HomeBig Featuredอาลีบาบา เปลี่ยนนโยบายการทำงาน จาก 996 สู่ยุค WFH หนึ่งวันต่อสัปดาห์ แถมลางานเพิ่มได้ 7 วันโดยไม่ลดเงินเดือน

อาลีบาบา เปลี่ยนนโยบายการทำงาน จาก 996 สู่ยุค WFH หนึ่งวันต่อสัปดาห์ แถมลางานเพิ่มได้ 7 วันโดยไม่ลดเงินเดือน

แชร์ :

อาลีบาบา ปรับรูปแบบการทำงาน
จากการทำงานแบบ 996 (เข้างานเก้าโมงเช้า เลิกงานสามทุ่ม และทำงานต่อเนื่องหกวันต่อสัปดาห์) ของอาลีบาบาที่เคยทำให้หลายคนอึ้งในการอุทิศตัวของคนทำงานกันไปแล้ว มาถึงวันนี้พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเช่นกัน เมื่อทางอาลีบาบากรุ๊ป ได้ออกมาประกาศผ่านจดหมายข่าวว่า พนักงานสามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่นมากกว่าเดิม และสามารถเลือก Work From Home ได้ 1 วันต่อสัปดาห์ด้วย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

WFH ได้ อาทิตย์ละวัน แถมลาได้เพิ่ม

สำหรับกฎการทำงานที่เปลี่ยนไปของอาลีบาบานอกจากให้ Work From Home ได้หนึ่งวันต่อสัปดาห์แล้ว ยังเพิ่มวันลางานให้โดยที่ไม่ลดเงินเดือนอีก 7 วันต่อปี จากจำนวนวันหยุดเดิม และสามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 20 วันต่อปี สำหรับพนักงานอาวุโสที่ทำงานในบริษัทมามากกว่า 10 ปี นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มงบประมาณสำหรับกิจกรรมท่องเที่ยวของบริษัทเพื่อสร้างกำลังใจในการทำงานของทีมอีกต่างหาก (อ้างอิงจากเอกสารที่ปรากฏด้านล่าง)

alibaba group

เอกสารเผยแพร่ของอาลีบาบาที่ระบุนโยบายการทำงานแบบใหม่

สายเทคยุคใหม่ เริ่มไม่เอาแล้ว 996

อย่างไรก็ดี หากย้อนมองคำกล่าวของ Jack Ma ผู้ก่อตั้งอาลีบาบาในงานประชุมภายในของบริษัทเมื่อปี 2019 จะพบว่า เขาก็เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนการทำงานแบบ 996 โดยเขามองว่า นโยบาย 996 จะเป็นประโยชน์ต่อคนทำงานเพราะประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีของคนที่ทำงานตามนโยบาย 996 จะเท่ากับคนที่ทำงานมานาน 20 ปีเลยทีเดียว

ทว่าแนวคิดดังกล่าวอาจไม่ใช่สำหรับการทำงานยุคนี้อีกต่อไปแล้ว เพราะคนทำงานสายเทคโนโลยีในจีนเริ่มมีกระแสต่อต้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโดเมนชื่อ 996.icu ขึ้นมา (โดเมนดังกล่าวต้องการสื่อว่า หากคุณทำงานแบบ 996 คุณเองก็มีความเสี่ยงที่จะเข้าห้อง ICU มากขึ้น) หรือการออกมาเปลี่ยนแปลงโดยบริษัทเทคโนโลยีด้วยกันเอง เช่น กรณีของ Baidu หรือ Bytedance ที่บอกว่า การทำงานวันเสาร์ไม่ใช่เรื่องคูลอีกต่อไป (แต่การเลิกงานดึก หรือการที่หัวหน้าฝ่ายจะกลับบ้านหลังเที่ยงคืนโดยไม่มีการให้ OT ยังคงมีอยู่)

นอกจากนี้ หากบริษัทต่าง ๆ ต้องการดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้าทำงาน แนวคิดเรื่อง 996 อาจใช้ไม่ได้ผล เพราะนักศึกษาของจีนบางส่วนก็ไม่ได้ยอมรับแนวคิดดังกล่าวเสียทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น Faper Fu นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Nanjing บอกว่า ถ้าไม่ได้รายได้ที่เยอะมากจริง ๆ เขาก็ไม่สนใจที่จะทำงานกับบริษัทที่มีนโยบายเช่นนี้ โดยเขาบอกว่า แผนอนาคตระยะยาวของเขา เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด หากแต่เป็นการแบ่งเวลาใช้ชีวิต และทำงานอย่างมีสมดุลต่างหาก

ด้านศาสตราจารย์ Cary Cooper นักจิตวิทยาและสุขภาพจาก Manchester Business School บอกว่า บริษัทจีนจะเริ่มให้ความสำคัญกับการทำงานเกินเวลาน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเวลาที่นายจ้างได้เห็นว่า การทำงานหนักนั้น ส่งผลต่อสุขภาพและประสิทธิภาพของพนักงานแค่ไหน ไม่เพียงเท่านั้น  การเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ที่เรียกร้องคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี ก็จะเป็นตัวแปรสำคัญของบริษัทจีนอีกด้วย

Source


แชร์ :

You may also like