HomeSponsored“โลตัส” ประกาศความสำเร็จรับวันสิ่งแวดล้อมโลก เลิกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิล 100% ในกลุ่มอาหารสดและสินค้าอุปโภคแบรนด์โลตัส

“โลตัส” ประกาศความสำเร็จรับวันสิ่งแวดล้อมโลก เลิกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิล 100% ในกลุ่มอาหารสดและสินค้าอุปโภคแบรนด์โลตัส

แชร์ :

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาตระหนักและตื่นตัวถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากวิกฤตมลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นและนับวันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ทำให้เทรนด์ “รักษ์โลก” มาแรงอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้แต่วงการค้าปลีก โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะเห็นผู้ประกอบการค้าปลีกหลายรายมีนโยบายลด หรืองดใช้ถุงพลาสติกกันมากขึ้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยหนึ่งในผู้บุกเบิกนั้นคือ โลตัส (Lotus’s) ที่เอาจริงกับนโนยบายด้านสิ่งแวดล้อมมานานหลายปี โดยเริ่มจากการรณรงค์งดแจกถุงพลาสติก จากนั้นก็ยกเลิกใช้ถาดโฟม หลอดพลาสติก และล่าสุดในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 2565 ได้ประกาศความสำเร็จในการยกเลิกใช้วัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิล (Hard-to-Recycle Materials) ในบรรจุภัณฑ์สินค้าเฮ้าส์แบรนด์โลตัสครบ 100% แล้วสำหรับกลุ่มสินค้าอาหารสดและสินค้าอุปโภค ซึ่งนับว่าเร็วกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2025 กันเลยทีเดียว

โลตัส เอาจริง เดินหน้าลดขยะพลาสติก ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ขยะพลาสติก” เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับภูมิภาคของประเทศไทย และระดับโลก จึงทำให้ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะไม่เช่นนั้นขยะพลาสติกเหล่านี้จะเพิ่มขึ้น และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมามากมาย จุดนี้เอง โลตัส ในฐานะผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีสาขาทั่วประเทศ จึงตระหนักถึงบทบาทในการช่วยแก้ไขปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์ จนเป็นที่มาของนโยบายและแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม ที่ครอบคลุมการดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการเลิกให้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เลิกใช้ถาดโฟม เลิกใช้หลอดพลาสติก จนถึงการเปิดจุดรับบรรจุภัณฑ์จากลูกค้าเพื่อนำกลับไปรีไซเคิล เป็นต้น

คุณสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย บอกว่า ในปี 2562 โลตัส ได้ประกาศเป้าหมายในการยกเลิกการใช้วัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลให้ได้ทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2568 (Exit hard-to-recycle materials by 2025) และได้เริ่มศึกษาและพิจารณาวัสดุที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ของสินค้าแบรนด์โลตัสทั้งหมด เพื่อจำแนกหมวดหมู่ของวัสดุที่ใช้ เป็นสีแดง สีเหลือง และสีเขียว โดยวัสดุสีแดง เช่น สารอนุพันธ์พีวีซี โพลีสไตรีน พลาสติกแตกสลายได้ชนิดอ๊อกโซ โพลิคาร์บอเนต กระดาษแก้ว ถูกจัดให้เป็นวัสดุต้องห้ามเนื่องจากยากต่อการรีไซเคิล ส่วนวัสดุสีเหลืองและสีเขียว สามารถใช้ได้ เนื่องจากนำไปรีไซเคิลได้

“เรามีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับคู่ค้าซึ่งส่วนมากเป็นผู้ประกอบการ SME ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์โลตัส ในการถอดวัสดุต้องห้ามออกจากบรรจุภัณฑ์และใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ง่ายและได้รับการอนุญาตให้ใช้แทน โดยปัจจุบันเราสามารถยกเลิกการใช้วัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลได้ครบ 100% ของหมวดหมู่สินค้าอาหารสดและสินค้าอุปโภค ซึ่งเป็น 2 หมวดหมู่สินค้าที่มีจำนวนสินค้ารวมกันกว่า 4,520 รายการ เร็วกว่าเป้าหมายที่วางไว้ถึง 3 ปี”

ตั้งเป้า 3 ปี ก้าวสู่เป้าหมายบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน

สำหรับทิศทางการพัฒนาและปรับเปลี่ยนมาใช้วัสดุรีไซเคิลได้ของโลตัสจากนี้ไป ยังคงเดินหน้าเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์และใช้วัสดุทดแทนสำหรับหมวดหมู่สินค้าอีก 2 หมวดหมู่ คือ อาหารแห้งและของใช้ในครัวเรือน ที่เหลือเพียง 180 รายการเท่านั้นที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาวัสดุทดแทน

คุณสลิลลา บอกว่า ภายในระยะเวลาอีก 3 ปีข้างหน้า โลตัส จะร่วมกับพันธมิตรในการพัฒนานวัตกรรมและวัสดุทดแทน ที่จะสามารถนำมาใช้ในบรรจุภัณฑ์สินค้าแบรนด์โลตัส เพื่อให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ได้สำเร็จ ตามความมุ่งมั่นของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการมีบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2030

นอกจากการเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่รีไซเคิลได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในการแยกขยะและรีไซเคิล ยังมีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างระบบปิดของบรรจุภัณฑ์ (closed-loop packaging system) และบริหารจัดการขยะจากบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน โดยโลตัสจะเดินหน้าสร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกขยะและรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยให้การรีไซเคิลเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสบายขึ้นผ่านสาขาของโลตัสทั่งประเทศที่เข้าถึงชุมชนด้วย

ทั้งหมดนี้ ก็คือเแนวคิดที่โลตัสเริ่มทำมาอย่างต่อเนื่องเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และกำลังเดินหน้าเพื่อสร้างโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับทุกคน


แชร์ :

You may also like