“ทำงานกับเซ็นทรัลมาทั้งหมด 36 ปี โดยอยู่กับเซ็นทรัลพัฒนามา 18 ปี ความท้าทายคือ ทำอย่างไรให้ดียิ่งขึ้น ทั้งการสร้างทีม นำพาทีม ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่เราต้องเป็น Omnichannel อยาก Empower ทีม เพื่อให้ทีมได้ขับเคลื่อน และช่วยกันคิด ช่วยกันพัฒนา ทำให้เราเพิ่มศักยภาพ เพื่อให้ทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ (ศูนย์การค้า, ที่อยู่อาศัย, โรงแรม และอาคาร) เติบโตอย่างต่อเนื่อง…” คุณวัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เล่าความท้าทายในการทำงานในฐานะซีอีโอ และเป้าหมายพัฒนาบุคลากรในองค์กร
“คุณวัลยา จิราธิวัฒน์” ถือเป็นซีอีโอหญิงคนแรกของ “เซ็นทรัลพัฒนา” นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา 40 ปีที่แล้ว ทิศทางเซ็นทรัลพัฒนา ภายใต้การนำของคุณวัลยา จะทุ่มงบ 120,000 ล้านบาท สำหรับดำเนินการตามแผน 5 ปี (2022 – 2026) ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์คือ
1. Synergy for new solutions
Synergy within Retail-Led Mixed-use Development: ผนึกกำลังทุกองค์ประกอบของเซ็นทรัลพัฒนา ทั้งศูนย์การค้า, ที่อยู่อาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงแรม โดยให้ “ศูนย์การค้า” เป็นธุรกิจหลัก (Retail-Led Mixed-use development) ในอีก 5 ปี จะมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ของเซ็นทรัลพัฒนาอยู่ในกว่า 30 จังหวัด (รวมโครงการปัจจุบันและอนาคต) ประกอบด้วย
- ศูนย์การค้า 50 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ จากปัจจุบันมี 36 โครงการ
โดยเฉลี่ยปีหนึ่ง เซ็นทรัลพัฒนาจะเปิดโครงการใหม่ 2 – 3 โครงการ ซึ่งในปี 2565 เปิดเฟส 2 ของเซ็นทรัล วิลเลจ และเดือนพฤษภาคม จะเปิดเซ็นทรัล จันทบุรี
รวมทั้งดำเนินการปรับปรุงต่อเนื่อง ทั้ง Major Change และ Minor Change เช่น เปิดโซน I (หรืออิเซตันเดิม) ในเซ็นทรัลเวิลด์ ปรับโฉมให้มีพื้นที่ค้าขายและพื้นที่กิจกรรมมากขึ้น, พระราม 2, เซ็นทรัล พัทยาบีช และอีกหลายโครงการ
นอกจากนี้ ยังได้รีแบรนด์ Corporate Brand พร้อมเปิดตัว Brand Identity ใหม่ จาก “ซีพีเอ็น” เป็น “เซ็นทรัลพัฒนา” และศูนย์การค้า ที่ต่อไปจะไม่มีเซ็นทรัลเฟสติวัล และเซ็นทรัลพลาซาแล้ว แต่ใช้เป็น “เซ็นทรัล” ตามด้วยชื่อโลเคชั่น (เซ็นทรัล + โลเคชั่น)
- คอมมูนิตี้มอลล์ 16 แห่ง (อยู่ระหว่างการศึกษาการขยาย)
- โครงการที่พักอาศัย 68 แห่ง ทั้งแนวสูงและแนวราบ
- อาคารสำนักงาน 13 แห่ง
- โรงแรม 37 แห่ง จากปัจจุบันมี 2 โครงการ มีแผนจะขยายทั้งรูปแบบ City Hotel, Business Hotel และ Family Hotel
- อ่านเพิ่มเติม : เปิดแนวคิด Brand Identity ใหม่ “ศูนย์การค้าเซ็นทรัล” ทั่วประเทศ รีแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบ 40 ปี
“เมื่อก่อน สัดส่วนเงินลงทุนของเซ็นทรัลพัฒนา 80% อยู่กับศูนย์การค้า ขณะที่ปัจจุบัน เรายังคงเดินหน้าขยายศูนย์การค้าต่อเนื่อง ไปพร้อมกับผลักดันธุรกิจหลักอื่นๆ ให้เติบโตขึ้นมาด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นสัดส่วนเงินลงทุนของศูนย์การค้า จาก 80% จะอยู่ที่ 70% อย่างไรก็ตามธุรกิจศูนย์การค้ายังเป็น “แกนกลาง” อยู่ เพียงแต่ขยายธุรกิจอื่นควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็น Retail-Led Mixed-use development
