HomePR News“Smart handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคฝีมือคนไทยที่ตั้งเป้ายอดขาย 250 ล้านใน 2 ปี

“Smart handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคฝีมือคนไทยที่ตั้งเป้ายอดขาย 250 ล้านใน 2 ปี

แชร์ :

Smart handy

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ เอชเค แมเนจเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส กรุ๊ป เปิดตัวนวัตกรรมฝีมือคนไทย “Smart handy”  อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC ที่อ้างว่าสามารถฆ่าเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ได้ถึง 99 % ในระยะเวลาเพียง 18 วินาที คาดเจาะตลาดเชิงพาณิชย์ในกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ ท่าอากาศยาน หน่วยงานราชการ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โรงเรียนและสถาบันการศึกษา พร้อมตั้งเป้ายอดขาย 250 ล้านบาท ภายใน 2 ปี

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณจิรัฏฐ์ณิชชา กิติยาณัณท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอชเค แมเนจเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า “จากสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในประเทศนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีนวัตกรรมที่จะมาผลักดันขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และสังคมให้ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว พร้อมรับมือชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ด้วยความมั่นใจ จึงนำไปสู่การพัฒนา Smart handy อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติตัวนี้ขึ้นมา”

นอกจากนี้ การสร้างอุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคดังกล่าวถือเป็นการสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นโอกาสที่ทำให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางด้วยอีกทางหนึ่ง

สำหรับอุโมงค์ดังกล่าว เป็นการพัฒนาร่วมกันของเอชเค แมเนจเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส กรุ๊ป ที่ได้เซ็นต์ MOU กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยี และคณะสหเวชศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา โดยใช้รังสี UVC ที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียตามที่บริษัทกล่าวอ้างว่าสูงถึง 99% และพร้อมจัดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่  โดยบริการให้คำปรึกษา ติดตั้งและวางระบบ ตลอดจนบริการหลังการขาย ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ท่าอากาศยาน หน่วยงานราชการ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โรงเรียนและสถาบันการศึกษา ฯลฯ ที่ต้องการระบบคัดกรองที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้มาใช้บริการ

ปัจจุบัน Smart handy ได้มีการติดตั้งเพื่อทดลองใช้งานแล้วที่อาคารสำนักงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT และในอนาคต เอชเค แมเนจเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส กรุ๊ป ตั้งเป้าพัฒนา ”Smart handy” สำหรับที่อยู่อาศัย เจาะกลุ่มลูกค้าทั่วไป ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้ 250 ล้านบาทภายใน 2 ปี และตั้งเป้าจัดจำหน่าย Smart handy อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ  ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งถือเป็นโอกาสจากความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองเชื้อโรคลดความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาด และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

ผศ.ดร. ปรัชญา เปรมปราณีรัชต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยถึงเบื้องหลังการพัฒนาว่า มีการทดลองใช้รังสี UVC ความยาวคลื่น 253.7 นาโนเมตรที่พบว่า สามารถเข้าไปทำลาย DNA และ RNA ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ทำให้ไม่สามารถแพร่พันธุ์ และก่อให้เกิดโรคได้อีก ซึ่งเท่ากับมีศักยภาพสูงในการทำลาย DNA และ RNA ของเชื้อโรคและฆ่าเชื้อโรคได้ ที่สำคัญความเข้มข้นของรังสียูวีซี สามารถฆ่าเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย จากนั้นได้คัดเลือกอุปกรณ์คุณภาพสูงจากบริษัทผู้ผลิตชั้นนำ ที่ไม่ก่อให้เกิดสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์โลกร้อน

Smart handy อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ ได้ขึ้นทะเบียนจดสิทธิบัตร จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว

รศ.ดร.วรดา สโมสรสุข คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า นวัตกรรม “Smart handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา จากการวิจัยและทดสอบผลร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าสามารถฆ่าเชื้อ บาซิลลัส อะโทรเฟียส (Bacillus atrophaeus) เป็นเชื้อที่สร้างสปอร์ได้ นั่นหมายถึงสามารถใช้ฆ่าเชื้อไวรัส และแบคทีเรียได้เช่นกัน และมีประสิทธิภาพในการหยุดเชื้อได้ถึง 10,000 เซลล์ และได้ทดสอบด้วยการหยอดเชื้อบาซิลลัส อะโทรเฟียส ลงบนพื้นผิวหลายชนิด เช่น กระเป๋าหนัง กระเป๋าเดินทาง วัสดุที่เป็นพลาสติก กล่องพัสดุไปรษณีย์ ฯลฯ และนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อโรคด้วย Smart handy อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ พบว่าภายในระยะเวลา 15 วินาที สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 95% หากเพิ่มเวลาในกระบวนการฆ่าเชื้อโรคเป็น 18 วินาที พบว่าสามารถฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับวัตถุได้สูงถึง 99% จึงมองว่านวัตกรรมนี้สามารถช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนให้มั่นใจในการออกไปใช้ชีวิตในยุคที่เชื้อโรคต่าง ๆ มีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างรวดเร็วซึ่งรวมถึงเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอุบัติใหม่ด้วยนั่นเอง


แชร์ :

You may also like