HomeInsightMetaverse ทำพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน อยากอยู่บนโลกทิพย์ ตามดู 4 เทรนด์ Seem-Real ปี 2022

Metaverse ทำพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน อยากอยู่บนโลกทิพย์ ตามดู 4 เทรนด์ Seem-Real ปี 2022

แชร์ :

enviro 2022
นับจาก Mark Zuckerberg ออกมาจุดพลุ Metaverse กระแสความร้อนแรงของโลกเสมือน ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเทรนด์ที่กำลังมีบทบาทอย่างมากในหลายธุรกิจและต้องก้าวตามให้ทันเทคโนโลยี ตามให้ทันไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในยุคโลกทิพย์


เป็นประจำทุกปีกับการสรุปเทรนด์ผู้บริโภคจากผลวิจัยของ “เอ็นไวโร” (Enviro) ซึ่งในปี 2022 นี้ คุณสรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโร (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัทวิจัยยักษ์ใหญ่ระดับโลก ได้วิเคราะห์ความตื่นเต้นจากการเปิดตัวของ Metaverse ที่จะมาเปลี่ยนไลฟสไตล์ของคนรุ่นใหม่ ชนิดช็อกวงการการตลาด ด้วยบทสรุป 4 เทรนด์ ที่ทำให้ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนให้ทันความต้องการของผู้บริโภค

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

enviro 2022 trend 1

1. โลกทิพย์  Seem-Real Universe

– จากผลสำรวจผู้บริโภค 56% ยังกังวลเรื่องโควิดที่ไม่รู้จักจบสิ้นหลังผ่านมาแล้ว 2 ปี การใส่หน้ากากตามที่สาธารณะ สะท้อนให้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย ความกลัว และไม่น่าอยู่ คนส่วนใหญ่มีความหวังอยากเห็นสังคมที่น่าอยู่กว่านี้

– โดยกว่า 80% อยากเห็นสังคมที่สวยงาม ไร้โรค ไร้มลพิษ แต่เมื่อมันเกิดในโลกจริงไม่ได้ จึงขอย้ายไปอยู่โลกทิพย์ดีกว่า กว่า 76% สนใจจะเข้าไปอยู่บนโลกทิพย์ที่ไม่ใช่โลกจริง อย่าง Metaverse โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z และ กลุ่ม LGBTQ+ ที่กว่า 90% รอคอยการมาของโลกทิพย์ โดย 80% บอกว่าโลกทิพย์ สามารถสร้างฝัน สร้างโลกจิตนาการขึ้นมาใหม่เอง และสามารถเป็นอีกคนที่เราฝันอยากเป็นได้ ซึ่งไม่สามารถทำได้ในโลกจริง

– โลกทิพย์จึงเป็นอีกโลกที่ผู้บริโภครู้สึกอยู่ได้อย่างปลอดภัย สามารถปลดปล่อยจากภาวะความเครียดที่เจอในโลกจริงทุกวันนี้ที่เต็มไปด้วยความดราม่า เรื่องหดหู่ และกฎระเบียบ ประเพณีเดิม ๆ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะหลอมรวมโลกบนสังคมออนไลน์เข้าเป็นหนึ่งเดียวโดยมีวัฒนธรรมใหม่ ๆ ร่วมกัน

enviro 2022 trend 2

– โดย 72% ไม่ให้ความสำคัญกับขนบประเพณีดั้งเดิม อยากสร้างวัฒนธรรมที่คนรุ่นใหม่ยอมรับร่วมกันมากกว่า มีความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนาจะน้อยลง ส่งผลให้โลกทิพย์อาจจะมีค่านิยม ธรรมเนียมที่ออกแบบกันเองและโดนใจคนรุ่นใหม่

– นักจิตวิทยา ศึกษาว่าการใช้ร่างอวตารทดแทนตัวตนจริง สามารถเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมได้ในโลกจริง เช่น การใช้ร่างอวตารที่สูง จะทำให้เราเกิดความรู้สึกมั่นใจในโลกจริง การใช้ร่างอวตารที่งดงาม มีเสน่ห์ ทำให้เราเป็นคนที่เข้าสังคมได้เก่งขึ้นในโลกจริง การใช้ร่างอวตารที่แข็งแรง ทำให้เรามีพฤติกรรมการกิน และการออกกำลังที่ดีขึ้น

– ดังนั้นพฤติกรรมผู้บริโภคจะยิ่งซับซ้อนขึ้น รสนิยมในการบริโภคสินค้า และพฤติกรรมในโลกจริงเปลี่ยนไป การจะศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคไม่เพียงแต่ต้องศึกษาทั้งตัวจริงที่อยู่บนโลกจริง แต่ยังต้องศึกษาตัวตนในร่างอวตารอีกด้วย

enviro 2022 seem real

2. อิ่มทิพย์ Seem-Real Recreation

– ทุกวันนี้ผู้บริโภคได้ซึมซับการใช้ชีวิตไปกับโลก Digital มากกว่า Physical โดยใช้เวลาว่างไปกับโลกดิจิทัล เช่น Facebook, Instagram, TikTok และ YouTube ประมาณ 70% โดยเฉพาะช่วง Work from home ซึ่งมากกว่าบนโลก Physical เช่น เดินห้าง ทำสวน ที่ใช้เวลาประมาณ 30% ทำให้คุ้นชินกับการผ่อนคลายจิตใจแบบที่ไม่ได้ออกไปข้างนอก นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กรุ่นใหม่ชอบเล่นเกมส์ ทุกวันนี้มีจำนวนเกมเมอร์ถึง 2.5 พันล้านคน ซึ่งโดยจิตวิทยาแล้ว สามารถทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้เช่นกัน