เหมือนกับที่เราทำ Retail-Led Mixed-use development ได้ดีที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว เพราะฉะนั้นอีก 3 ธุรกิจ ทั้งที่พักอาศัย, โรงแรม และอาคารสำนักงาน เราให้ความสำคัญมากขึ้น และเติบโตไปพร้อมกับศูนย์การค้า
การขยายโครงการ เราใช้ข้อมูล The 1 มาประกอบ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ในการทำความเข้าใจโลเคชั่น และความต้องการของลูกค้า สำหรับใช้ในการออกแบบ Scale แต่ละโครงการ ซึ่งจะมีตั้งแต่ Mixed-use ขนาดใหญ่ ไปจนถึงขนาดย่อม”
โดยมากกว่า 50% ของโครงการทั้งหมดจะเป็นรูปแบบ Mixed-use ที่มีมากกว่า 1 ธุรกิจ และมีศูนย์การค้าเป็นหัวใจสำคัญ โดยเร่งขยายการเติบโตของทุกๆ ธุรกิจพร้อมกันไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดจะเชื่อมโยงการใช้ชีวิตทุกรูปแบบทั้ง shop-work-stay-play-live
นอกจากนี้ ยังได้ตั้งทีม Business & Digital Transformation ลงทุน 450 ล้านบาทในปี2022 เพื่อทรานฟอร์มสู่การเป็น Omnichannel Platform ซึ่งมากกว่าการเชื่อม offline และ online แต่ยังเชื่อมโยงทุกธุรกิจใน ecosystem เข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงธุรกิจที่อยู่กับเราไปยังลูกค้าด้วยเป็น B2B2C สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าในอนาคต
Synergy with business partners: สร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจของคู่ค้า พร้อมจัดตั้งทีม Partner Champions ที่จะเป็น Business Consultant ในการเป็น End-to-End Solutions ให้กับคู่ค้าอย่างครบวงจร ได้แก่ การช่วยเหลือการเติบโตและขยายสาขาด้วยโมเดล Co-investment, Funding, และ Franchise การช่วยเหลือด้าน Business Operation ต่างๆ, การใช้ Big Data จาก The 1 และ The 1 Biz, และ Retail Omnichannel เพื่อส่งเสริมและผลักดันธุรกิจของคู่ค้า, รวมไปถึงการจัดการ Transaction และบริการต่างๆ ที่จะช่วยพันธมิตรทุกราย
Synergy with communities: ทุกโครงการของเซ็นทรัลพัฒนามีส่วนสะท้อนอัตลักษณ์ Local Essence ของชุมชน ทั้งด้าน Art & Culture รวมไปถึง Local Wealth การสร้างและกระจายรายได้ให้กับชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นแพลตฟอร์มยกระดับ SMEs และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแบบ Cross-Region ให้ผู้ประกอบการ, เกษตรกร และอาชีพต่างๆ ได้เข้าถึงพื้นที่การขายและลูกค้า โดยรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 40,000 ตร.ม. หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 300 ล้านบาทต่อปี
2. PIONEER for better lives สร้างมาตรฐานใหม่ของพื้นที่แห่งการใช้ชีวิตที่ดีในอนาคต
ต่อไปนี้ภายในทุกโครงการใหม่ของเซ็นทรัลพัฒนาจะมีการบริหารจัดการที่ใส่ใจหัวใจสำคัญ2 ด้านเพื่อการใช้ชีวิตของทุกคนอย่างยั่งยืน ได้แก่
- Green & Energy ด้วย Green Building Standard มาตรฐานอาคารเขียวระดับสากล, ติดตั้งเซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในทุกโครงการ, พัฒนาอาคารอัจฉริยะหรือ Building Automation, การเพิ่มจุด EV Charging และ Recycle Station สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น
