HomePR Newsสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) คาดการณ์ตลาดสื่อโฆษณาไทยมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นบวก 3.9% ในปี 2565 สวนกระแสสถานการณ์โอมิครอน [PR]

สมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) คาดการณ์ตลาดสื่อโฆษณาไทยมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นบวก 3.9% ในปี 2565 สวนกระแสสถานการณ์โอมิครอน [PR]

แชร์ :

สมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) กล่าวถึงภาพรวมงบประมาณการใช้สื่อปี 2564 ที่ผ่านมาของไทยของสื่อโฆษณาในประเทศไทยที่ถึงแม้จะมีการแพร่ระบาดของไวรัสพันธุ์ใหม่อย่างโอมิครอนในช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก็ยังคงชะลอตัวติดลบแค่ 1% โดยมีมูลค่าตลาดรวมเท่ากับ 106,400 ล้านบาท ในภาพรวมสื่อดิจิทัลยังคงสื่อที่มีการเติบโตสูดสุดถึง 12% ในขณะที่สื่อประเภทอื่น ๆ โดยเฉพาะสื่อเคลื่อนที่ และสื่อสิ่งพิมพ์ มีการติดลบอย่างเห็นได้ชัด แต่สื่อโทรทัศน์ยังคงมีสัดส่วนอยู่ที่ 60% ของตลาด และโตขึ้น 1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ดร. ธราภุช จารุวัฒนะ นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไอพีจี มีเดียแบรนด์ส กล่าวว่า ”ในปีที่ผ่านมาถือว่าอุตสาหกรรมสื่อและโฆษณาของไทยฟื้นตัวอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 ที่ประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 เป็นครั้งแรก โดยภาพรวมของประเทศไทยมียอดผู้ป่วยโควิด-19 ยังสามารถควบคุมได้ตลอดปี 2563 และในช่วงต้นปี 2564 แต่ก็ยังมีการแพร่ระบาดระลอกใหญ่อยู่ช่วงเริ่มตั้งแต่กลางเดือนเมษายน โดยมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่การยอดผู้ติดเชื้อที่มีมากกว่า 20,000 รายต่อวันในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ด้วยเหตุนี้งบประมาณด้านการตลาดและสื่อโฆษณาจากแบรนด์ต่างๆ จึงถูกลดลงไปบ้างแค่ 1% ในปี 2564 แต่ก็ยังมีปัจจัยบวกเช่นการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนที่มีมากกว่า 60% และการที่มีนโยบายการฉีด booster เข็มสามแก่ประชาชน ทำให้ในปี 2565 มีการคาดการณ์ว่า GDP ของประเทศไทยจะโตขึ้นถึง 3.4% ซึ่งจะทำให้ตลาดสื่อและโฆษณาของไทยจะกลับมาสู่ในทิศทางที่ดีขึ้น พร้อมคาดการณ์ตลาดสื่อโฆษณาไทยฟื้นตัวดีขึ้นที่ 3.9 % หรือประมาณ 110,562 ล้านบาท สวนกระแสการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธ์โอมิครอน ที่แม้ว่าจะมีอัตราการแพร่เชื้อสูงกว่าสายพันธุ์เดลต้าแต่วัคซีนก็สามารถลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามก็ยังต้องติดตามนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับการควบคุมเฉพาะพื้นที่ระบาดของโอมิครอน และมาตรการการเดินทางในประเทศและระหว่างประเทศ การกักตัว รวมไปถึงการแก้ปัญหาราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้การใช้สื่อโฆษณากลับมาสู่สภาพปกติเร็วขึ้นกว่าเดิมได้หรือไม่”


แชร์ :

You may also like