– พบว่ากว่า 60% ที่คิดว่าโลกทิพย์จะสามารถสร้างประสบการณ์ของชีวิตที่เราอยากทำและทำกิจกรรมท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย เช่น โดดบันจี้จัมพ์ ที่ไม่กล้าทำในชีวิตจริง ในเดือนเมษายน 2020 ที่ผ่านมา มีคนดูคอนเสิร์ตที่เป็น Virtual ของ Travis Scott จำนวนมากถึง 27 ล้านคน มากกว่าจำนวนคนที่ไปดูคอนเสิร์ต Woodstock ถึง 67 เท่า ดังนั้นการผ่อนคลาย หรือ หาประสบการณ์รูปแบบใหม่ในโลกทิพย์อาจจะกระทบการท่องเที่ยว หรือธุรกิจค้าปลีก บริการต่าง ๆ แม้กระทั่งอาหาร เพราะผู้บริโภคต่อไปนี้สามารถรู้สึกเติมเต็ม อิ่มทิพย์ได้โดยไม่ต้องลุกไปไหน

enviro 2022 trend 3

3. สวยทิพย์ Seem-Real Beauty

– เทรนด์ Seam-Real Beauty กำลังมาแรง เพราะคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มจะใช้ชีวิตบนโลกทิพย์มากขึ้น และความสวย หล่อ จากการทำศัลยกรรมอาจไม่นิยมอีกต่อไป เมื่อเราสามารถสร้างร่างทิพย์ที่งดงามอย่างที่อยากเป็น

– โดย 57% บอกว่าสามารถใช้แอปแต่งให้สวยในโลกทิพย์ได้ โดยสนใจใช้แอปมากกว่าการทำศัลยกรรม เพราะมีแนวโน้มการออกข้างนอกไปเจอตัวเป็น ๆ น้อยลง ซึ่งจะเปลี่ยนนิยามความงามในรูปแบบใหม่ไปเลย และสั่นสะเทือนวงการแฟชั่น ความงาม อย่างแน่นอน โดยจะส่งผลเชื่อมโยงมายังรสนิยมบนโลกจริง เช่น เทรนด์การแต่งหน้า แต่งตัว แบบอวตาร

– แนวโน้มนี้อาจทำให้คนรุ่นใหม่ย้ายการจับจ่ายไปใช้บนโลกทิพย์ ที่ช่วยเติมเต็มความฝันและเติมเต็มความรู้สึกดี ๆ ทางจิตวิญญาณที่หาไม่ได้ในโลกจริง Forbes รายงานว่าการใช้จ่ายซื้อไอเทมต่าง ๆ สูงขึ้นถึง 50% เป็น 1.2 หมื่นล้านเหรียญ ในช่วงปี 2019 – 2020

23% ของผู้บริโภคมีการใช้จ่ายซื้อไอเทมให้ร่างอวตารของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หน้า ผม และของจุกจิกอื่น ๆ
33% ของผู้บริโภค ยินดีที่จะจ่ายค่าไอเทม สูงถึง 300-1,500 บาทต่อเดือน
22% ยินดีจะใช้สูงถึง 15,000 บาทต่อเดือน
2% กล่าวว่าอาจใช้สูงกว่า 15,000 บาทต่อเดือน

enviro 2022 trend 5

4. รักทิพย์ Seem-Real Relation

– จากผลสำรวจ 51% อยากเจอเพื่อนใหม่ ๆ แบบไม่จำกัด เชื้อชาติ ศาสนา และภาษาในโลกทิพย์ การมีความสัมพันธ์แบบ Virtual นี้ทำให้เรามีปฎิสัมพันธ์กันเหมือนประสบการณ์จริง โดยสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัวได้โดยไม่ต้องออกไปเจอกันตัวเป็น ๆ ต่อไปนี้เราสามารถมีความสัมพันธ์แบบที่เราต้องการได้ตามใจฝัน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา นิสัย และรูปแบบการคบหา เสมือนกระโดดเข้าไปเป็นพระเอก นางเอกในหนัง โดยไม่ต้องมาเจอสารพัดปัญหาที่ทำให้ความสัมพันธ์ทุกวันนี้ย่ำแย่

– หลักฐานจากการสแกนสมองด้วย MRI เพื่อเปรียบเทียบระหว่างปฎิสัมพันธ์บนโลกจริงและโลกเสมือน พบว่ามีความซับซ้อนมาก การทดลองส่วนใหญ่พบว่าปฎิสัมพันธ์บนโลกทิพย์ที่สร้างประสบการณ์ได้เสมือนจริง สามารถกระตุ้นเซลล์ประสาท ไม่ต่างจากปฎิสัมพันธ์แบบตัวเป็น ๆ ดังนั้นรูปแบบความรักที่เปลี่ยนไป ทำให้เราอาจจะเห็นคนโสดมากขึ้น ความต้องการมีครอบครัวที่น้อยลง ปัญหาโรคติดต่อน้อยลง และหวังว่าปัญหาสุขภาพจิตใจ โรคซึมเศร้าอาจจะดีขึ้น

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคจะยิ่งมีความซับซ้อนขึ้นไปอีก เหมือนยุคเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ คงต้องจับตาว่าหลังจากนี้ Metaverse จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

คุณสรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโร (ไทยแลนด์) จำกัด

บริษัท เอ็นไวโร ประเทศไทย จำกัด (ในเครือบริษัทอินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ) บริษัทวิจัยยักษ์ใหญ่ระดับโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก และอีกหลายสาขาทั่วโลก เช่น มิลาน โตเกียว เม็กซิโก มอสโก เป็นต้น เอ็นไวโร เน้นศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง ที่เกิดจากการเฝ้าสังเกต สะกดรอยผู้บริโภคอย่างแท้จริง หรือที่เรียกว่า “Observational Research”


แชร์ :

You may also like