การต่อยอด Sub-Brand ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้รับความนิยมในธุรกิจร้านอาหารเพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มพอร์ตโฟลิโอรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่หลากหลายแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการขายใหม่ๆ ป้องกันความเสี่ยงจากการพึ่งพาแบรนด์หลักเพียงอย่างเดียว
“อากะ” (AKA) แบรนด์ยากินิกุเบอร์ต้นๆในเมืองไทย ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) คืออีกหนึ่งแบรนด์ ที่เร่งเครื่องกลยุทธ์ดังกล่าวด้วยการส่ง Sub Brand น้องใหม่ “อากะ ชาบู” (AKA SHABU) ครั้งแรกในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งแบรนด์ ภายใต้แนวคิด D.I.Y. Buffet ที่ต่อยอดจากปิ้งย่างถึงชาบู โดยเปิดให้บริการไปแล้ว 1 สาขาที่ “เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า” ก่อนจะขยายเพิ่มอีก 1 สาขาในศูนย์การค้าภายในปี 2565 นี้
ทั้งนี้หากย้อนดูมูลค่าตลาดรวมปัจจุบันตลาดร้านอาหารประเภทปิ้งย่างและชาบูที่มีมูลค่ารวมกว่า 32,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตลาดชาบู-สุกี้มูลค่า 23,000 ล้านบาท ขณะที่อีก 9,000 ล้านบาท เป็นตลาดปิ้งย่าง นั่นเองทำให้แบรนด์ปิ้งย่างชั้นนำอย่าง “อากะ” กระโดดร่วมชิงเค้กก้อนโตในตลาดชาบู หลังปล่อยให้พี่ใหญ่ในพอร์ต “อากะ ยากินิกุ” เปิดขายแฟรนไชส์อย่างเป็นทางการไปแล้ว โดยคาดว่าจะได้เห็นอย่างเป็นทางการภายในสิ้นปีนี้
คุณมยุรี จิตรกร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
“ร้านอาหารยอดนิยมของคนไทย 3 อันดับแรกในปัจจุบันอันดับ 1.ยังคงเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น 2.ร้านชาบู และ 3.ร้านปิ้งย่าง โดยในร้านอาหารญี่ปุ่นและปิ้งย่าง เรามีครบ ซึ่งการเข้ามาของธุรกิจชาบูจะทำให้เราสามารถรุกตลาดร้านอาหารได้ครบทั้ง 3 เซกเมนต์ที่ผู้บริโภคต้องการ โดยเฉพาะในธุรกิจชาบูที่ตอนนี้เป็นเทรนด์ร้านอาหารที่ผู้บริโภคนึกถึงอันดับแรก”
ที่สำคัญคือการจับเทรนด์และปรับเปลี่ยนให้ทันตามความต้องการของผู้บริโภคก็จะยิ่งส่งผลให้ร้านอาหารสามารถสร้างการเติบโตได้ในระยะยาว จากความหลากหลายที่แบรนด์มี
โดย AKA Shabu มี 3 แนวทางการแข่งขัน ดังนี้
1. “Horizontal-Vertical ” กลยุทธ์หลัก “อากะ” ใช้เพิ่มพอร์ตแบรนด์ใน 2 มิติหลัก
ยุทธศาสตร์หลักในการเป็นการขยายธุรกิจทั้งแนวราบและแนวลึก เข้ามาเป็น Growth Strategy สร้างการเติบโต ทั้งใน 2 มิติหลัก ได้แก่ 1.การขยายในแนวราบ Horizontal ด้วยการ เป็นการนำ “ยากินิคุ” ที่ทางแบรนด์ถนัดมาใช้เป็นพระเอกในการกระจายตัวของแบรนด์จากในเมือง สู่ขอบเมือง สู่ต่างจังหวัด รวมถึงการขยายไปยังพื้นที่ใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น 2.การขยายในเชิงลึก Vertical คือ เป็นการนำเอาแนวคิด D.I.Y. Buffet ทั้งระบบการจัดการ วัตถุดิบ ซัพพลายเชน มาต่อยอด พร้อมมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
