HomeHR & ManangementSEAC เผย 2 ทักษะจำเป็นรับมือความไม่แน่นอนที่คนทำงานและผู้นำยุคนี้ต้องมี

SEAC เผย 2 ทักษะจำเป็นรับมือความไม่แน่นอนที่คนทำงานและผู้นำยุคนี้ต้องมี

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา นับเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนมากมาย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นวิถีการใช้ชีวิต การเรียน การทำงาน จนไปถึงการทำธุรกิจ ทำให้หลายสิ่งที่เคยวางแผนไว้ หรือแม้กระทั่ง “วิธีการ” ที่เคยใช้ได้ดี และ “ทักษะความรู้เดิมๆ” ที่สั่งสมมานาน ก็อาจจะใช้ไม่ได้ผลอีกแล้ว การจะอยู่รอดในโลกที่เต็มไปด้วยความผันผวน และคาดเดายากนี้ การปรับเปลี่ยนตัวเองได้เร็ว และหมั่นเติม “ทักษะใหม่ๆ” เพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ไปพร้อมกับสร้างโอกาสใหม่ๆ ในโลกของการทำงานจึงเป็นสิ่งที่คนทำงานทุกคนจำเป็นต้องมี

แล้วทักษะไหนบ้างที่คนวัยทำงาน คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมทั้งผู้บริหารต้องติดตามและรู้ให้ครบ “SEAC” (ซีแอ็ค) เผย 2 ทักษะสำคัญสำหรับคนทำงานในปี 2022 พร้อมกับแผนธุรกิจที่ตั้งเป้าอัพสกิลคนไทยเพิ่มอีก 1 ล้านคนใน 3 ปี

ส่อง 2 ทักษะมาแรง ปี 2022

1.กลุ่มทักษะดิจิตอลสกิล (Digital Skill)

ปฏิเสธไม่ได้ว่า วันนี้ทุกคนเข้าไปใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้น ทักษะดิจิทัล คอมเมิร์ชจึงจำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Digital Marketing และ E-Commerce

2.กลุ่มทักษะ Essential Soft Skill

ถือเป็นทักษะที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะทำให้เราสามารถปรับตัวได้เร็วและสร้าง Impact ในการทำงาน โดยกลุ่มทักษะนี้ ประกอบด้วย 3 ทักษะ ได้แก่ 1.ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะนี้ไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาธรรมดา แต่เป็นทักษะในเรื่อง Complex Problems Solving เนื่องจากปีนี้เจอความซับซ้อนในโลกของการทำงานมากขึ้น 2.ทักษะการสื่อสาร โดยจะเน้นวิธีการสื่อสารแล้วเกิด Impact หรือสื่อสารแล้วทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ และ 3.ทักษะภาวะผู้นำตัวเอง ยุคนี้เป็นยุคที่ไม่สามารถรอโอกาสให้มีงานดีๆ มาถึงได้ ดังนั้น คนทำงานจึงจำเป็นต้องมีทักษะนี้เพื่อเปลี่ยนความท้าทายต่างๆ ที่เจอให้เป็นโอกาสกับตัวเอง หรือสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แล้วเอาตัวเองเข้าไปสู่โอกาสเหล่านั้นให้ได้

ตั้งเป้าอัพสกิลคนไทย 1 ล้านคน ใน 3 ปี 

ไม่เพียงแต่คนทำงานต้องเติมทักษะใหม่ๆ ให้พร้อมทำงานและใช้ชีวิตในโลกใบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเท่านั้น คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC บอกว่า ซีแอ็คก็ต้องออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ให้รองรับกับโลกที่หมุนเร็วเช่นกัน โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้เข้าไปอัพสกิลและรีสกิลทักษะให้คนทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 1.5 ล้านคน เพื่อให้สามารถรับมือและก้าวผ่านวิกฤติไปได้

สำหรับปี 2565 ซีแอ็ค ต้องการให้คนเกิดการเรียนรู้ในวงที่กว้างกว่าเดิมแต่ในระยะเวลาเร็วขึ้น จึงตั้งเป้าอัพสกิลคนไทยเพิ่มอีกกว่า 1 ล้านคนภายใน 3 ปี และเกิดอีก 1 แสนเรื่องราวชีวิตที่สดใสจากการเรียนรู้ โดยวิธีการที่ซีแอ็คเลือกใช้เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้นั้น มี 5 แนวทาง ดังนี้

1.เน้นการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทำให้คนอยากเรียนและอยากเรียนอย่างต่อเนื่อง

2.การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อช่วยให้เข้าถึงกลุ่มคนที่หลากหลาย และทุกวัย

3.ผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนอยากเรียน

4.สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีคนหลากหลายความเชี่ยวชาญ ต่างอาชีพ และต่างวัย

5.ใช้หลักสูตรมาตรฐานระดับโลกที่ทำให้คนไทยมีความรู้มีความสามารถและสามารถนำไปใช้ได้จริง

