HomeBrand Move !!‘อาคเนย์ประกันภัย’ ยืนยันปิดกิจการ ไม่โอนให้ ‘อินทรประกันภัย’ ยกเลิกกรมธรรม์ 10 ล้านราย คืนเบี้ยทั้งหมด   

‘อาคเนย์ประกันภัย’ ยืนยันปิดกิจการ ไม่โอนให้ ‘อินทรประกันภัย’ ยกเลิกกรมธรรม์ 10 ล้านราย คืนเบี้ยทั้งหมด   

แชร์ :

TGH insure

หลังจากบริษัทเครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TGH  ธุรกิจด้านประกันและการเงินของกลุ่มทีซีซี ของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 เรื่องมติที่ประชุมคณะกรรมการให้ “เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย” ของบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ธุรกิจในเครือไทย โฮลดิ้งส์  เนื่องจากได้รับผลกระทบจากยอดเคลมประกันโควิด “เจอจ่ายจบ” กว่า 9,900 ล้านบาท

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 อาคเนย์ประกันภัย ได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นและได้มีมติ “เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย” และการจัดการเกี่ยวกับภาระและกรมธรรม์ประกันภัยทั้งหมดของ อาคเนย์ประกันภัย ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของมติที่ประชุมคณะกรรมการของ TGH ดังนี้

1.  “เห็นชอบ” การเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์ประกันภัย ซึ่งเป็นการใช้สิทธิขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยโดยสมัครใจและส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียนตามมาตรา 57 และ 57/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่การแก้ไขเพิ่มเติม)

โดยขอให้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการและจัดการเกี่ยวกับภาระและกรมธรรม์ประกันภัยทั้งหมดของ อาคเนย์ประกันภัย รวมถึงการคืนเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัยทุกรายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ อาคเนย์ประกันภัย ยังมีภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัยนั้น ๆ (รวมถึง กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อโควิด) รวมทั้งการจัดหาผู้รับประกันภัยรายใหม่ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ คปภ. และกองทุนฯ เห็นชอบ

2. “ไม่เห็นชอบ” การโอนกิจการของ อาคเนย์ประกันภัย ให้แก่ บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 99.88 โดยไม่มีผู้ใดออกเสียงคัดค้าน (ซึ่งเป็นไปตามมติบอร์ด TGH เช่นกัน)

แนวทางจัดการเกี่ยวกับภาระและกรมธรรม์ประกันภัยทั้งหมดของ อาคเนย์ประกันภัย จะดำเนินการโดยการ “คืนเบี้ยประกัน” ให้กับผู้เอาประกันภัยทุกรายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ อาคเนย์ประกันภัย ยังมีภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัยนั้น ๆ (ซึ่งรวมถึง กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อโควิด) รวมทั้งการจัดหาผู้รับประกันภัยรายใหม่ให้แก่ผู้เอาประกันภัยเพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติม

สาเหตุ ‘อาคเนย์ประกันภัย’ เลิกกิจการ

การตัดสินใจเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ “อาคเนย์ประกันภัย” มาจากปัญหายอดเคลมประกันโควิด “เจอจ่ายจบ” เพิ่มขึ้นสูง โดยได้จ่ายค่าสินไหมไปแล้วกว่า 9,900 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทีซีซี (ผู้ถือหุ้นใหญ่)

อีกทั้งจากการดำเนินการในทางเลือกอื่นๆ เช่น การเพิ่มทุนหรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในกิจการของอาคเนย์ประกันภัยอาจจะไม่สามารถทำได้ รวมถึงผู้ถือหุ้นรายใหญ่กลุ่มทีซีซีเองได้สนับสนุนด้านการเงินไปแล้วเกือบ 10,000 ล้านบาทเพื่อช่วยพยุงธุรกิจประกันวินาศภัยในช่วงที่ผ่านมา

โดย ณ วันที่ 1 มกราคม 2565 อาคเนย์ประกันภัยมีสินทรัพย์สุทธิคงเหลือกว่า 1,800 ล้านบาท และยังสามารถดำรงอัตราส่วนความพอเพียงของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) อยู่ที่ประมาณร้อยละ 170

การเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยโดยสมัครใจในขณะที่ยังคงมีสถานะทางการเงินเพียงพอและยังดำรงเงินกองทุนได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยขอให้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยพิจารณาให้กองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการคืนเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัยทุกรายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่อาคเนย์ประกันภัย ยังมีภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยทั้งหมด (รวมถึงกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อโควิด) รวมทั้งจัดหาผู้รับประกันภัยรายใหม่ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกองทุนประกันวินาศภัย

