นีลเส็น สรุปมูลค่าเม็ดเงินโฆษณา ปี 2021 (มกราคม-ธันวาคม) ลดลง 1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 โดยมูลค่าอยู่ที่ 107,151 ล้านบาท “ทีวี” ยังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 59%
ปี 2021 ที่ยังต้องเจอกับสถานการณ์โควิด มีเพียง 2 สื่อที่เติบโตได้ คือ ทีวี มูลค่า 63,662 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% และสื่อออนไลน์ มูลค่า 23,315 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11%
ส่วนสื่ออื่นๆ อยู่ในภาวะ “ลดลง” ไม่ว่าจะเป็น สื่อนอกบ้าน (ป้ายโฆษณาและสื่อเคลื่อนที่) มูลค่า 9,709 ล้านบาท ลดลง 12% วิทยุ มูลค่า 3,261 ล้านบาท ลดลง 9% สื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์และนิตยสาร) มูลค่า 3,108 ล้านบาท ลดลง 19% สื่อในโรงภาพยนตร์ มูลคา 3,420 ล้านบาท ลดลง 22% และสื่ออินสโตร์ มูลค่า 676 ล้านบาท ทรงตัว
ท็อปเทน อุตสาหกรรมหลักใช้งบโฆษณาสูงสุดในปี 2021
1. อาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) มูลค่า 18,175 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8%
2. กลุ่มของใช้ส่วนบุคคลและเครื่องสำอาง (Personal Care & Cosmetic) มูลค่า 14,853 ล้านบาท ลดลง 3%
3. มีเดียและมาร์เก็ตติ้ง มูลค่า 11,727 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1%
4. ยานยนต์ (Automotive) มูลค่า 6,204 ล้านบาท ลดลง 4%
5. ผลิตภัณฑ์ยา (Pharmaceuticals) มูลค่า 5,751 ล้านบาท ลดลง 2%
6. ร้านค้าปลีกและร้านอาหาร (Retail Shop/Food Outlets) มูลค่า 5,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%
7. สื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) มูลค่า 4,218 ล้านบาท ลดลง 11%
8. ของใช้ภายในบ้าน (Household Products) มูลค่า 4,173 ล้านบาท ลดลง 4%
9. การเงินและการลงทุน (Finance) มูลค่า 3,662 ล้านบาท ลดลง 21%
10. หน่วยงานภาครัฐ มูลค่า 2,559 ล้านบาท ลดลง 21%
10 อันดับบริษัทใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในปี 2021
1. ยูนิลีเวอร์ (ไทย) โฮลดิ้งส์ มูลค่า 4,575 ล้านบาท ลดลง 9%
2. เนสท์เล่ มูลค่า 3,002 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7%
3. พีแอนด์จี มูลค่า 2,255 ล้านบาท ลดลง 7%
4. แมส มาร์เก็ตติ้ง มูลค่า 1,982 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27%
5. โมโน ช้อปปิ้ง มูลค่า 1,896 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 102%
6. โคคา-โคลา (ประเทศไทย) มูลค่า 1,478 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18%
7. เอไอเอส มูลค่า 1,335 ล้านบาท ลดลง 9%
8. โอ ช้อปปิ้ง มูลค่า 1,279 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55%
9. โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย มูลค่า 1,277 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7%
10. คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ มูลค่า 1,245 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47%
10 อันดับ “แบรนด์” ใช้งบโฆษณาสูงสุด ปี 2021
1. 29 ช้อปปิ้ง (ขายตรงช่องโมโน 29) มูลค่า 1,862 ล้านบาท
2. โอ ช้อปปิ้ง (ขายตรง) มูลค่า 1,279 ล้านบาท
3. โค้ก มูลค่า 1,169 ล้านบาท
4. อาร์เอส มอลล์ (ขายตรง) มูลค่า 1,100 ล้านบาท
5. เทพไทย ยาสีฟัน มูลค่า 1,079 ล้านบาท
6. ลาซาด้า มูลค่า 1,076 ล้านบาท
7. ช้อปปี้ มูลค่า 1,062 ล้านบาท
8. คอลเกต ยาสีฟัน มูลค่า 627 ล้านบาท
9. เนสกาแฟ มูลค่า 610 ล้านบาท
10. โมโนแมกซ์ มูลค่า 606 ล้านบาท
ปี 2021 พบว่าธุรกิจขายตรงและมาร์เก็ตเพลส (ลาซาด้า-ช้อปปี้) ติดอันดับท็อปเทนแบรนด์ ใช้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อออฟไลน์และออนไลน์เพิ่มขึ้นสูง เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่ใช้เวลาอยู่บ้านดูทีวี และช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้นในช่วงโควิด