ฝ่ามรสุมขาลงเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับตลาดชาเขียวพร้อมดื่มเมืองไทย หลังครองแชมป์การเติบโตสูงสุดในตลาดเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา หลัง “AC Nielsen” ออกมาเผยถึงตัวเลขการเติบในครึ่งปีแรกของตลาดชาเขียวพร้อมดื่มในปี 2565 โดยเชิงมูลค่าเติบโตที่ 20.5% และเชิงปริมาณโต 16.3% จากภาพรวมตลาดเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์กว่าแสนล้านบาท ที่เติบโต 0. 4% ในครึ่งปีแรก
หากเจาะลึกลงไปเฉพาะกลุ่มชาเขียวพร้อมดื่ม ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมามีมูลค่า 6,685 ล้านบาท เป็นผลมาจากผู้เล่นในตลาดชาพร้อมดื่มเริ่มมีผลประกอบการที่ดี ฟื้นตัวจากปัจจัยลบต่างๆ ทำให้สามารถเข็นวัตกรรมต่างๆออกมาทำตลาดได้อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า ณ สิ้นปี 2565 ตลาดชาเขียวพร้อมดื่มอาจจะมีมูลค่าถึง 13,000 ล้านบาท
การเติบโตดังกล่าวถูกขับเคลื่อนโดย 2 ผู้เล่นหลักในตลาดอย่าง “อิชิตัน” ที่ครองส่วนแบ่งราว 30.2% และ“โออิชิ” ที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ราว 48%
คุณตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ปีนี้ภาพรวมตลาดชาเขียวพร้อมดื่มจะกลับมาเติบโตเป็นลำดับแรกในตลาดเครื่องดื่มนอนแอลอฮอล์ แต่ทว่าความความท้าทายและความยากลำบากของธุรกิจนอลแอลกอฮอล์ก็ยังเท่าเดิม เพราะยังมีเรื่องของสภาพเศรษฐกิจกำลังซื้อที่เพิ่งฟื้นตัว ส่งผลให้มีการแข่งขันในทุกๆ category ของธุรกิจที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อชิงส่วนแบ่งทางการตลาดที่เริ่มฟื้นตัว
ทำให้ในครึ่งปีหลังนับจากนี้ อิชิตัน จะยังคงเดินหน้าผนึกพันธมิตร พร้อมมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆอย่าต่อเนื่อง พร้อมกับเดินหน้าปั้นคอร์ธุรกิจเดิมอย่างชาเขียวพร้อมดื่มให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ภายใต้กลยุทธ์ 3N ได้แก่ 1.New Product การออกสินค้าใหม่ 2.New Market การขยายตลาดใหม่ และ 3. New Business การขยายธุรกิจใหม่สร้างการเติบโตของยอดขายแตะ 6,500 ล้านบาท เติบโต 24% ในส้ินปี 2565
โดยผลประกอบการครึ่งปีแรกที่ผ่านมาของ “อิชิตัน กรุ๊ป” สร้างรายได้จากการขาย 3,058.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% มีกำไรสุทธิ 256.5 ล้านบาท นับว่าเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อช่วงที่ผ่านมา
ปั้นสินค้าใหม่ “ชาพร้อมดื่ม-น้ำอัดลม” เติมพอร์ตเครื่องดื่ม
อย่างไรก็ดีด้วยแนวโน้มทิศทางตลาดเครื่องดื่มเมืองไทยนับจากนี้ จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทรนด์การเลือกดื่ม เลือกรับประทานสุขภาพเป็นหลัก ทำให้การเปิดตัวสินค้าใหม่ ในครึ่งปีหลังนี้จะโฟกัสไปยังเครื่องดื่มในกลุ่ม healthy และ No Sugar มากขึ้นหลังทำตลาดต่อเนื่องมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา และมีการเติบโตของกลุ่มเครื่องดื่ม 0% ในพอร์ตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2566 วางเป้าหมายเพิ่มพอร์ตสินค้าในกลุ่มสุขภาพราว 5% ซึ่งสินค้าใหม่ แบ่งออกเป็น
