HomeBrand Move !!ไฮเนเก้น คืนชีพ “Music Marketing” จับตา “ไฮเนเก้น ซิลเวอร์” ลาเกอร์น้องใหม่กับการเจาะ Young Gen

ไฮเนเก้น คืนชีพ “Music Marketing” จับตา “ไฮเนเก้น ซิลเวอร์” ลาเกอร์น้องใหม่กับการเจาะ Young Gen

แชร์ :

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาตลาดเบียร์โลก รวมถึงในประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนเปลี่ยนทิศ ผู้บริโภครุ่นใหม่นิยมเบียร์ที่ดื่มง่าย ขมน้อย  ทำให้หลายผู้ประกอบการในตลาดเบียร์ทั่วโลก รวมถึงเมืองไทยต่างก็ทยอยปรับสูตร ลดปริมาณความขมลง เพื่อตอบรับเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“ไฮเนเก้น” (Heineken) ยักษ์ใหญ่ตลาดเบียร์จากเนเธอร์แลนด์ เริ่มขยับตัวเพื่อรองรับทิศทางดังกล่าว ด้วยการเปิดตัว “ไฮเนเก้น ซิลเวอร์” (Heineken Silver)  เบียร์ขมน้อย ออกมาจับเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ ในปี  2019 โดยวางจำหน่ายในกลุ่มประเทศแรก อย่าง ยุโรป เวียดนาม และจีน จนสามารถสร้างการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หรือดับเบิ้ลดิจิต เมื่อเทียบกับไฮเนเก้นออริจินัลทั่วโลกที่มีการเติบโตอยู่ราว 7%

สำหรับประเทศไทย “ไฮเนเก้น ซิลเวอร์” เข้ามาทำตลาดเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีเป้าหมายหลักคือการขยายฐานไปยังกลุ่มเป้าหมาย Zennials หรือคนรุ่นใหม่ อายุ 20-30 ปี ทั้งชายและหญิงในสัดส่วนเท่ากัน 50:50

คุณธีรภัทร พงศ์เมธี ผู้จัดการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ไฮเนเก้น กลุ่มบริษัท ทีเอพี  กล่าวว่า ผลการวิจัยในประเทศเนเธอแลนด์ พบว่า เทรนด์ผู้บริโภคที่ดื่มเบียร์  เริ่มหันไปยังเซ็กเมนต์ที่ขมน้อยหรือมีความสมูทขึ้น เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่เทรนด์ดังกล่าวเริ่มมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ขณะที่ตลอด 27 ปีที่ผ่านมา “ไฮเนเก้น” ครองความเป็นผู้นำในตลาดเบียร์พรีเมี่ยมเมืองไทยด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า 95% มีกลุ่มลูกค้าหลักอยู่ในช่วงอายุ 33-55 ปี ดื่มในโอกาสปาร์ตี้เที่ยว ชื่นชอบรสชาติที่ขมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเบียร์ แบ่งเป็นผู้ชาย 70% และผู้หญิง 30%  ซึ่งการจะขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ การใช้โปรดักส์ปัจจุบันอย่าง “ไฮเนเก้นออริจินัล” ไม่สามารถตอบสนองทั้งหมด 

นั่นเองทำให้  ไฮเนเก้น ซิลเวอร์” ถึงเวลาที่ต้องเข้ามาทำตลาดในไทย เพราะนอกจากจะเป็นการตอบสนองเทรนด์แล้ว  ยังเป็นช่วงที่ตลาดเริ่มมีสัญญาณบวก จากการเปิดประเทศ รวมถึงช่องทางการขายต่างๆที่คลายล็อกเปิดบริการ 

ฟื้น “Music marketing ”รอบ 3 ปี ปลุกพรีเมี่ยมเซกเมนต์ 

สำหรับกลยุทธ์สำคัญที่ทางแบรนด์นำมาใช้ในการทำตลาด “ไฮเนเก้น ซิลเวอร์” คือการนำความเชี่ยวชาญด้านดนตรี หรือ Music Marketing ของแบรนด์กลับมาใช้สื่อสารแบรนด์อีกครั้ง หลังห่างหายไปจากการระบาดของโควิด-19 ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา 

ซึ่งจะเป็นการนำ “Music Sponsorship Marketing” เข้ามาเป็นคีย์หลักในการ Penetrade ตลาดเบียร์พรีเมี่ยม ผ่านงบประมาณการลงทุนที่เพิ่มเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับแคมเปญปกติทั่วไป มีเป้าหมายเพื่อสร้าง Brand Awareness ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 90% จากกลุ่มเป้าหมาย  Zennials หรือคนรุ่นใหม่ อายุ 20-30 ปี 

