HomeBrand Move !!เชนร้านวิดีโอ-ร้านหนังสือ “Tsutaya” รุกอาเซียน! เตรียมเปิดร้านหนังสือ-คาเฟ่สาขาแรกที่มาเลเซีย-เล็งขยายทั่วเอเชีย

เชนร้านวิดีโอ-ร้านหนังสือ “Tsutaya” รุกอาเซียน! เตรียมเปิดร้านหนังสือ-คาเฟ่สาขาแรกที่มาเลเซีย-เล็งขยายทั่วเอเชีย

แชร์ :

BUKIT JALIL TSUTAYA BOOKS

หากใครเกิดยุค ‘80s – ‘90s จะได้เห็นความรุ่งโรจน์ของธุรกิจร้านเช่าวิดีโอ ที่ต่อมาเป็นเช่าดีวีดี มีทั้งร้านของผู้ประกอบการรายย่อย และรูปแบบเชนที่ขยายสาขาในทำเลต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ Tsutaya” (ซึทาญ่า ประเทศไทย) เป็นแฟรนไชส์ซีของ Tsutaya ประเทศญี่ปุ่น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แม้ทุกวันนี้ชื่อ Tsutaya ในไทยหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย แต่ในญี่ปุ่น “Tsutaya” ยังคงดำเนินธุรกิจมายาวนานเป็นเวลาเกือบ 40 ปีแล้ว อยู่ในเครือบริษัท Culture Convenience Club” (CCC) โดยมีทั้งเชนร้านหนังสือใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และร้านซีดี – ดีวีดี และเกมออนไลน์ต่างๆ รวมแล้วมีสาขากว่า 1,100 สาขา อีกทั้งยังมีช่องทางออนไลน์ และระบบ Loyalty Program T Members กว่า 70 ล้านสมาชิก (ณ ปี 2019)

นอกจากฐานตลาดในญี่ปุ่นแล้ว ยังเปิดร้านหนังสือ Tsutaya Books ไปตลาดต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน 6 สาขา จีน 3 สาขา และภายในปี 2022 เตรียมเปิดสาขาแรกในอาเซียนที่ประเทศมาเลเซีย

BUKIT JALIL TSUTAYA BOOKS

 

เปิดร้านหนังสือ Tsutaya Books ที่มาเลเซีย สาขาแรกในอาเซียน

ล่าสุด Culture Convenience Club” (CCC) บริษัทแม่ของ Tsutaya และ Sojitz Corporation จับมือจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อขยายแฟรนไชส์ร้านหนังสือ Tsutaya ไปยังประเทศมาเลเซีย โดยสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นในมาเลเซีย เพื่อเปิดร้านหนังสือและคาเฟ่ BUKIT JALIL TSUTAYA BOOKS บริหารโดย “TSUTAYA BOOKS Malaysia Sdn.Bhd”

BUKIT JALIL TSUTAYA BOOKS อยู่ในศูนย์การค้า Pavilion Bukit Jalil ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ สร้างขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ Cultivate Lifestyle & Culture” ขนาดพื้นที่ 31,000 ตารางฟุต ออกแบบด้วยโมเดล Hybrid Store ภายในร้านประกอบด้วยสินค้า-บริการหลากหลาย

– โซนหนังสือขนาดใหญ่

– ร้านกาแฟ

– พื้นที่ทำกิจกรรมสำหรับครอบครัว

– สนามเด็กเล่น และชั้นวางหนังสือที่ออกแบบมาเพื่อเด็กโดยเฉพาะ ให้น้องๆ หนูๆ ได้สนุกกับการอ่านหนังสือ

– เครื่องเขียน

– อุปกรณ์ศิลปะ – งานฝีมือ

– สินค้าไลฟ์สไตล์

– ของตกแต่งภายใน

– น้ำหอม และอื่นๆ อีกมากมาย

คาดว่า BUKIT JALIL TSUTAYA BOOKS จะเปิดให้บริการภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 นับเป็นก้าวแรกของการเปิดร้านหนังสือ Tsutaya ในตลาดอาเซียน  

BUKIT JALIL TSUTAYA BOOKS

 

GDP Per Capita มาเลเซียสูงเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน กำลังซื้อชาวมาเลเซียโต

เหตุผลสำคัญที่ทำให้เลือกเปิดร้าน Tsutaya Books สาขาแรกในอาเซียนที่ประเทศมาเลเซีย เนื่องจาก

– เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต

– GDP Per Capita (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว) สูงเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน โดยข้อมูลจากกระทรวงคลังของมาเลเซีย คาดการณ์ว่าในปี 2022 จะโตอยู่ที่ 5.5% – 6.5%

– มาเลเซียมีประชากร 32.7 ล้านคนในปี 2021 และกำลังซื้อเติบโตตามรายได้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น

– สนใจในวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของประเทศมาเลเซีย

Culture Convenience Clubวางแผนจะเปิด 55 สาขาในมาเลเซียภายในช่วงต้นทศวรรษ 2030s นอกจากนี้ยังพิจารณาขยายไปยังประเทศอื่นของอาเซียน

BUKIT JALIL TSUTAYA BOOKS

 

ร้านหนังสือรูปแบบ “Hybrid Store” ดึงคนมาใช้บริการ สร้างการเติบโตของยอดขาย

ในสถานการณ์ COVID-19 เป็นช่วงเวลายากลำบากสำหรับบริษัท Culture Convenience Clubโดยผลประกอบการปีงบประมาณล่าสุด (สิ้นสุดมีนาคม 2021) CCC ขาดทุนสุทธิ 14,500 ล้านเยน หรือประมาณ 126 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้ต้องปิดให้บริการร้านหนังสือชั่วคราว ซึ่งปัจจุบันธุรกิจร้านหนังสือ และธุรกิจให้เช่า คิดเป็นสัดส่วน 30% ของกำไรจากการดำเนินงาน ส่งผลให้ CCC ต้องตัดสินใจปิดบางสาขาที่ไม่ทำกำไร

ประกอบกับที่ผ่านมาพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนมาซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น โดยข้อมูลกระทรวงเศรษฐกิจของญี่ปุ่น คาดการณ์ว่ายอดขายของหนังสือ ภาพยนตร์ และเพลงในญี่ปุ่น ปี 2020 มาจากช่องทางออนไลน์ 43%

แม้ผู้คนจะหันมาช้อปออนไลน์มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าผู้บริโภคยังคงอยากออกมาใช้ชีวิตข้างนอก และต้องการค้าปลีกที่เป็น Hybrid Retail มีพื้นที่ให้ลูกค้าได้สนุกและเพลินเพลินไปกับอาหาร และกิจกรรมต่างๆ

เช่น ในย่าน Daikanyama (ไดคังยามะ) เมืองโตเกียว มีโครงการ Daikanyama T-Site เป็นโครงการรีเทลของ Tsutaya เปิดให้บริการในปี 2011 ภายในประกอบด้วยร้านต่างๆ เช่น ร้านหนังสือ Tsutaya Books ออกแบบในคอนเซ็ปต์ A Library in the woods ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านของเล่นเด็ก และบริการสำหรับเด็ก ร้านสัตว์เลี้ยง ร้านจักรยาน และที่นั่ง Outdoor เพื่อให้ลูกค้าที่มาใช้บริการได้ใช้เวลาอ่านหนังสือ จิบกาแฟในบรรยากาศชิลๆ

ที่ผ่านมา Daikanyama T-Site มียอดขายเพิ่มขึ้น 60% และมียอด Traffic เพิ่มขึ้น 20% นับตั้งแต่เปิดให้บริการปี 2011 สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคให้การตอบรับกับโมเดล Hybrid Retail Store เพราะไม่เพียงแต่สร้างความสะดวก มาที่เดียว ได้ครบเท่านั้น แต่ยังได้สัมผัสประสบการณ์ที่หลากหลาย

Muneaki Masuda ผู้ก่อตั้งและประธาน Culture Convenience Club บอกว่าขณะนี้กำลังดำเนินการปรับเปลี่ยนร้าน 900 สาขาให้เป็นรูปแบบ Hybrid Store

Daikanyama T-Site

Daikanyama T-Site (Photo Credit : Facebook 代官山 蔦屋書店 DAIKANYAMA T-SITE)

ทั้งนี้ Culture Convenience Club มีแผนจะขยายร้านให้ได้ 3,000 สาขา ในจำนวนนี้อยู่ในญี่ปุ่น 1,500 สาขา จีน 1,100 สาขา และ 400 สาขาในเอเชีย ซึ่งรวมไต้หวันด้วย อย่างไรก็ตาม ด้วยกฎระเบียบท้องถิ่นของแต่ละประเทศ ทำให้ดำเนินการขยายสาขาตามแผนได้ช้า อย่างการเปิดสาขาแรกในมาเลเซีย ต้องใช้เวลาดำเนินการ 2 ปี

“เราตั้งตารอคอยที่จะเปิดร้านหนังสือ Tsutaya Books แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยากให้ชาวมาเลเซียได้สัมผัสกับแบรนด์ Tsutaya เป็นครั้งแรก โดยหวังว่าจะเป็นพื้นที่สำหรับครอบครัว เด็กผู้รักการอ่านหนังสือ การออกแบบ งานศิลปะ ให้ได้สำรวจ และเติบโตไปพร้อมกับ Tsutaya BooksHideyuki Uemoto ผู้บริหาร Tsutaya Books มาเลเซีย กล่าวทิ้งท้าย

 

Source

Source


แชร์ :

You may also like