HomeBrand Move !!ศูนย์ฯสิริกิติ์ เปิดบริการ ก.ย.นี้ พร้อมพื้นที่รีเทลโฉมใหม่ ทุกงานแฟร์เดิมคอนเฟิร์มจัดงาน

ศูนย์ฯสิริกิติ์ เปิดบริการ ก.ย.นี้ พร้อมพื้นที่รีเทลโฉมใหม่ ทุกงานแฟร์เดิมคอนเฟิร์มจัดงาน

แชร์ :

 

QSNCC cover

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริหารโดยบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ธุรกิจในเครือเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้ปิดปรับปรุงไปเมื่อเดือนเมษายน 2562 หลังจากให้บริการมา 30 ปี เริ่มจากประชุม World Bank ครั้งที่ 46 ในปี 2534 ณ เวลานั้นถือเป็นศูนย์ประชุมใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดเริ่มต้นธุรกิจ MICE ของประเทศไทย โดยรองรับการจัดประชุมและอีเวนต์สำคัญ ๆ ทั้งในประเทศและนานาชาติมาแล้วกว่า 30,000 งาน


โฉมใหม่ ศูนย์ฯสิริกิติ์ ใช้งบประมาณปรับปรุงกว่า 15,000 ล้านบาท มีบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้พัฒนาคอนเซ็ปต์และก่อสร้าง โดยเตรียมเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายน 2565

ศูนย์ฯสิริกิติ์โฉมใหม่

– ศูนย์ฯสิริกิติ์โฉมใหม่ มีพื้นที่โครงการรวม 300,000 ตารางเมตร ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า หรือมีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล 50 สนาม สูง 5 ชั้น (ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น และบนดิน 2 ชั้น)

– พื้นที่รองรับการจัดการประชุมและนิทรรศการ 78,500 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยฮอลล์สำหรับการจัดงานขนาดใหญ่ 2 ฮอลล์ พื้นที่รวมกว่า 45,000 ตารางเมตร ห้องจัดประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ 2 ห้อง พื้นที่ประมาณ 10,000 ตารางเมตร (เพลนารี ฮอลล์และบอลรูม) และห้องประชุมย่อยรองรับการประชุมได้กว่า 50 ห้อง และพื้นที่รีเทล 11,000 ตารางเมตร

– รองรับผู้เข้าร่วมงานกว่า 100,000 คนต่อวัน มีที่จอดรถ 3,000 คัน ทางเข้าออก 4 ถนน (พระราม 4 สุขุมวิท รัชดาภิเษก ดวงพิทักษ์)

– เปิดทางเชื่อม MRT เข้าศูนย์ฯสิริกิติ์ ชั้นใต้ดินโดยไม่ต้องเดินออกมานอกสถานีเพื่อเข้าศูนย์ฯ มีทางเชื่อมจากศูนย์ฯสิริกิติ์ ไปยังสวนป่าเบญจกิติ ขนาด 450 ไร่ จะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2565 (ในสวนป่าเบญจกิติ มีเส้นทางสกายวอล์กเชื่อมไปยังสวนลุม)

QSNCC 12

ทางเชื่อม MRT เข้าศูนย์ฯสิริกิติ์

ยอดจองแน่นทุกงานเดิมคอนเฟิร์มกลับศูนย์ฯ

– ก่อนปิดปรับปรุง มีงานแฟร์หลายงานที่จัดเป็นประจำที่ศูนย์ฯสิริกิติ์ และมีผู้เข้าชมงานจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น งานสัปดาห์หนังสือ, งานไทยเที่ยวไทย, Thailand Mobile Expo , Commart , Money Expo เป็นต้น โดยงานต่างๆ เหล่านี้ ต้องย้ายสถานที่จัดไปยังศูนย์ประชุมอื่นแทน ช่วงที่ศูนย์ฯสิริกิติ์ปิดปรับปรุง

– การกลับมาเปิดบริการอีกครั้งในเดือนกันยายน 2565 นี้ คุณศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่างานกลุ่มแรกที่จะเข้ามาจัดในศูนย์ฯ คืองานแฟร์ต่างๆ ที่เคยจัดที่ศูนย์ฯสิริกิติ์อยู่แล้ว เช่น งานสัปดาห์หนังสือ, งานท่องเที่ยว, งานคอมพิวเตอร์-มือถือ งานธุรกิจการเงิน ผู้จัดงานยืนยันแล้วว่าจะกลับมาจัดที่ศูนย์ฯสิริกิติ์แน่นอน เพราะมั่นใจในทำเลที่เดินทางสะดวกและภาพลักษณ์การเป็นศูนย์ประชุมนานาชาติ