สำหรับ “อากะ ชาบู” (AKA SHABU) เป็นซับเแบรนด์ของ “AKA” ที่มีการใช้โลโก้เดียวกัน เกิดจากแนวคิดที่ต้องการเพิ่มพอร์ตฟอร์ลิโอใหม่ให้แก่แบรนด์ ผ่านธุรกิจหลักของ “อากะ” อย่างความเป็น D.I.Y. Buffet โดย Brand positioning ของ “อากะ ชาบู” จะเน้นความเป็น The Best D.I.Y. Buffet Experience อย่างชัดเจน ซึ่งเป็น Core Business ของแบรนด์ที่ส่งต่อจาก “ปิ้งย่าง มาถึง ชาบู”
มีจุดเริ่มต้นตลาดชาบูของอากะ เกิดขึ้นแรกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กับการทดลองเปิดบริการแบบไฮบริดทั้งปิ้งย่างและชาบู ที่ “ร้านอากะ สาขาเซ็นทรัล พลาซา บางนา” เพื่อศึกษาพฤติกรรมลูกค้า ทราฟฟิก ผลตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายให้แน่ชัดก่อนที่จะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในภาวะที่ธุรกิจร้านอาหารมีการแข่งขันสูง แต่ก็ต้องชะงักลงเพราะสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ก่อนที่แผนงานจะกลับมาอีกครั้งหลังสถานการณ์คลี่คลาย
ผลจากการทดลอง Pilot Model แบบ 2 in 1 ในสาขาแรก พบว่า การทำร้านอาหารแบบ Mixed Model แม้จะตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าได้หลากหลายขึ้น แต่ในแง่ Positioning ของแบรนด์ ยังขาดความชัดเจนที่ทางแบรนด์ต้องการสื่อสาร ทำให้ลูกค้าสับสนจุดแข็งว่าจะเป็นปิ้งย่าง หรือ ชาบู กันแน่
ดังนั้น การแตกไลน์ Sub-Brand ใหม่ จึงน่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าในการสื่อสารแบรนด์ ด้วยเหตุผลหลักคือ อยากให้ลูกค้าจดจำสิ่งที่เป็นซิกเนเจอร์กับความชำนาญ จึงไม่อยากให้จุดแข็งที่บริษัทต้องการสร้างทั้ง “ปิ้งย่าง” กับ “ชาบู” มาชนกัน และเชื่อว่าปิ้งย่างที่อยู่มานานกว่า 15 ปี สามารถเดินต่อและขยาย ไปได้เรื่อยๆ จึงเป็นเป็นที่มาของการพัฒนาซับแบรนด์น้องใหม่เพื่อต่อยอดในอนาคต
2. “เมนู-คุณภาพ-น้ำจิ้ม” 3 หัวใจสำคัญสร้าง “First Impression” รับ Demand ลูกค้า
เมื่อกลุ่มเป้าหมายหลักของตลาดชาบู คือกลุ่มครอบครัว และคนทำงานเป็นหลัก ทำให้มีความ Healthy มากกว่า ลูกค้าในกลุ่มปิ้งย่างเล็กน้อย โดยปัจจุบันลูกค้าที่ชื่นชอบชาบูจะมีอัตราการรับประทานเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ทำให้ First Impression เป็นอีกหนึ่งคีย์สำคัญที่ทางแบรนด์ให้ความสำคัญ ในการสร้างความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ามาใช้บริการ จนเกิดการเข้ามารับประทานซ้ำในครั้งถัดไป
เริ่มตั้งแต่การตกแต่งในร้านที่เน้นความ
ขณะที่ First Impression ที่ผู้บริโภคนึกถึงเป็นอันดับแรกในการในตลาดชาบู คือ วัตถุดิบต้องมีคุณภาพรสชาติ ที่ต้องถูกใจ น้ำจิ้มรสชาติเด็ด ทำให้มีการ Utilize วัตถุดิบร่วมกับแบรนด์ “อากะ” พัฒนาเมนูที่หลากหลายกว่า 82 เมนู เสิร์ฟพร้อม น้ำซุป 5 แบบ และไฮไลท์คือ น้ำซุปยูสุ หอมกลิ่นปลาแห้งผสมยูสุ และน้ำจิ้มซิกเนเจอร์ สูตรลับออกมา ซึ่งการใช้วัตถุดิบร่วมกัน ก็ทำให้ “ต้นทุน” บริหารจัดการได้ดีขึ้นด้วย
