HomeInsightเปิดผลวิจัย Dyson Global Dust Study พบ “เลี้ยงสัตว์ในบ้าน” ตัวการก่อฝุ่น

เปิดผลวิจัย Dyson Global Dust Study พบ “เลี้ยงสัตว์ในบ้าน” ตัวการก่อฝุ่น

แชร์ :

Dyson Digital Slim_Mini motorised tool_Mattress cleaning in nursery cot

Dyson เผยผลการสำรวจและวิจัยเกี่ยวกับนิสัยการทำความสะอาดและความเข้าใจเกี่ยวกับฝุ่นในครัวเรือนในชื่อ “Global Dust Study” โดยเป็นการสำรวจครัวเรือนต่าง ๆ มากถึง 3 หมื่นคนจาก 33 ประเทศทั่วโลก และพบว่า เจ้าของบ้านส่วนใหญ่ (40%) จะทำความสะอาดก็ต่อเมื่อพบ “ฝุ่น” ที่มองเห็นได้เท่านั้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จากการเปรียบเทียบผลสำรวจแบบปีต่อปี Dyson ยังพบด้วยว่า 53% ไม่ดูดฝุ่นบริเวณฟูกนอน และ 55% ไม่ได้ดูดฝุ่นบริเวณโซฟา ส่วนในประเทศไทย Dyson พบว่า 32% ของคนไทยเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดบ่อยครั้งมากขึ้น ในขณะที่ 25% เพิ่มขึ้นอย่างเล็กน้อย ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำความสะอาดท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด และเมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ มีความน่ากังวลเพิ่มขึ้นสำหรับฝุ่นบนที่นอน (23%) มากกว่าฝุ่นบนพื้น/ พื้นผิวในประเทศไทย ซึ่งอันที่จริงแล้ว เกือบ 3 ใน 4 ของคนไทยทำความสะอาดที่นอนเป็นประจำ – บ่อยครั้งกว่ากลุ่มอื่น ๆ เป็น 2 เท่าด้วย

Monika Stuczen นักจุลชีววิทยาของ Dyson กล่าวว่า “เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงที่ผู้คนจะทำความสะอาดบ้านก็ต่อเมื่อพบฝุ่นเท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วยังมีฝุ่นขนาดเล็กที่เราไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราเห็นฝุ่นในบ้านนั่นหมายความว่า มีความเป็นไปได้สูงที่บ้านของคุณจะมีตัวไรฝุ่นเต็มไปหมดแล้ว”

นอกจากนี้ คนไทยส่วนใหญ่ (82%) มีความเชื่ออย่างมากว่าปริมาณฝุ่นในบ้านสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ และ 80% ของคนไทยเชื่อว่าฝุ่นที่อยู่ในบ้านสามารถทำให้เกิดอาการป่วยได้ เช่น โรคหอบหืด อีกทั้งยังตระหนักมากเป็นพิเศษว่าฝุ่นจากอุจจาระของแมลงเป็นฝุ่นที่สามารถกระตุ้นการแพ้มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ (35%)

1 ใน 3 ของคนไทยมีความกังวลเป็นอย่างมากในเรื่องของการนำฝุ่นละอองหรือละอองเกสรต่าง ๆ จากภายนอกเข้ามาสู่ในบ้าน

เลี้ยงสัตว์ในบ้าน ตัวการก่อฝุ่น

นอกจากปัญหาเรื่องฝุ่นในบ้านแล้ว จากสถานการณ์โรคระบาดยังทำให้มีอีกหนึ่งปัญหาเพิ่มขึ้นมานั่นก็คือฝุ่นจากสัตว์เลี้ยง เนื่องจากการกักตัวอยู่ที่บ้านทำให้คนเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น โดยจากการสำรวจพบว่า 57% ของบ้านทั่วโลกมีสัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1 ตัว ส่วนในประเทศไทยพบว่า 72% ของครัวเรือนมีสัตว์เลี้ยง ซึ่งนับว่าเป็นประเทศลำดับต้น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนั้นยังพบว่าคนไทย 2 ใน 5 ให้สัตว์เลี้ยงนอนร่วมเตียงเดียวกัน แต่ในทางกลับกันจำนวนเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ตระหนักถึงปัญหาเรื่องฝุ่นจากสัตว์เลี้ยงกลับมีน้อยในระดับน่าเป็นห่วง

  • 4 ใน 5 ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ทราบว่าฝุ่นละอองสามารถถูกสะสมไว้บนตัวสัตว์เลี้ยงได้
  • 7 ใน 10 ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ทราบว่าตัวไรฝุ่นสามารถอาศัยอยู่บนตัวสัตว์เลี้ยงได้
  • 3 ใน 5 ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ทราบว่าไวรัสสามารถอาศัยอยู่บนตัวสัตว์เลี้ยงได้
  • 1 ใน 2 ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ทราบว่าแบคทีเรียและสะเก็ดผิวหนังสามารถถูกสะสมบนตัวสัตว์เลี้ยงได้

ทั้งนี้ นักวิจัยจาก Dyson ระบุว่า การจัดการกับฝุ่นในบ้านที่ดีที่สุดคือการนำมันออกไปจากบ้าน และจากโครงการ Dyson Global Dust Study เผยว่าผู้คนคิดว่าเครื่องดูดฝุ่นเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการกำจัดฝุ่น แต่จากการสำรวจกลับพบว่าคนไทยใช้ไม้กวาดกับไม้ถูมาเป็นอันดับต้น ๆ ที่ 68% ในขณะที่ใช้เครื่องดูดฝุ่นอยู่ที่ 47% เท่านั้น

“การถูด้วยผ้าเปียกเป็นเรื่องที่ปกติ แต่ลำดับในการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การจบด้วยพื้นที่เปียกยิ่งทำให้ฝุ่นที่มองเห็นได้ยากขึ้นไปอีก นอกจากนั้นการทำพื้นให้ชื้นยังหมายถึงการสร้างสภาวะที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของตัวไรฝุ่นและเชื้อราด้วย เพราะฉะนั้นการทำความสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพคือการดูดฝุ่นด้วยเครื่องดูดฝุ่นให้ฝุ่นหมดก่อน จากนั้นจึงจะถูด้วยผ้า อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือการเลือกใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีเทคโนโลยีในการกักเก็บฝุ่นไม่ให้ฝุ่นหลุดรอดกลับออกมาภายในบ้านได้นั่นเอง” Monika Stuczen กล่าวปิดท้าย

สำหรับการศึกษาดังกล่าว มีผู้เข้าร่วม 32,282 คน จาก 33 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, เม็กซิโก, อังกฤษ, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, สเปน, อิตาลี, ตุรกี, ไอร์แลนด์, เนเธอร์แลนด์, โปรตุเกส, นอร์เวย์, เดนมาร์ก, เบลเยียม, สวีเดน, โปแลนด์, ออสเตรีย, สวิสเซอร์แลนด์, ซาอุดิอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, รัสเซีย, จีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, ฟิลิปปินส์ และอินเดีย โดยมีการทำแบบสำรวจระหว่างวันที่ 15 ถึง 24 พฤศจิกายน 2021 และ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถึง 7 มีนาคม 2022


แชร์ :

You may also like