HomeReal Estate & Condoเปิดผังพื้นที่รีเทล ‘สีลมเอจ’ จุดขายร้านอาหาร 24 ชั่วโมง ห้างปิดเที่ยงคืน เปิดบริการ ก.ย.นี้

เปิดผังพื้นที่รีเทล ‘สีลมเอจ’ จุดขายร้านอาหาร 24 ชั่วโมง ห้างปิดเที่ยงคืน เปิดบริการ ก.ย.นี้

แชร์ :

หลังจากบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ FPT ได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่หัวมุมถนนสีลม-พระราม 4 ระยะเวลา 30 ปี ซึ่งเป็นที่ตึกสีลม เซ็นเตอร์ และเดิมมีห้างโรบินสัน ที่ปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2551

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยเฟรเซอร์สฯ ได้พัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส บนพื้นที่ 50,000 ตารางเมตร ใช้ชื่อว่า “สีลมเอจ” (Silom Edge) เป็นรูปแบบ Re-development ครั้งแรก คือการปรับโฉมอาคารเก่าทั้งพื้นที่สำนักงานเช่าและรีเทล ด้วยมูลค่าลงทุนกว่า 1,800 ล้านบาท เตรียมเปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2565

คุณธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) ได้อัปเดทความคืบหน้าส่วนรีเทล สีลมเอจ 7 ชั้น รวมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตร

โซน 24 ชั่วโมง 2 ชั้น
– ชั้น B1 Hashery Hab ร้านอาหาร
– ชั้น G All Day Eatery ร้านอาหาร
โซน ช้อปปิ้ง 4 ชั้น
– ชั้น 1 Bling-Bling เป็นสินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ จิวเวลรี่
– ชั้น 2 Life and Tech สินค้าไลฟ์สไตล์และเทคโนโลยี มีเชื่อม BTS และ โรงพยาบาลจุฬาฯ
– ชั้น 3 Glow Up สถานเสริมความงามตามเทรนด์ดูแลสุขภาพ
– ชั้น 4 Holistic Wellness บริการดูแลสุขภาพ แพทย์ทางเลือก

โซน Over The Edge
– ชั้น 9 ร้านอาหาร แหล่งแฮงเอาท์ ที่เห็นวิวสีลม พระราม 4 สวนลุม พื้นที่ Rooftop แบบกึ่งในร่มและกลางแจ้ง

silom edge 3

พื้นที่รีเทลสีลมเอจ มีขนาดไม่ใหญ่ราว 10,000 ตารางเมตร จึงเป็นความท้าทายในการวางส่วนผสมของร้านค้า (Retail Tenant Mix) ให้มีความหลากหลาย ด้วยร้านค้าทางเลือก ตามไลฟ์สไตล์กลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่และสตาร์ทอัพ จึงไม่เน้นเชน สโตร์ขนาดใหญ่

นอกจากโซน 24 ชั่วโมง รองรับลูกค้าใช้บริการร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา และเครื่องจำหน่ายสินค้าระบบอัตโนมัติ ส่วนพื้นที่ศูนย์การค้าจะเปิดบริการตั้งแต่ 11:00 น. ถึงเที่ยงคืน ให้สอดคล้องกับทำเลสีลมที่เป็นย่าน Nightlife ของคนไทยและนักท่องเที่ยว

กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่สีลมเอจ
– วันธรรมดามีคนอยู่ในย่านสีลม 700,000 คนต่อวัน วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ 500,000 คนต่อวัน
– คนอาศัยในพื้นที่ 500,000 คน คนทำงาน 350,000 คน
– กลุ่มที่มาใช้บริการสวนลุม วันธรรมดา 10,000 คนต่อวัน วันเสาร์-อาทิตย์ 15,000 คนต่อวัน เป็นกลุ่มที่จะเข้ามาเติมในศูนย์การค้าได้ช่วงวันหยุด

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายใช้เวลาแต่ละช่วงเวลาต่างกัน
– พนักงานออฟฟิศ ทำงาน 6.00-18.00 น. จะมาใช้บริการได้ในช่วงก่อนและหลังเลิกงาน
– บุคคากรทางการแพทย์ รพ.จุฬาฯ รวมทั้งคนไข้และญาติคนไข้ สามารถมาใช้บริการได้ผ่านทางเชื่อมสกายวอล์กเข้าศูนย์ฯ
– กลุ่มสวนลุมมาออกกำลังกาย 2 ช่วงหลัก คือ 5.00-7.00 น. และ 17.00-20.00 น. หลังจากออกกำลังกายแล้วกลุ่มนี้จะเข้ามาใช้บริการร้านอาหาร
– กลุ่มนักท่องเที่ยวกลางคืนในสีลม Nightlife มาใช้บริการร้านอาหารทั้งก่อนและหลังเที่ยว
– หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยว Nightlife ย่านสีสมอีกกลุ่ม