นอกจากนี้เมนูเด็ดแล้ว ของทานเล่นแล้ว “อากะ ชาบู” ยังนำเมนูซิกเนเจอร์ชื่อดังของทางแบรนด์ “อากะมะนาวช็อต” ไว้ในร้านด้วย โดยสามารถเลือกรับประทานได้ทั้งหมด 3 ราคา คือ Meat Lover Buffet ราคา 399++ บาทต่อคน, Regular Buffet ราคา 599++ บาทต่อคน และ Premium Buffet 999++ บาทต่อคน (รวมค่าเครื่องดื่ม)
ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ด้านราคา ความคุ้มค่าเท่านั้น ทางร้านยังนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมความสะดวกสบายให้ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นระบบ Self-Ordering และ AKA Robot ที่ช่วยเสิร์ฟอาหารได้อย่างแม่นยำ พร้อมกับพนักงาน 20-22 คนต่อสาขา เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน
3.ยึดพื้นที่ ‘ศูนย์การค้า’ ทำเลหลัก เจาะครอบครัว-คนรุ่นใหม่
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ แม้ตลาดชาบูแม้จะมีมูลค่าสูงกว่า 23,000 ล้านบาท มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่จากการแข่งขันที่สูงขึ้น จากจำนวนผู้เล่นทั้งรายเล็ก-ใหญ่ ทำให้ต้องมีการมองหาทำเลที่ทางแบรนด์มีความได้เปรียบ และมี Know How อยู่แล้ว นั่นคือ ทำเลหลักในห้างสรรพสินค้า-ศูนย์การค้า พร้อมทั้งนำจุดแข็งที่ระบบบริหารจัดการ ระบบหลังบ้านที่แข็งแกร่งของทางเซ็นกรุ๊ปฯ ที่มีความเชื่ยวชาญมาใช้เป็น DATA สำคัญในการปักหมุดแต่ละทำเลใหม่ในอนาคต โดยมีปัจจัยหนุนในการขยายสาขาได้แก่
- ชาบู การแข่งขันยังเป็นเซกเมนต์ ผู้เล่นรายย่อยตอบโจทย์แต่ละพื้นที่ แต่ “อากะ ชาบู” จะเน้นเจาะลูกค้าที่อยู่ในห้างเป็นหลัก ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ยังเป็นลูกค้าหลักกลุ่มใหญ่ในตลาดชาบูอยู่
- การขยายสาขา จะเลือกจากทำเลที่มีศักยภาพของศูนย์การค้า มีทราฟฟิกสูง และกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ มีทั้ง กลุ่มครอบครัว กลุ่มคนทำงาน
- ปัจจุบันทราฟฟิกในห้างกลับมากว่า 85% แล้ว แม้จะยังมีการจับจ่ายใช้สอยหรือช้อปปิ้งไม่มากนัก แต่การรับประทานอาหารถือว่ากลับมาดีแล้ว พฤติกรรมลูกค้าชาวไทยยังอยากทานนอกบ้านอยู่ ขณะที่ “ชาบู” คือเมนูอันดับแรกที่ลูกค้านึกถึงเมื่อจะเข้ามารับประทานอาหารในห้างสรรพสินค้า ร่วมกับครอบครัว คนรัก
- ในการเปิดครั้งแรก พื้นที่สาขาจะไม่ใหญ่มากนัก แต่จะให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการที่สามารถควบคุมได้ โดยมีการวางโมเดลที่หลากหลายในการขยายสาขา เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ
แม้จะยังเป็นแค่ช่วงเริ่มต้นแต่ “อากะ ชาบู” นับเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่เข้ามาเสริมพอร์ตธุรกิจร้านอาหารของอากะให้สามารถเติบโตได้เติบโต 60% หรือปิดรายได้รวมในสิ้นปี 2565 นี้ ราว 900 ล้านบาท พร้อมทั้งปั้นรายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาทในปี 2566 หลังจากปีที่ผ่านมาอากะมีรายได้รวม 700 กว่าล้านบาท