– หลังกำหนดเปิดบริการในเดือนกันยายนนี้ มีผู้จัดงานทั้งไทยและต่างประเทศ (เยอรมนี อังกฤษ สิงคโปร์) จองพื้นที่ปี 2565-2566 เข้ามาแล้ว 70% (ใกล้เคียงกับก่อนปิดปรับปรุงที่ทำได้ 80%) โดยปี 2566 มีทั้งหมด 130 งาน รองรับผู้จัดงานและผู้เข้าชมงานปีละ 13 ล้านคน

– เป้าหมายมีลูกค้ากลุ่มเทรดแฟร์ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่จากต่างชาติเพิ่มขึ้น เป็นงานรูปแบบ B2B และ Business Matching ลูกค้ากลุ่มเอ็กซิบิชั่น จาก CLMV รองรับงานระดับเวิลด์คลาส เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลาง MICE รวมทั้งงานคอนเสิร์ตใหญ่ ไลฟ์สไตล์โชว์ อีสปอร์ต อาร์ตแกลเลอรี่ โดยวางเป้าหมายลูกค้าต่างชาติจัดงาน 70% แต่ช่วงโควิดนี้คาดว่าจะทำได้ 60% และลูกค้าไทย 40%

– สำหรับงาน APEC 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ศูนย์ฯสิริกิติ์ มีความพร้อมด้านสถานที่จัดงาน ซึ่งกระทรวงต่างประเทศและรัฐบาลกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกสถานที่

– นอกจากนี้ศูนย์ฯสิริกิติ์ โฉมใหม่ได้แก้ปัญหาเดิม ไม่ว่าจะเป็น ที่จอดรถเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 คัน (จากเดิม 600 คัน) พื้นที่ฮอลล์จัดงานไซส์ใหญ่ มีจุด loading สินค้าและอุปกรณ์สามารถขับรถขนเข้ามาในพื้นที่เอ็กซิบิชั่นฮอลล์ทั้ง 2 ชั้น

QSNCC Retail BALM Concept 04

เปิดพื้นที่ค้าปลีก 11,000 ตารางเมตร

– สำหรับพื้นที่รีเทลของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ขนาด 11,000 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากเดิม 30% บริหารโดย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้บริหารพื้นที่ค้าปลีกสามย่านมิตรทาวน์ และสีลมเอจ วางคอนเซ็ปต์เป็น Bangkok Active Lifestyle Mall (BALM) หรือ แอคทีฟไลฟ์สไตล์มอลล์เต็มรูปแบบแห่งแรกของกรุงเทพฯ มีร้านค้าแบรนด์ชั้นนำกว่า 100 ร้าน รองรับผู้จัดงานและผู้เข้าชมงาน ทั้งเจรจาธุรกิจ จุดนัดพบ

– โลเคชั่นโซนพระราม 4 มีทั้งสวนเบญจกิติ สวนลุม โรงแรม อาคารสำนักงาน โดยมีผู้อยู่อาศัยพื้นที่โดยรอบประมาณ 300,000 คน , คนทำงาน 100,000 คน ผู้จัดงานและเข้าชมงาน 13 ล้านคนต่อปี ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายของพื้นที่รีเทล จึงเป็นผู้จัดงานและผู้เข้าชมงาน 75%, กลุ่มออกกำลังกาย (สวนเบญจกิติและสวนลุม) 15% และพนักงานออฟฟิศ 10%

– สรุปพื้นที่รีเทล แบ่งเป็น ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 60% เช่น Day Cafe ร้านอาหาร ฟู้ดคอร์ท, บริการอีเวนต์ 20% และกีฬา,อุปกรณ์กีฬา,เครื่องแต่งกาย และการดูแลสุขภาพ 20%

QSNCC 11

  • ชั้น B1 พื้นที่ 1,600 ตารางเมตร อินเตอร์เนชั่นแนล ฟู้ดคอร์ท รองรับผู้จัดงานและผู้เข้าชมงาน
  • ชั้น LG พื้นที่ 4,300 ตารางเมตร โซนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT Gateway และโซน F&B Corridor
  • ชั้น LM พื้นที่ 2,400 ตารางเมตร ธุรกิจสนับสนุนการจัดอีเวนต์รูปแบบต่างๆ
  • ชั้น G พื้นที่ 1,800 ตารางเมตร ร้านอาหารและเครื่องดื่มไลฟ์สไตล์
  • ชั้น 2 พื้นที่ 900 ตารางเมตร พื้นที่บริการทุกรูปแบบสำหรับ Business Matching

ศูนย์ฯสิริกิติ์โฉมใหม่พื้นที่ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า หลังเปิดบริการในเดือนกันยายนนี้ จึงวางเป้าหมายรายได้เพิ่มขึ้น 5 เท่าเช่นกัน โดยพื้นที่รีเทลจะมีสัดส่วน 15% ของรายได้ศูนย์ประชุม

QSNCC Retail BALM Concept 08

QSNCC Retail BALM Concept 03

QSNCC Retail BALM Concept 07

QSNCC Retail BALM Concept 05

QSNCC Retail BALM Concept 02

QSNCC Retail BALM Concept 01

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like