HomeBrand Move !!ตามรอยโดนัลด์ ทรัมป์? อีลอน มัสก์ ทวีต อยากสร้าง “โซเชียลมีเดีย” ของตนเอง

ตามรอยโดนัลด์ ทรัมป์? อีลอน มัสก์ ทวีต อยากสร้าง “โซเชียลมีเดีย” ของตนเอง

ชี้ Free Speech จำเป็นต่อระบอบประชาธิปไตย

แชร์ :

shutterstock elon musk

นอกจากแพลตฟอร์ม Truth Social ของโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่เพิ่งเปิดตัวไปแล้ว ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้ เราอาจได้เห็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของมหาเศรษฐีอย่าง อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ออกมาโลดแล่นด้วยเช่นกัน หลังจากที่เขาได้ทวีตว่า เขากำลังคิดอย่างจริงจังเรื่องการสร้างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“มหาเศรษฐีไม่ชอบให้ใครมาบังคับ” คำกล่าวนี้อาจสะท้อนได้ดีถึงตัวตนของมหาเศรษฐีคนดังที่บังเอิญตรงกันอย่างเหลือเชื่อ เพราะทั้งโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ และอีลอน มัสก์ (Elon Musk) ผู้ก่อตั้งบริษัท Tesla ที่เพิ่งทวีตเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวไปเมื่อสุดสัปดาห์นี้เอง

อย่างไรก็ดี อีลอน มัสก์ ไม่ได้บอกว่า รายละเอียดของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เขาจะสร้างนั้นมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร รวมถึงจะเป็นพื้นที่ที่ให้อิสระในการแสดงความคิดเห็นมากน้อยแค่ไหน โดยเขาบอกเพียงแค่ว่า Free speech เป็นสิ่งสำคัญสำหรับระบอบประชาธิปไตย

ปัจจุบัน แพลตฟอร์มที่อีลอน มัสก์มีตัวตนมากที่สุดก็คือ ทวิตเตอร์ (Twitter) โดยเขามีผู้ติดตามมากกว่า 79.4 ล้านแอคเคาน์ กระนั้น เขาก็ยังตั้งคำถามถึงทวิตเตอร์ด้วยเช่นกันว่าเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีความเป็นกลาง และให้อิสระทางการแสดงความคิดเห็นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในจุดนี้สะท้อนให้เห็นว่า ตัวตนของเขานั้นอาจไม่ชอบการถูกควบคุมโดยแพลตฟอร์ม

แต่บางที ดราม่าบนโลกออนไลน์ก็ไม่ได้มาจากตัวแพลตฟอร์มเสมอไป เพราะในกรณีของอีลอน มัสก์เอง ก็เคยเกิดดราม่าจากทวีตของตัวเองมาหลายครั้ง เช่น การที่เขาทวีตถามผู้ติดตามว่า เขาควรจะขายหุ้นเทสล่าสัก 10% หรือไม่ จนทำให้หุ้นเทสล่าตก และถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาออกจดหมายเรียกให้เข้าไปชี้แจง

สร้างโซเชียลมีเดียใหม่ “ไม่ง่าย”

ในซีกโลกตะวันตก Matt Navarra ที่ปรึกษาด้านโซเชียลมีเดียรายหนึ่งได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า เขาเห็นเทรนด์ที่บุคคลที่มีชื่อเสียงอยากสร้างโซเชียลมีเดียของตนเอง แต่การสร้างโซเชียลมีเดียในยุคนี้ไม่ง่าย และต้องใช้เงินเยอะ เห็นได้จากบรรดาแพลตฟอร์มทางเลือกอย่าง Rumble, Parler, Gettr ในสหรัฐอเมริกาที่มีนโยบายสร้างความแตกต่าง เพื่อให้คนเปลี่ยนจาก Facebook, Twitter, TikTok มาใช้แพลตฟอร์มของตนเอง แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จนัก

Matt Navarra ยังได้ยกตัวอย่าง Parler โซเชียลมีเดียที่เป็นชนวนให้เกิดความวุ่นวายใจกลางเมืองของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 6 มกราคมปีที่แล้วว่า ตัวแอปได้ถูกถอดออกจาก App Store ทันที และกว่าจะกลับเข้ามาได้ บริษัทก็ต้องแสดงให้ทาง Apple เห็นว่า มีระบบตรวจจับ หรือมีแนวทางควบคุม Hate Speech ได้แล้วนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ Free Speech จึงอาจไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มใบภายใต้คำว่า “โซเชียลเน็ตเวิร์ก” อย่างที่อีลอน มัสก์คาดหวัง หรือถึงแม้เขาจะลงทุนสร้างแพลตฟอร์มของตนเอง ก็ใช่ว่าจะได้เจอก็เป็นได้

Source 


แชร์ :

You may also like