HomeSponsoredจากแนวคิดญี่ปุ่น สู่โรงงานไทย ชมโรงงานพ่นสีแห่งใหม่ ของ “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย” รักษ์โลก – เพิ่มคุณภาพการผลิตและคุณภาพสีรถยนต์

จากแนวคิดญี่ปุ่น สู่โรงงานไทย ชมโรงงานพ่นสีแห่งใหม่ ของ “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย” รักษ์โลก – เพิ่มคุณภาพการผลิตและคุณภาพสีรถยนต์

แชร์ :

“ศูนย์การผลิตรถยนต์มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เป็นศูนย์การผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดนอกประเทศญี่ปุ่น และเป็นฐานการผลิตที่ส่งออกไปกว่า 120 ประเทศ” เพียงแค่นี้ก็บ่งบอกความสำคัญของประเทศไทยกับแบรนด์ญี่ปุ่นแบรนด์นี้เป็นอย่างดี นั่นทำให้มูฟเมนต์ การลงทุนของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เป็นวิสัยทัศน์ในระยะยาว ต้องคำนึงถึงธุรกิจ และสังคมไปพร้อมๆ กัน เพราะประเทศไทย แทบจะเรียกได้ว่าเป็น บ้านหลังที่สองของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ที่อาศัยมาถึง 61 ปี และเป็นต้นแบบสำคัญที่ถ่ายทอดจิตวิญญาณของแบรนด์ ที่ส่งต่อไปยังพนักงานกว่า 30,000 คน ทั่วโลก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 40% ในปี 2593

หนึ่งใน Mission ที่สำคัญของ  “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย”  ที่ระบุว่า การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์การพัฒนาที่ยังยืนให้กับสังคม นั่นทำให้การเปิดโรงงานพ่นสีที่ประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้  ได้รับเกียรติจาก คุณทาคาโอะ คาโตะ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ที่เดินทางมากดปุ่มเดินเครื่องด้วยตัวเอง

นอกจากนี้ นายใหญ่ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส  ยังกล่าวว่า  “ที่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น เราไม่เพียงให้ความสำคัญกับการผลิตรถยนต์คุณภาพเยี่ยมระดับพรีเมียมเท่านั้น  โรงงานพ่นสีแห่งใหม่นี้ ยังสอดคล้องกับแผนธุรกิจระยะกลาง  สำหรับปี  พ.. 2563 – 2565 ของเรา  ที่ให้ความสำคัญกับประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในฐานะตลาดยุทธศาสตร์สำคัญ   ไม่เพียงแค่การขยายธุรกิจของบริษัทฯ ในระดับภูมิภาคและระดับโลกเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงธุรกิจของเราไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน และเสริมสร้างศักยภาพการเติบโตอย่างต่อเนื่องให้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยและภูมิภาค

จนเป็นที่มาของการลงทุนครั้งล่าสุดของ “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย” ที่ทุ่มงบประมาณกว่า “3 พันล้านบาท” เพื่อสร้างโรงงานพ่นสีแห่งใหม่ ในแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เพื่อให้สอดรับกับการผลิตที่เติบโตขึ้น รวมทั้งโรงงานแห่งนี้ยังช่วยเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งตรงเป้าหมาย ของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่นในการขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนสมดุลที่ยั่งยืนทั่วโลกในอีก 30 ปีข้างหน้า สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่นที่ญี่ปุ่น ซึ่งให้ความสำคัญกับ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งแบรนด์รถยนต์มิตซูบิชิ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ตามดูโรงงานที่ทำงานด้วย Automation รักษ์สิ่งแวดล้อม แถมเพิ่มประสิทธิภาพ

ภายในโรงงาน 4 ชั้น ขนาด 21,000 ตารางเมตร แห่งใหม่นี้ ประกอบไปด้วย ระบบซีลตัวถังอัตโนมัติ (Sealer automation) หุ่นยนต์จะซีลกาวตลอดแนวรอยต่อของชิ้นส่วนของตัวถังที่ได้ออกแบบไว้เพื่อให้มั่นใจว่า ตัวถังได้รับการซีลกาวอย่างสมบูรณ์แบบและเป็นไปตามมาตรฐาน และยังส่งผลให้ให้พนักงานมีความปลอดภัยมากขึ้น

หุ่นยนต์และปืนพ่นสีน้ำประจุไฟฟ้า (Robots and Electrostatic Spray Gun) ซึ่งข้อดีก็คือ มีความแม่นยำสูง นั่นทำให้มีสีส่วนเกินน้อยกว่าการใช้คน ทำให้ลดการสูญเสียทรัพยากรส่วนเกินในขั้นตอนการผลิต

นอกจากนี้ ในกระบวนการพ่นสี ก็ออกแบบอย่างดี ทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ไปพร้อมๆ กับการลดมลพิษ ลดปริมาณของเสีย และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ ระบบตลับสี ช่วยลดสีส่วนเกินและลดปริมาณสีที่ถูกล้างออกในระหว่างการเปลี่ยนสี เทคโนโลยีสีฐานน้ำ ลดการปล่อยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย หนึ่งในต้นตอของโลกร้อน และระบบเทคโนโลยีการบำบัดมลพิษในอากาศ ช่วยลดสารก่อมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายในระหว่างกระบวนการผลิต เป็นต้น