สรุปยกเลิกกรมธรรม์กว่า 10 ล้านราย

ปัจจุบัน อาคเนย์ประกันภัย มีผู้ถือกรมธรรม์ รวม 10,480,957 ราย

– กรมธรรม์ประกันภัย (ไม่ใช่โควิด-19) จำนวน 8,629,036 ราย  เช่น ประกันภัยรถยนต์,ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ, ประกันภัยทรัพย์สิน

– กรมธรรม์โควิด-19 จำนวน 1,851,921 ราย

– มีคู่ค้า เช่น อู่ซ่อมรถ โรงพยาบาล ตัวแทน จำนวน 9,000 ราย

– พนักงานอาคเนย์ประกันภัย จำนวน 1,396 คน

บทสรุปหลังจาก อาคเนย์ประกันภัย ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นและมีมติเห็นชอบ “เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย” และส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อนายทะเบียนตามกฎหมาย และไม่โอนกิจการไปให้ “อินทรประกันภัย” เช่นเดียวกับมติบอร์ด TGH ได้ออกมาก่อนหน้านี้

ดังนั้น อาคเนย์ประกันภัย จึงเลิกกิจการ ด้วยการยกเลิกกรมธรรม์ทุกประเภททั้งหมด (ไม่ว่าจะเป็นกรมธรรม์ Covid และ Non Covid) กว่า 10 ล้านราย โดยให้ คปภ. และกองทุนฯ จะเข้ามาดูแลการเคลมและคืนเบี้ยประกันทั้งหมดหลังจากนี้ 

ชี้แจงยังดำเนินธุรกิจปกติแม้ยื่นเลิกกิจการ

อาคเนย์ประกันภัย ได้ชี้แจงว่าปัจจุบัน ยังดำเนินธุรกิจและให้บริการ รวมถึงความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยตามปกติ โดยมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมายอยู่ถึงร้อยละ 170 และยังมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะจ่ายค่าสินไหมให้กับลูกค้าและคู่ค้าทุกราย

การดำเนินการใช้สิทธิขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยโดยสมัครใจ และส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียน (คปภ.) เป็นไปเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดในการลดผลกระทบสำหรับลูกค้าผู้เอาประกันทุกประเภทและผู้เกี่ยวข้องให้ได้รับเงินคืนทุกราย ซึ่งลูกค้าทุกกรมธรรม์จะได้รับการคุ้มครองและดูแลตามสิทธิ์อย่างถูกต้อง รวมถึงการดูแลพนักงาน คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจทุกราย โดยยืนยันว่า “การตัดสินใจครั้งนี้ น่าจะเป็นการหาทางออกที่ดีที่สุด คือการยอมเลิกกิจการเพื่อให้ทุกคนได้เงินคืน”

ตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา อาคเนย์ประกันภัย ได้มีการแก้ปัญหาในกรณีกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 แบบเจอจ่ายจบ ผ่านหลายช่องทางที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นต่อการดำรงธุรกิจให้คงอยู่ได้โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดในประเทศไทยรุนแรงขึ้น

ขั้นตอนการเลิกกิจการขณะนี้ คือ การเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการ คปภ. ที่จะมีการประชุมในวันที่ 28 มกราคม 2565

 ธุรกิจที่เหลือของเครือไทยโฮลดิ้งส์ 

หลังจาก “อาคเนย์ประกันภัย” เลิกกิจการ เครือไทย โฮลดิ้งส์ ยังมีธุรกิจในเครืออีกดังนี้

– อาคเนย์ประกันชีวิต ธุรกิจประกันชีวิต

– อาคเนย์แคปปิตอล ธุรกิจลิสซิ่งและบริการรถเช่าเพื่อธุรกิจ

– อาคเนย์ มันนี่  ธุรกิจสินเชื่อสำหรับธุรกิจและส่วนบุคคลที่มีหลักประกัน

– บริษัทอินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

– รถดีเด็ด ออโต้ ธุรกิจขายและให้เช่ารถมือสอง

– บริษัทย่อยในเครืออีกกว่า 16 บริษัท เช่น ธุรกิจอู่และจัดจำหน่ายอะไหล่, บริการที่ปรึกษาการลงทุน, ธุรกิจพัฒนาเทคโนโลยีในการทำประกันภัย, โบรกเกอร์ประกันชีวิตและประกันวินาศภัย

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like