- Health & Wellness พื้นที่ที่มีส่วนช่วยยกระดับการใช้ชีวิตของผู้คน ด้วยการตอกย้ำแผนแม่บทและมาตรการด้านความสะอาดและความปลอดภัย, การเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้ง indoor-outdoor, การออกแบบที่ตอบสนองคนทุกกลุ่ม (Inclusive Design) ให้เป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาใช้ได้จริง รวมถึงพื้นที่เพื่อชุมชน เช่น ลานออกกำลังกาย, สนามเด็กเล่น,ศูนย์การเรียนรู้, ศูนย์ฉีดวัคซีน, พื้นที่รับบริจาคโลหิต, พื้นที่เพื่อ well-being สำหรับชุมชน
3. OPPORTUNITIES with Purpose ขับเคลื่อนสังคมและธุรกิจ
เปิดโอกาสให้ทุกคนเป็นองค์กรแห่งการสร้าง “โอกาส” พัฒนาคน พัฒนาเมือง พัฒนาประเทศ และยกระดับวงการอสังหาฯ และรีเทลของไทย เทียบเท่าระดับโลก เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าร่วมกัน
- ให้คนได้มาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ จับคู่ทางธุรกิจ และขยายไปทั้งในและต่างประเทศ ผ่านโครงการ Central Pattana Lead และ Retail Academy
- สร้าง Local Wealth ให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ ขยายความเจริญจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในจังหวัด
- ให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมงานกับเซ็นทรัลพัฒนา ผ่านโปรแกรมให้ได้ทดลองไอเดียใหม่ๆ เช่น Retail Hackathon ซึ่งนำไปต่อยอดจริง
- ให้โอกาสอย่างทั่วถึงกับกลุ่มคนที่หลากหลาย LGBTQ+ ข้อจำกัดทางร่างกาย บุคคลพิเศษ และมีความเป็น Global Citizen ให้ความสำคัญกับ Global Values อาทิ Human Rights, Equality, Diversity เป็นต้น
“ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ เราจึงมุ่งมั่นที่จะทำตาม Brand Commitment สำคัญคือการเดินหน้าสร้าง Sustainable Ecosystem ที่แข็งแกร่งและยั่งยืน ได้แก่
ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและชุมชนทั่วประเทศ โดยปัจจุบัน เซ็นทรัลพัฒนามีส่วนช่วยสร้างเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจเทียบเท่าประมาณ 1% ของ GDP ของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และในอีก 5 ปีข้างหน้า จะยังคงเติบโตเช่นนี้ และทำให้เกิดการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 150,000 ตำแหน่ง ที่อยู่ใน sustainable ecosystem ของเซ็นทรัลพัฒนา
ตั้งเป้าเป็นองค์กร Mixed-use Developer รายแรกสู่ Net Zero ภายในปี 2050 ด้วยแผนระยะยาวตั้งเป็น Net Zero Carbon Emission ให้ได้ผ่านการลดการใช้พลังงานให้ได้ 50% ลดการใช้ CFC และสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศ และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดหรือ Clean Energy ให้ได้อีก 50% นอกจากนี้เรายังตั้งเป้าปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งภายในและภายนอกโครงการให้ได้ถึง 1 ล้านต้นโดยเร็วอีกด้วย” คุณวัลยา กล่าวทิ้งท้าย
- อ่านเพิ่มเติม : “เซ็นทรัล” เตรียมรีแบรนด์ศูนย์การค้า ตัด “เฟสติวัล-พลาซา” ปรับเหลือ “เซ็นทรัล+ชื่อสถานที่”