Silom Edge Interior 55

ดึง “มือใหม่” เปิดร้านค้า

สถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นมา 2 ปี ได้ส่งต่อรูปแบบการเช่าพื้นที่ของผู้ประกอบการเปลี่ยนไป พบว่าเชน สโตร์ รายเดิมลดขนาดการเช่าพื้นที่ลง และพบแนวโน้มร้านค้า “หน้าใหม่” ที่เดิมขายออนไลน์ มาเปิดหน้าร้านออฟไลน์มากขึ้น แต่จะเน้นพื้นที่ขนาดเล็กลง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย

ดังนั้นพื้นที่รีเทลของสีลมเอจ จึงให้ข้อเสนอเปิดร้านแบบ Rookie Paradise หรือเป็นสวรรค์มือใหม่ ด้วยราคาค่าเช่าไม่แตกต่างจากทำเลค้าปลีกในย่านเดียวกัน จัดพื้นที่ไซซ์เล็กให้เลือกเปิดร้าน บางโซนตกแต่งพื้นที่พร้อมเปิดร้านเพื่อลดค่าใช้จ่ายตกแต่ง ระยะเวลาสัญญา 6 เดือน หรือ 1 ปี (ปกติขั้นต่ำ 3 ปี) เพิ่มความยืดหยุ่นลงทุนและให้ตัดสินใจง่ายขึ้น

การให้บริการในพื้นที่รีเทลสีลมเอง เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ รองรับกลุ่มผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพที่ต้องการทดสอบตลาดและวางจำหน่ายสินค้าในทำเลสีลม รวมทั้งส่งเสริมการทำธุรกรรมในรูปแบบดิจิทัล (Cashless Society) และสนับสนุนการชำระค่าบริการด้วย คริปโตฯ

คุณธีรนันท์ กรศรีทิพา

สามย่านมิตรทาวน์ฟื้นจากโควิด ผู้เช่า 98%

ส่วนพื้นที่รีเทล “สามย่านมิตรทาวน์” แม้ในปีที่ผ่านมาจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ยืดเยื้อ แต่ก็ยังคงรักษาอัตราผู้เช่าไว้ในระดับสูงที่ 98% มีร้านค้าเปิดใหม่ 27 ร้านค้า โดยหลังจากรัฐบาลประกาศคลายล็อคดาวน์ ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้า มีจำนวนผู้เข้าใช้บริการเฉลี่ย 55,000 คน/วัน ปี 2565 เตรียมแคมเปญใหญ่ “เรียนทาวน์” ตอกย้ำการเป็นแหล่งอาหารและการเรียนรู้

กลยุทธ์การบริหารพื้นที่รีเทลจนผ่านวิกฤติโควิดมาได้ มี 4 เรื่องหลัก

1. ลื่นไหลไปกับกระแสนิยมแบบ Real Time (Fluid Approach) การตลาดแบบทันท่วงที คือ หัวใจสู่ความสำเร็จในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การปลดล็อคข้อจำกัดและรูปแบบการดำเนินงานแบบเดิมๆ ทำให้สามารถดึงลูกค้ากลับมาใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง

2. กำหนดนิยามใหม่ในการใช้ประโยชน์จากสถานที่ (Redefine Physical Location) ด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่เปิดกว้างและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เน้นการสร้างสเปซให้เกิดประโยชน์กับชุมชนเป็นสำคัญ ส่งเสริมบทบาทศูนย์การค้าที่เป็นเดสติเนชั่น

3. ยกระดับการใช้เทคโนโลยีในพื้นที่รีเทล (Leverage Digital Technology) เตรียมรองรับการชำระค่าบริการด้วยเงินดิจิทัล เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้ลูกค้า ยกระดับการบริการด้วยแอปพลิเคชั่น MitrCare ล่าสุดได้ร่วมมือกับ KBTG เพิ่มฟังก์ชั่นระบบจัดซื้อ หรือ E-Catalogue อำนวยความสะดวกขั้นสูงสุดให้แก่ร้านค้าตลอด 24 ชั่วโมง

4. ส่งเสริมสุขอนามัยของผู้ใช้บริการและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง (Hygiene and Safety Practice) ตามมาตรการ PREVENTIVE ด้วยเข้มงวดในการคัดกรองผู้ใช้บริการ ณ จุดตรวจวัดอุณหภูมิ การรักษาระยะห่าง การบังคับสวมหน้ากาก และการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนด

“หัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จในยุคที่ธุรกิจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายและความไม่แน่นอน คือการทลายทุกข้อจำกัด และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์อยู่เสมอ ปรับกลยุทธ์และแผนการตลาดอย่างทันท่วงที จะทำให้สามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรคไปได้ด้วยดี”


แชร์ :

You may also like