HomeInsightสรุป 4 ประเด็น โควิดเปลี่ยนพฤติกรรม ‘ช้อปปิ้งออนไลน์’ ผู้บริโภคไทยอย่างไร 

สรุป 4 ประเด็น โควิดเปลี่ยนพฤติกรรม ‘ช้อปปิ้งออนไลน์’ ผู้บริโภคไทยอย่างไร 

แชร์ :

Online Shopping

ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของการระบาดใหญ่ทั่วโลก ผลกระทบของโควิด-19 ยังคงส่งผลต่อเศรษฐกิจและพฤติกรรมผู้บริโภค โดยพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือการจับจ่ายใช้สอย โดยผู้บริโภคหันไปใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นีลเส็น (Nielsen) สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในแง่มุมต่างๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม ผ่าน Nielsen CMV ในกลุ่มตัวอย่างกว่า 9,000 คน เห็นการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยเฉพาะพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ผู้บริโภคใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น แต่สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อออนไลน์ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน

1. สินค้าที่คนไทยซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด

กลุ่มแฟชั่น (เสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับ) เป็นกลุ่มสินค้ายอดนิยมที่คนไทยซื้อผ่านช่องทางออนไลน์เป็นอันดับ 1  เติบโตจากปี 2019 หรือปีก่อนการเริ่มการระบาดโควิด -19 ถึง 206% รองลงมาคือกลุ่มสินค้าสะดวกซื้อ เครื่องสำอาง และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นกลุ่มยอดนิยมที่คนไทยมักซื้อผ่านช่องทางออนไลน์อยู่แล้ว

2. สินค้าเพื่อสุขภาพ เติบโตสูงสุด

สินค้าเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารเสริมและวิตามิน เป็นกลุ่มสินค้าใหม่ที่ผู้บริโภคซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยเติบโตจากปี 2019 ถึง 798% ปัจจัยหลักของการโตมาจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้คนไทยมีพฤติกรรมรักสุขภาพมากขึ้น

3. สินค้าและบริการมาแรง – ร้านอาหารและแอปสั่งอาหาร

ช่วงโควิดทำให้ผู้คนต้อง Work from Home ส่งผลให้กลุ่มร้านอาหารและแอปสั่งอาหารมาแรง มีอัตราการเติบโตมากขึ้นในทุกปี ปี 2021 เติบโตจากปี 2020 ถึง 647% นอกจากคนใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้น ความสะดวก และรวดเร็ว ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนไทยหันมาใช้บริการการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

4. ตลาดโฆษณาดิจิทัลโตและคนไทยเชื่อมั่นในช่องทางดิจิทัล

เทรนด์ของแบรนด์ในการใช้งบโฆษณาดิจิทัลมีมากขึ้น โดยข้อมูลจาก Nielsen Ad Intel งบโฆษณาในสื่อดิจิทัลเติบโต 11% จากปี 2020 หลายอุตสาหกรรมมีการใช้เงินในช่องทางดิจิทัลโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าสะดวกซื้อ และกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า

นอกจากนี้สิ่งที่ Nielsen พบคือโฆษณาผ่านดิจิทัลเป็นช่องทางที่ชาวเน็ตให้ความเชื่อถือ โดย 41% พิจารณาที่จะซื้อสินค้าที่เห็นจากโฆษณาและ 38% ซื้อสินค้าทันทีหลังจากเห็นโฆษณาในอินเทอร์เน็ต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการที่แบรนด์โฆษณาผ่านช่องทางดิจิทัล เป็นช่องทางที่คนไทยยอมรับ

แต่สิ่งที่เป็นเรื่องท้าทายกับแบรนด์ในปัจจุบันคือ ทำอย่างไรให้โฆษณาตรงกลุ่มเป้าหมายและถูกใจผู้บริโภค ในยุคที่มีข้อจำกัดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเป็นส่วนตัวหรือประเด็นอื่นๆ หลายแบรนด์มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวัดและระบุกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการวัดผลโฆษณาดิจิทัล (Digital Ad Rating) ที่จะทำให้แบรนด์เห็นภาพกลุ่มเป้าหมายของโฆษณาที่เราปล่อยไปว่าตรงและคุ้มค่ากับเงินที่ลงหรือไม่ รวมถึงเข้าใจธรรมชาติของชาวเน็ตมากขึ้น

Online shopping nielsen


แชร์ :

You may also like