สุดท้ายก็จะเกิด Data ใหม่ๆ เราก็สามารถนำไป Convert เพื่อนำ Data เหล่านี้นำไปใช้ประโยชน์ต่อได้
Key word ที่สำคัญมากๆ ในการทำธุรกิจยุคนี้คือ “Customer Lifetime Value” คือมูลค่าในการซื้อขายตลอดชีวิต ปัจจุบันไม่ใช่ยุคที่เราจะคิดว่า ซื้อครั้งหนึ่งแล้วจบ เพราะต้นทุนในการทำการตลาดสูงขึ้นเรื่อยๆ นี่เลยเป็นเหตุผลในการพูดถึงการใช้แพลตฟอร์มเราพูดถึง Chat Commerce ซึ่งแพลตฟอร์มของทุกท่านที่มาวันนี้ จะสังเกตว่า “การสร้างความสัมพันธ์ จริงใจ เข้าใจลูกค้าในระยะยาว”
LINE OA Call มีความสำคัญมาก ซึ่งเป็นมูลค่าเพิ่ม และสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจได้ด้วย การให้คำปรึกษา การเข้าใจลูกค้า สร้างความสัมพันธ์เหล่านี้สำคัญมาก
ขณะที่การใช้แพลตฟอร์มใดก็ตาม ให้คุณลองสำรวจดีๆ ว่า ในแพลตฟอร์มนั้นมี Ecosystem อย่างไรบ้าง แล้วเราใช้ประโยชน์ได้ครบถ้วนแล้วหรือยัง เราควรจะต้องดูว่าในทุกๆ แพลตฟอร์มมีตัวช่วยอะไรอีก เพราะคำว่า Ecosystem มีความหมายมาก หากคุณใช้งานได้ตรงจุดกับลูกค้า หรือธุรกิจของคุณ ระบบเหล่านี้จะช่วยเกื้อหนุนกัน และดึงประสิทธิภาพของแต่ละแพลตฟอร์มออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่
สิ่งสำคัญอีกเรื่องที่เราต้องรู้คือ “ลูกค้าเข้าช่องทางไหน เราต้องตอบช่องทางนั้นให้เร็วที่สุด” เวลาที่เราขายของจะมีคำพูดหนึ่งคือ ทำอย่างไรก็ได้ให้อุปสรรคน้อยที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการยุคนี้มักใช้หลายแพลตฟอร์ม การดูแลให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีสำคัญมาก เขาทักมาทางไหนควรจะตอบช่องทางนั้นอย่างจริงใจ และตรงกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
นอกจากนี้ การทำคอนเทนต์ต่างๆ แบรนด์ที่ดีในยุคนี้ไม่จำเป็นต้อง Perfect การพูดผิดพูดถูก ทุกคนเข้าใจ เรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติของการทำคอนเทนต์ในยุคนี้ รวมถึงเปิดพื้นที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมด้วย สำคัญมากในยุคนี้ บางครั้งคนที่เก่งที่สุดอาจไม่ใช่เรา แต่อาจจะเป็น “ลูกค้าของคุณก็ได้” ดังนั้นให้โอกาสของลูกค้าในการมีส่วนร่วม เราอาจจะใช้เป็นแคมเปญเพื่อให้ลูกค้าร่วมสนุก ติดแฮชแท็คแล้วมาแชร์กัน เพื่อสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วม ลูกค้าสนุกด้วย และเป็นเรื่องที่ดีกับแบรนด์เช่นกัน