โดยรูปแบบของ Music Marketing จะเป็นการสร้างตัวตนของแบรนด์ให้เด่นชัดขึ้น เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับแฟนๆ ผ่านรูปแบบดนตรีที่มีความอินเทรนด์ และมีความเป็น upcoming มากขึ้น เพื่อเจาะคนรุ่นใหม่มากขึ้น ซึ่งจะแตกต่างจากปกติไฮเนเก้นออริจินัล  ที่จะไปในแนวดนตรีที่เป็นหนักๆ เช่น EDM หรือ Electronic Dance Music 

นอกจากนี่ยังจะมีการไฮบริดแพลตฟอร์มทั้งออนไลน์และออฟไลน์ทั้ง “Musical Event” และ “Visual Event” ไปพร้อมๆกับการเปิดตัว “Music Experience” ทั้ง 4  งานตลอดครึ่งปีหลัง ตั้งแต่สิงหาคม-ธันวาคม 2565 ทั้ง Maho Rasop Experience ครั้งที่ 1 และ 2 ในเดือนสิงหาคม , Maho Rasop Pre-Party ในเดือนพฤศจิกายน และMaho Rasop Festival จัดขึ้นในวันที่ 19 – 20 พฤศจิกายน บนพื้นที่เพลย์กราวด์ขนาดใหญ่กว่า 200 ตารางเมตรที่เรียกว่า Chillverland ให้ทุกคนได้มาร่วมสร้างสรรค์ประสบการณ์สมูทและซิลเวอร์ ทั้ง 2 วันของการจัดงาน คนประมาณ 1 หมื่นคน

ขณะที่อีกหนึ่งความน่าสนใจของ Music Marketing ของไฮเนเก้นในครั้งนี้ คือ การกลับมาของเทศกาลลานเบียร์ (Beer garden) หลังห่างหายไปราว 3 ปี  ซึ่งอาจจะได้เห็น “ไฮเนเก้น ซิลเวอร์” ในรูปแบบของเบียร์สด ที่มาพร้อมกับแนวคิดการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆของแบรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้น

 

โฟกัส “ Ontrade” ช่องทางหลักพลิกตลาดเบียร์หลังเปิดประเทศ 

สำหรับภาพรวมตลาดเบียร์เมืองไทยเริ่มเห็นสัญญาณบวกเป็นบวกตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา  มีการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก เป็นผลพวงจากการเปิดประเทศ ทำให้ได้เห็นภาพการเปิดร้านค้าต่างๆ ผับบาร์ ร้านอาหาร และนักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวที่กลับมาอีกครั้ง  

สอดคล้องกับศูนย์วิจัยกรุงศรี ที่ออกมาประเมินว่ารายได้ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม โดยรวมในปี 2565-2567 มีแนวโน้มเติบโตตามตลาดในประเทศซึ่งเป็นตลาดหลัก โดยคาดว่าปี 2564 มูลค่าจำหน่ายจะหดตัวต่อเนื่องจากปี 2563 เนื่องจาก COVID-19 กระทบกำลังซื้อของผู้บริโภค ส่วนปี 2565-2567 มูลค่าจำหน่ายจะกลับมาเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจและภาคท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัว

นั่นทำทางแบรนด์หันกลับมาโฟกัสช่องทางจำหน่าย ที่ทางค่ายมีความถนัดอย่าง “ออนเทรด” (Ontrade) ไม่ว่าจะเป็น ผับ บาร์ สถานบันเทิง ร้านอาหารต่างๆ  ภายหลังมาเปิดบริการเต็มรูปแบบหลังเปิดประเทศ โดย “ไฮเนเก้น ซิลเวอร์” จะเน้นการจำหน่ายในช่องทางออนเทรด  75%   และโมเดิร์นเทรด  25% 

 

“ช่วงโควิดพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนไปดื่มในบ้าน หรือซื้อผ่านช่องทางเทรดดิชั่นนอลเทรดมากขึ้น แต่หลังการเปิดประเทศ สถานการณ์การระบาดเริ่มคลี่คลาย ในช่องทางออนเทรดเริ่มกลับมามีสัญญาณบวกอีกครั้งและนั่นคือสิ่งที่เราถนัด” คุณธีรภัทร พงศ์เมธีกล่าวทิ้งท้าย

 

ไขความลับ 150 ปี “Heineken” สู่การเป็นแบรนด์ที่ปรับตัวได้กับทุกกระแสโลก


แชร์ :

You may also like