–แบรนด์ “อิชิตัน” ได้เตรียมเปิดตัว 2 รายการใหม่ในกลุ่มชาพร้อมดื่ม ทั้งชาเขียวมะลิและอู่หลง ซึ่งครั้งนี้จะรับเทรนด์สุขภาพ และเป็นการปรับสูตรเพื่อรับมือกับการเก็บภาษีความหวานที่จะมีผล 1 ตุลาคมนี้
–แบรนด์ “เย็นเย็น” จะเปิดตัวรสชาติใหม่ “รสบ๊วย ผสมสมุนไพร” เครื่องดื่มรสชาติยอดฮิตจากจีนและไต้หวันที่ได้รับความนิยมกว่า 20 ปี มาสู่คนไทย โดยเตรียมวางจำหน่ายในเดือนกันยายนนี้ ใน 2 ขนาด ราคา 10 และ 15 บาท ตั้งเป้ายยอดขาย 70 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้าสู่ท็อป 3 ในตลาดชาพร้อมดื่ม
–ขณะที่ไฮไลต์ในกลุ่ม Non-Tea คือการเตรียมเปิดตัวเครื่องดื่มอัดก๊าซ (CSD) ให้และการเปิดตัวแบรนด์น้องใหม่ “ตันซันซู” (TANSUNSU) ที่มาจากภาษาเกาหลีแปลว่า “น้ำอัดลม” เน้นเจาะกลุ่มวัยรุ่น มาพร้อมคอนเซ็ปต์เครื่องดื่มอัดลมที่ถือเท่แบบ K-Pop เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดกว่า 31,000 ล้านบาท โดยได้เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการราวเดือนตุลาคมนี้ 2 รายการ ราคาขาย 20 บาท ตั้งเป้ายอดขาย 500 ล้านบาทต่อปี
ส่งชาเขียวพร้อมดื่ม “อิชิตัน” เปิดเกมรุกตลาดเพื่อนบ้าน
ไม่เพียงแต่ในไทยเท่านั้น หากแต่แนวโน้มการขยายตัวของชาเขียวพร้อมดื่มยังมีโอกาสเติบโตมากขึ้นในตลาดกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามหรือซีแอลเอ็มวี โดยอิชิตันมีแผนกลับไปทำตลาดอีกครั้ง หลังเริ่มมีนโยบายเปิดประเทศ ผ่านรูปแบบกิจกรรมการตลาดต่างๆไม่ว่าจะเป็น การกระตุ้นแคมเปญในมีประสิทธิภาพ รวมถึงโปรโมชั่น กิจกรรมต่างๆมากขึ้น
ขณะที่ตลาดสำคัญอย่างอินโดนีเซีย ภายใต้บริษัทร่วมค้า อิชิตัน อินโดนีเซีย ก็ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการนำอิชิตัน บราวน์ชูก้าร์ และแบรนด์ Calvit โยเกิร์ตพร้อมดื่ม เข้าไปทำตลาดพร้อมขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม
นอกจากนี้ยัง จับมือกับพันธมิตรอย่าง บริษัท พีที อาทรี่ แปซิฟิค จำกัด เจ้าของห้างค้าปลีก “อัลฟ่า มาร์ท” (Alfamart) ในการส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มชาไทย และกาแฟโคลด์บริวเข้าไปทำตลาดผ่าน Alfamart กว่า 1,300 สาขา ภายใต้ความสนับสนุนจาก SM Group -Supermarket ค้าปลีกใหญ่ที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ และ Rebisco Philippines ก่อนจะมองเรื่องการพัฒนาสู่ฐานการผลิตใหม่ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
สุดท้ายกับการเสริมแกร่งพอร์ต OEM หรือการจับจ้างผลิต โดยได้ปิดดีลกับ 2 พาร์ทเนอร์หลักได้แก่กลุ่มศิลปิน Thaitanium ในการผลิต “Thaitanium Power Energy Drink” เครื่องดื่มให้พลังงาน และการผลิตเครื่องดื่ม Acer Predator Shot Vitamin Drink ให้กับบริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะออกมาทำตลาดได้ในช่วงเดือนตุลาคมนี้
นอกนี้ยังมีการรับจ้างผลิตเครื่องดื่มที่ผสมสารซีบีดี ให้กับกลุ่มทุนบุรีรัมย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายก๊าซแอลพีจีในภาคอีสาน ทั้งนี้คาดว่ากลุ่มสินค้าใหม่ๆของOEM ก็จะทยอยเปิดตัวตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้สามารถรับรู้รายได้ในไตรมาส 4 และมีการเติบโตเป็นนัยสำคัญ
กางแผน “อิชิตัน 2022” คืนชีพ “ไบเล่” เจาะโชห่วย-แม็คโคร – เตรียมออกเครื่องดื่มอัดก๊าซ-กัญชง-บุกอินโด