HomeBrand Move !!‘คีรี กาญจนพาสน์’ เคลียร์ปมสายสีเขียว ย้ำบีทีเอส ‘เจ้าหนี้’ ยืนยันไม่หยุดเดินรถไฟฟ้า 

‘คีรี กาญจนพาสน์’ เคลียร์ปมสายสีเขียว ย้ำบีทีเอส ‘เจ้าหนี้’ ยืนยันไม่หยุดเดินรถไฟฟ้า 

แชร์ :

credit photo : facebook BTSSkyTrain

ปมสัญญาร่วมทุนรถไฟฟ้า “สายสีเขียว” ระหว่างบีทีเอส กรุ๊ป กับกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อสงสัย หลังจากคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เข้ามารับตำแหน่ง เพื่อแก้ปัญหาหนี้ กทม.

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นับตั้งแต่ให้บริการส่วนต่อขยายสายสีเขียว กทม. มีภาระหนี้สะสมกว่า “แสนล้านบาท” จากค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวกว่า 60,000 ล้านบาท (กทม.รับโอนมาจาก รฟม.) ค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกลและค่าจ้างบีทีเอสเดินรถกว่า  40,000 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ได้มีการเสนอแนวทางแก้ปัญหาหนี้ก้อนนี้ โดยให้ บีทีเอส รับภาระหนี้กว่าแสนล้านบาทไปทั้งหมด จากภาครัฐและกทม. โดยรัฐจะให้สัมปทานเดินรถสายสีเขียวอีก 30 ปี (จากเดิมสัมปทานสายสีเขียวจบในปี 2572) และกำหนดค่าโดยสารสายสีเขียวตลอดเส้นทางสูงสุด 65 บาท  และแบ่งรายได้ให้ กทม.ตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี  ซึ่งข้อเสนอนี้ได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาแล้วตั้งแต่ปี 2563 แต่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบถึงปัจจุบัน และอยู่ระหว่างการตรวจสอบสัญญาร่วมทุนในขณะนี้

“คีรี” ย้ำ “ผมเป็นเจ้าหนี้” กทม.

ต่อกรณีที่เกิดขึ้นนี้ หัวเรือใหญ่บีทีเอส คุณคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ได้ออกมาให้ความเห็นว่า “ต้องขอเรียนให้เข้าใจว่า บีทีเอสไม่ได้ไปขอขยายสัมปทาน เราเป็นเจ้าหนี้ ขอย้ำว่าเราเป็นเจ้าหนี้ เราได้รับการว่าจ้างให้ติดตั้งระบบและเดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ก่อน เมื่อทำเสร็จแล้วเก็บเงินภายหลัง แต่เลยเวลามาแล้ว กทม.ก็ยังไม่จ่ายเงินคืนให้”

สัญญาที่ทำร่วมกับ กทม. มี 2 ส่วน คือสัญญาติดตั้งระบบและให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) ซึ่งดำเนินการตามระเบียบเอกชนร่วมลงทุนรัฐ  รูปแบบสัญญานี้มีมาเป็น 10 ปีแล้ว  สัญญาของบีทีเอส ไม่ใช่สัญญาเดียวในประเทศไทย แต่วันนี้เพิ่งมามีข้อสงสัยเกี่ยวกับสัญญา

“บีทีเอสยินดีและเคารพการตัดสินใจของ กทม. และผู้ว่าฯ คนใหม่ ที่มีความตั้งใจในการตรวจสอบรายละเอียดก่อนและเป็นเรื่องที่ต้องให้เวลาทำงาน การศึกษาสัญญาจะทำเมื่อไหร่ก็ได้ แต่สำหรับบีทีเอส ที่เราตั้งใจจริง ๆ  คือ ต้องการให้ กทม. จ่ายเงิน ไม่ใช่มาทำเหมือนผมเป็นผู้ร้ายหรือจำเลย เพราะผมเป็นเจ้าหนี้”

การตรวจสอบสัญญาทำได้เป็นเรื่องปกติ  แต่ขอให้ตรวจสอบก่อนแล้วมาพูดและต้องเคารพคู่สัญญา ส่วนการเปิดสัญญาต่อสาธารณะหรือไม่ ก็อยู่ที่เงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชน แม้กระทั่งเอกชนกับเอกชน ต่างก็มีสัญญาและเงื่อนไขที่ทำร่วมกัน บีทีเอสก็ต้องการให้รายละเอียดของสัญญาไปสู่สาธารณะ แต่ความจริงรัฐบาลก็ควรเปิดสัญญาให้หมดทุกสัญญาอย่างเท่าเทียม

“บีทีเอส” ยืนยันไม่หยุดเดินรถ

แม้ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายติดตั้งระบบและเดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียวมา 5 ปี บีทีเอสยังยืนยันเดินรถต่อ

“วันนี้ผมขอยืนยันว่าเพื่อผู้โดยสาร บีทีเอสจะไม่หยุดวิ่งรถไฟฟ้าแน่ แม้ต้องจ่ายเงินค่าเดินรถเองทุกวัน แต่ถ้าวันหนึ่งมันไปต่อไม่ได้ด้วยปัญหาอะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเงิน ความถูกต้อง ก็คงเป็นไปตามเหตุผล แต่ยืนยันว่าจะเดินรถให้ทุกคนได้ใช้บริการ เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ”

แต่ก็อยากให้รัฐบาลคิดถึงเอกชนผู้ลงทุนด้วย เรื่องนี้พิจารณาใน ครม. มา 3 ปีแล้ว ถ้ารัฐบาลจะให้รอก็ยืนยันจะรอต่อไป แต่ก็ไม่ต้องการให้ยืดเยื้อ เพราะในทางกฎหมายก็ต้องว่ากันไปตามขั้นตอน เรื่องนี้อาจเข้าใจอะไรผิดกันอยู่ แต่เมื่อเข้าใจถูกแล้วสักวันก็จบ การหารือกับ กทม.และกรุงเทพธนาคมรอบแรกก็เป็นไปด้วยดี

ในโลกนี้ผมไม่เชื่อว่าจะมีใครที่จ้างใคร แล้วไม่จ่ายเงินมาเป็นปี ๆ  แล้วยังเดินรถอยู่ ก็น่าจะมีนายคีรี อยู่คนเดียวนี่แหละ

“บีทีเอส” เป็นกลุ่มที่ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางขนส่งมวลชน เริ่มต้นเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน ปัจจุบันดำเนินการระบบราง 140 กิโลเมตร ในกรุงเทพฯ  ทั้งสายสีเขียว สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

คุณคีรีย้ำว่า “เป็นความกล้าหาญสูงมากของบีทีเอส ที่ตัดสินใจลงทุนระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าสายแรก (สีเขียว) ของประเทศไทยเมื่อ 30 ปีก่อนที่ถือว่าเสี่ยงมาก แต่การตัดสินใจครั้งนั้น ไม่มีอะไรผิด เพราะวันนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว สายหลักของกรุงเทพฯ ให้บริการผู้โดยสารจำนวนมากและช่วยแก้ไขปัญหาจราจร”

ยืนยันว่ามีความพร้อมในการลงทุนรถไฟฟ้าต่อเนื่อง เพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แม้เกิดสถานการณ์โควิด บีทีเอสได้ลงทุนโครงการรถไฟฟ้าทั้งสายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีทอง Kerry Express JMART  SINGER และธุรกิจใหม่ ๆ ต่อเนื่อง รวมมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท

keeree bts

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like