ขยายฐานสร้างทักษะใหม่ให้คน 8 กลุ่ม

นอกจากนี้ ยังขยายฐานการสร้างทักษะให้กับกลุ่มคนอีก 8 กลุ่ม จากเดิมที่โฟกัสคนไม่กี่กลุ่ม เพราะมองว่าหากใส่ชุดทักษะที่ใช่ คนกลุ่มนี้จะสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับชีวิต และสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้กับสังคมไทย มีศักยภาพในการแข่งขันและมีโอกาสที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าได้ โดยกลุ่มคนทั้ง 8 กลุ่ม เริ่มจาก กลุ่มนักเรียนและเยาวชน โดยชุดทักษะที่จำเป็นคือ ทักษะที่ไม่มีสอนในรั้วมหาวิทยาลัย เช่น ทักษะการใช้ชีวิต เพื่อเตรียมความพร้อมให้เยาวชนในโลกการทำงานในอนาคต

ถัดมาคือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงาน กลุ่มนี้พบความท้าทายหลายเรื่อง ทั้งการเรียนจบการศึกษาในจังหวะที่เจอหลายวิกฤต หลายองค์กรกำลังปรับตัวนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงาน รวมถึงปรับรูปแบบการทำงานและการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ความรู้ที่ได้เรียนในเชิงวิชาการจากรั้วมหาวิทยาลัยอย่างเดียวอาจจะไม่พอ จำเป็นต้องมีทักษะที่จำเป็นในโลกการทำงานสมัยใหม่เพื่อช่วยให้เติบโตและสร้างผลลัพธ์ได้เร็ว

ต่อมาคือ กลุ่มเจ้าของกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม ต้องสามารถปรับตัวได้เร็ว ลุกได้เร็ว และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อคว้าโอกาสใหม่ๆ ที่รออยู่ข้างหน้าได้ หลักสูตรสำหรับผู้ประกอบการจึงเน้นแนวคิดการทำธุรกิจสมัยใหม่ที่เป็นความรู้ชั้นนำจากต่างประเทศเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น รวมทั้งสร้างคอมมูนิตี้สำหรับผู้ประกอบการเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การทำธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน

กลุ่มที่สี่คือ กลุ่มคนทำงานที่กำลังมองหาการเติบโตในสายอาชีพ จากสถิติของ World Economic Forum คาดการณ์ว่าใน 2-3 ปีข้างหน้า ทุกๆ สาขาอาชีพ จะมีชุดทักษะ 40% ที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากทักษะที่มีอยู่ไม่พอที่จะสร้างการเติบโตและความมั่นคงในอาชีพได้ ดังนั้น การอัพสกิลและรีสกิลทักษะใหม่อย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของคนทำงาน โดยจะต้องเติมทักษะสำหรับงานสมัยใหม่ที่นำเอาองค์ความรู้ที่จำเป็นในการทำงานต่างๆ จากต่างประเทศและผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพต่างๆ ในไทยมาออกแบบ เพื่อช่วยอัพสกิลและรีสกิลทักษะใหม่ให้กับคนทำงานได้อย่างรวดเร็ว

กลุ่มที่ห้าคือ กลุ่มผู้นำทุกระดับขององค์กร โลกการทำงานทุกวันนี้ไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของพนักงานทุกระดับในองค์กร แต่ผลวิจัยจาก The Ken Blanchard บริษัทพัฒนาภาวะผู้นำ พบว่า 54% ของผู้นำทั่วโลกใช้รูปแบบเดียวในการนำทีม แม้จะต่างคนต่างสถานการณ์ และ 50% ผู้นำใช้รูปแบบการนำทีมที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกน้อง ส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานที่ต่ำลง รวมถึงเกิดการ Engagement กับองค์กรต่ำลงและมีอัตรา Turn Over สูงขึ้น ผู้นำจึงต้องเพิ่มภาวะผู้นำที่กลั่นกรองมาจากประสบการณ์กว่า 30 ปี

กลุ่มถัดมาคือ กลุ่มผู้มากความสามารถและสำคัญต่อองค์กร (Talent) ที่ผ่านมาคนกลุ่มนี้มักมีแค่ 10-15% ของคนทั้งหมดในองค์กร แต่สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้องค์กรได้มากถึง 80% ดังนั้น หากพวกเขาได้รับการพัฒนาได้ตรงจุด ก็จะช่วยให้องค์กรปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงต้องเพิ่มชุดทักษะที่ช่วยให้คนกลุ่มนี้ทำงานได้อย่างมีมาตรฐานระดับสากลเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันระดับโลก

อีกกลุ่มสำคัญคือ กลุ่มผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง (Change Maker) ในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้งซับซ้อน จึงจำเป็นที่องค์กรต้องหา “นวัตกรรม” เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งถ้าเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงานสู่วิธีใหม่ได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลดีต่อธุรกิจ กลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องเสริมทักษะการพลิกโฉมองค์กรเพื่อสร้างนวัตกรรมในการต่อยอดผลลัพธ์แบบทวีคูณได้อย่างแท้จริง

และกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มผู้บริหารองค์กร (Top Executives) ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มนี้โดนกระแสดิสรัปชั่น และโควิด-19 เข้ามาสร้างผลกระทบต่อการทำธุรกิจอย่างมาก ทำให้ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องหาวิธีคิดและเครื่องมือใหม่ในการบริหารจัดการองค์กร จึงจำเป็นต้องเสริมทักษะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อช่วยให้ผู้บริหารขับเคลื่อนองค์กรวิ่งไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว


แชร์ :

You may also like