เมื่อจบขั้นตอนการทำงานภายในโรงงาน ออกมาด้านนอกก็จะพบกับโรงงานบำบัดน้ำเสีย  ซึ่งใช้วิธีแยกสารเคมีหนักและสารอินทรีย์ในน้ำด้วยแบคทีเรียจากจุลินทรีย์  จากนั้นส่งน้ำไปทําให้บริสุทธิ์ผ่านการกรองด้วยระบบรีเวอร์สออสโมซิสสองขั้น ที่กําจัดแร่ธาตุเจือปนใด ๆ ในน้ำก่อนส่งต่อกลับไปในกระบวนการพ่นสีและปล่อยน้ำเสียที่ไม่ใช้แล้วสู่ภายนอก ส่งผลให้ช่วยลดปริมาณการปล่อยน้ำเสียได้มากถึง 50% และลดการใช้น้ำดิบในกระบวนการผลิตได้ 50%

ในส่วนของหลังคาของโรงงานยังมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ช่วยสร้างพลังงานได้ถึง 2 เมกะวัตต์ ซึ่งช่วยให้ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 1,700 ตันต่อปี

จากการสังเกตุการณ์เมื่อได้เยี่ยมชมโรงงานแห่งใหม่นี้จะพบว่า มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ได้ออกแบบ Flow ของการผลิต ให้สอดคล้องกับขั้นตอนการทำงานยุคใหม่ ใช้แรงงานคนเท่าที่จำเป็น ยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงาน ซึ่งการผลิตรถยนต์จะมีชิ้นส่วนขนาดใหญ่ รวมทั้งสัมผัสกับสารเคมีมากมาย เมื่อนำระบบ Automation มาใช้ ก็ก่อให้เกิดความแม่นยำได้ชิ้นส่วนต่างๆ ตรงตามมาตรฐานการผลิต รวดเร็วตามการคาดการณ์ และในที่นี้ยังสร้างความมั่นใจให้กับตัวพนักงานเองด้วย

โรงงานที่แหลมฉบังมีกำลังการผลิตมากกว่า 400,000 คันต่อปี ด้วยจำนวนพนักงาน 6,200 คน ส่งออกไปยังพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตะวันออกกลาง, ออสเตรเลีย, ยุโรป และอาเซียน โดยผลิตรถยนต์ทั้งหมด 5 รุ่น ได้แก่ มิตซูบิชิ ไทรทัน, มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต, มิตซูบิชิ มิราจ, มิตซูบิชิ แอททราจ และ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี โดย มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี, ไทรทัน และปาเจโร สปอร์ต จะได้รับการพ่นสีในโรงงานพ่นสีแห่งใหม่ ซึ่งในตอนนี้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 55 คันต่อชั่วโมง และยังพร้อมรองรับการเติบโตในอนาคตได้ถึง 72 คันต่อชั่วโมง

นอกจากเรื่องของโรงงานแห่งใหม่นี้แล้ว ที่ผ่านมา มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ยังเดินหน้าทำโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมในด้านอื่นๆ ไปแล้ว เช่น “ปลูกป่า 60 ปี 60 ไร่” และ “Solar for Lives: พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อชีวิตที่ดีกว่า”

จับมือแบรนด์ใหญ่ ลุย EV Car เพื่อการพาณิชย์

ส่วนประเด็นที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในปัจจุบันนี้คือวิสัยทัศน์เรื่องรถยนต์ไฟฟ้าของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ซึ่งนายใหญ่ของเครือมองว่า การสนับสนุนของภาครัฐในประเทศไทยมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ความต้องการของรถไฟฟ้ามีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของอุตสาหกรรมในขณะนี้ คือ “สถานีชาร์จ” ซึ่งยังต้องใช้เวลาจึงจะครอบคลุมการใช้งานจริง อย่างไรก็ตาม มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย มีความพร้อมทั้งในส่วนของรถยนต์แบบ HEV (Hybrid electric vehicle), PHEV (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) และ BEV (Battery Electric Vehicle) โดยวางแผนที่จะปรับเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์นั่งทุกรุ่นของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เป็นระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า ในตั้งแต่ปี พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

สำหรับตลาดที่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย กำลังให้ความสนใจอยู่ ก็คือ รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ขนาดเล็ก ซึ่งได้มีการศึกษาร่วมกับไปรษณีย์ไทย และโออาร์ โดยทางค่ายรถยนต์แห่งนี้ ใช้กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น โดย มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น  ได้จัดส่งรถ มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ เพื่อการพาณิชย์ ประมาณ 9,000 คัน ให้กับบริษัทขนส่งต่างๆ บริษัทค้าปลีก และหน่วยงานรัฐ ในประเทศญี่ปุ่น  และยังจัดส่งอีก 1,500 คัน เพื่อเป็นรถยนต์  ที่ใช้ในกรมไปรษณีย์ของญี่ปุ่นอีกด้วย โดยเทรนด์ที่สำคัญก็คือ การค้าขายออนไลน์ที่เติบโตเติบโตอย่างมาก ผู้บริโภคก็ต้องการสินค้าด่วน ดังนั้นการเคลื่อนตัวของการขนส่งที่รวดเร็ว เข้าถึงง่าย โดยเฉพาะในตรอกซอกซอยที่รถขนาดใหญ่เข้าไปไม่ถึง และรถจักรยานยนต์ก็ขนาดเล็กเกินไปที่จะขนส่งได้ในปริมาณมาก ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว จะสามารถตอบโจทย์สภาพท้องถนนในกรุงเทพที่มีความคล้ายกับที่ญี่ปุ่น


แชร์ :

You may also like